"เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง" อีกมิติการเติบโตของเศรษฐกิจไทย - Forbes Thailand

"เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง" อีกมิติการเติบโตของเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงชะลอตัวลงอย่างรุนแรงตามวัฏจักร แต่มิติด้านอาณาเขต เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง เป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มีศักยภาพในการเติบโต เป็นอีกทางออกท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อรายได้หลักของประเทศที่มาจากการท่องเที่ยว

การเติบโตของจีดีพีที่แท้จริงลดลงจากจุดสูงสุดที่ราว 5% ในช่วงต้นปี 2018 เหลือเพียง 2% ไม่เกินปลายปี 2019 และเมื่อสิ้นสุดปี 2019 ดัชนีหลักทรัพย์อ้างอิงของประเทศไทยร่วงลงต่ำกว่าดัชนีในเดือนมกราคม 2018 (ปัจจุบันลดลงเกือบ 30% แล้วในปีนี้) ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และอาจมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ก็เป็นได้ การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย อย่างรุนแรง เนื่องจากการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยประกาศปิดพรมแดนไปจนถึงวันที่30 เมษายน โดยให้เดินทางเข้า-ออกได้เฉพาะชาวไทย และชาวต่างชาติที่มีที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเท่านั้น ยกตัวอย่างในปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยมาจากประเทศจีนมากที่สุดถึง 28% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด "เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง" อีกมิติการเติบโตของเศรษฐกิจไทย แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ประเทศไทยยังคงมีบริษัทหลายแห่งที่อยู่ในระดับดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนผู้ประกอบการที่มีความคล่องแคล่วว่องไว และแรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยยังคงมีศักยภาพที่จะเติบโตได้มาก เมื่อมอง ในแง่ของภูมิภาคดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งไทยสามารถเข้าไปมีบทบาทสำคัญได้ ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีประชากร 242 ล้านคน ใน เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง มีจีดีพีรวมกัน 9.04 แสนล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา โดย 57% เป็นสัดส่วนของเศรษฐกิจประเทศไทย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ขณะที่จำนวนประชากร 67 ล้านคนของไทยก็เป็นรองเพียงเวียดนามเท่านั้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงอยู่ในสถานะที่สามารถขึ้นครองบทบาทผู้นำประจำภูมิภาคนี้ได้ การหลอมรวมเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเป็นการเปิดโอกาสแก่ธุรกิจและผู้ประกอบการรายต่างๆ ของไทย มีการประมาณการว่า จีดีพีต่อหัวของประเทศไทยอยู่ที่ราว 6 พันเหรียญในปี 2018 สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอยู่ไม่น้อย ซึ่งมีตั้งแต่ 2.5 พันเหรียญในลาวและเวียดนาม ไปจนถึง 1.5 พันเหรียญในกัมพูชาและเมียนมา "เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง" อีกมิติการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ช่องว่างนี้สะท้อนให้เห็นความแตกต่างด้าน เทคโนโลยีและความรู้ความสามารถทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ เป็นโอกาสที่จะสร้างความร่วมมืออันก่อให้เกิดผลกำไรระหว่างบริษัทต่างๆ ของประเทศไทยกับเพื่อนร่วมภูมิภาค หากคว้าโอกาสเหล่านี้ได้สำเร็จ ภาคธุรกิจของประเทศไทยจะสามารถสร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นได้อีกมากมาย พร้อมกับผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้กลับเข้าสู่เส้นทางแห่งการเติบโตที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น - Yuwa Hedrick-Wong รายงาน
ติดตามบทความทางด้านธุรกิจ เพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเมษายน 2563