มุมมอง การลงทุนในงานศิลปะ จาก 2 มหาเศรษฐีไทย - Forbes Thailand

มุมมอง การลงทุนในงานศิลปะ จาก 2 มหาเศรษฐีไทย

พบมุมมองด้าน การลงทุนในงานศิลปะ จาก 2 มหาเศรษฐีผู้สะสม งานศิลปะ  ด้วยหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน และผลงานศิลปะในแขนงอื่นๆ

งานศิลปะถือเป็นหนึ่งในของสะสมล้ำค่าของมหาเศรษฐีหลายคนที่ไม่เพียงมีไว้ชื่นชม แต่ยังมีมูลค่าเติบโตตามกาลเวลา ทว่า การลงทุนในงานศิลปะ ที่ให้ดอกผลงอกเงยดังเป้าหมายไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยการสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ ศาสตร์และศิลป์แห่งการลงทุนอย่างเข้มข้น มาร่วมเรียนรู้และทำความเข้าใจกับการสะสมงานศิลปะผ่านมุมมองของ 2 นักธุรกิจชั้นนำผู้ลุ่มหลงงานศิลปะด้วยหัวใจ บุญชัย เบญจรงคกุล : ความสุขในงานศิลปะ “ผมเชื่อว่างานศิลปะช่วยสร้างความสุขและแรงบันดาลใจในการทำงาน รวมถึงเป็นต้นกำเนิดในทุกความสำเร็จของผม” บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) และนักสะสมงานศิลปะตัวยง ผู้สนับสนุนพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA กล่าวให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อหลายปีก่อนในวันนี้ มหาเศรษฐีหนุ่มใหญ่มาย้ำถึงความสุขที่ส่งผลต่อความสำเร็จ จากจุดเริ่มต้นความสนใจในงานศิลปะมาตั้งแต่วัยเยาว์ แต่เพราะเป็นบุตรชายคนโตของ สุจินต์ เบญจรงคกุล ในฐานะทายาท จึงต้องศึกษาด้านบริหารธุรกิจที่สหรัฐอเมริกา เพื่อดูแลธุรกิจของครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ ทว่าด้วยความรักในศิลปะที่ฝังลึกในจิตใจ ทำให้เขาไม่เคยทิ้งเส้นทางงานศิลปะ แม้จะไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์ แต่ยังสามารถมีความสุขได้ผ่านการสะสมและชื่นชมภาพเขียนล้ำค่า “เมื่อกลับเมืองไทย ต้องเบนเข็มจากที่เคยนึกอยากวาดภาพ เป็นการสะสมภาพแทน ได้เรียนรู้ภาพไทยศิลปะไทยก็ในช่วงนี้เพราะช่วงที่อยู่เมืองนอกเห็นแต่ศิลปะตะวันตก ก็พยายามไปดูนิทรรศการต่างๆ ได้เจอศิลปิน คือ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ขณะนั้นท่านยังเป็นนักศึกษาปี 5” บุญชัยยังคงระลึกถึงการครอบครองงานของศิลปินไทยชิ้นแรกหลังจากชมนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะที่ย่านอโศก และตัดสินใจซื้อภาพเขียนเทคนิคสีฝุ่นบนกระดาษสา ชื่อ “คนละทาง” ในราคาประมาณ 20,000 บาท ซึ่งเป็นภาพของ ปัญญา วิจินธนสาร ที่ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักในฐานะจิตรกรผู้สร้างงานแนวศิลปะไทยที่มีเอกลักษณ์เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลายคนซื้องานศิลปะเพื่อชื่นชม แต่หลายคนก็สะสมไว้เพื่อเก็งกำไร สำหรับมหาเศรษฐีบุญชัยไม่ใช่หวังผลเรื่องผลตอบแทน หากเป็นการสะสมจากความชอบและรสนิยมส่วนตัว สไตล์เจ้าสัวคือความวิจิตรและความสวยงาม รวมทั้งรายละเอียดในเนื้องานที่สัมผัสเข้าถึงใจ “ผมซื้องานง่าย เพราะผมมีความรู้ มีรสนิยมเรื่องศิลปะ ผมก็ซื้องานที่เราดูแล้ววิจิตร ดูแล้วมีอะไรบางอย่างที่ถูกกับตัวเองผมไม่ห่วงเรื่อง investment แต่เน้นที่ความชอบ อย่างงานของอนันต์ ปาณินท์ ตอนนั้นภาพของท่านราคาแค่ 3,000-4,000 บาท ปัจจุบันแต่ละภาพราคาไม่ต่ำกว่า 400,000-500,000 บาท” ภายในระยะเวลาไม่นาน เมื่อเข้าถึงงานศิลปะและศิลปิน ชิ้นงานในคอลเล็กชันส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวเล็กๆ ไว้แบ่งปันกับผู้คนโดยต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีมาตรฐานทัดเทียมนานาชาติ “ผมพูดกับหมู่คณะพูดกับคนในแวดวงว่าอยากเริ่ม แต่ก็มีเรื่องติดอยู่ในใจเรื่องหนึ่งคือ อดีตผู้จัดการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลปเจ้าฟ้า ท่านเล่าให้ผมฟังว่า มีฝรั่งซื้อบัตรราคาแค่ 25 บาท ขึ้นไปดูแล้วลงมาขอเงินคืน ทำให้ผมคิดว่า ผู้ชมเอาอะไรเป็นมาตรวัดว่าสิ่งที่ชมคุ้มกับค่าตั๋ว” บุญชัยเล่าถึงเรื่องราวที่ติดอยู่ในใจ จนกลายเป็นความตั้งใจในการวางมาตรฐานสูงระดับนานาชาติ การลงทุนในงานศิลปะ ช่วงนั้นเวลาไปต่างประเทศ บุญชัยหาโอกาสไปดูทั้งพิพิธภัณฑ์ปะของยุโรปและเอเชีย เพื่อให้รู้ว่าพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ดีต้องเป็นอย่างไร จนกระทั่งลงตัว จึงเดินหน้าอย่างเต็มที่ โดยไม่ได้วางเป้าหมายหรือคาดคิดให้พิพิธภัณฑ์ต้องมีขนาดใหญ่เช่นในปัจจุบันนี้สำหรับพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA เสร็จสมบูรณ์ในปี 2555 โดยเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียซึ่งรวบรวมงานระดับครูจากศิลปินไทยและต่างชาติที่มีชื่อเสียงกว่า 800 ชิ้น โดยเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายของนักท่องเที่ยวผู้นิยมงานศิลปะจากทั่วโลก แม้ไม่ได้สะสมศิลปะเพื่อเก็งกำไร แต่ในความเป็นจริง งานหลายชิ้นได้เพิ่มมูลค่าสูงลิบในปัจจุบัน การปรับขึ้นของราคาภาพเขียนหลายภาพได้กลายเป็นแรงจูงใจให้นักธุรกิจรุ่นใหม่เดินรอยตาม สำหรับการเลือกซื้องานศิลปะของเจ้าสัวใหญ่ บอกได้คำเดียวว่า จะเลือกซื้อชิ้นงานที่ชื่นชอบเป็นส่วนตัวเท่านั้น การซื้อดำเนินการผ่าน 3 ช่องทาง คือ แกลเลอรี นิทรรศการ และจากศิลปินโดยตรง ด้านศิลปินไทยที่ปัจจุบันมีมาตรฐานราคาสูงสุด บุญชัยให้ความเห็นว่า คงยังเป็นศิลปินเลื่องชื่ออย่างอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต และยังมีอีกหลายกลุ่มที่น่าสนใจ เช่น กลุ่ม Modern Contemporary ได้แก่ ชาติชาย ปุยเปีย และประสงค์ลือเมือง ศิลปินชาวเหนือ ผู้จารหนังสือด้วยตัวอักษรล้านนา ผลงานศิลปะทั้งหมดที่ MOCA ประกันความเสี่ยงด้วยทุนประกันภัยกว่า 100 ล้านบาทต่อปี “หลักๆ เวลาซื้องานของอาจารย์ถวัลย์คือเวลาไปเชียงรายไม่สามารถสับรางได้เหมือนไปจีบผู้หญิงจีบทีเดียวสองคนไม่ได้นะ ถ้าไปบ้านดำแล้วก็อยู่บ้านดำจนขึ้นเครื่องบินกลับ อาจารย์ใช้เวลากับเราเยอะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ปรัชญาให้รายละเอียดของชีวิต พาไปตีกลอง พาไปหาของกินอาจารย์ถวัลย์นี้เองที่เป็นผู้จุดประกายผลักดันให้เกิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทย” แม้ต้องใช้เงินส่วนตัวจำนวนไม่น้อยเพื่อดูแลอนุรักษ์ผลงานศิลปะที่รัก หากบุญชัยเล่าว่า ทุกวันนี้เขายังสนุกกับการได้เสาะแสวงหาผลงานที่ทรงคุณค่าในแผ่นดินก่อนจะตบท้ายด้วยแง่มุมการลงทุนว่า ไม่ควรซื้องานศิลปะเพื่อเก็งกำไรเพียงอย่างเดียว เพราะหากเป็นงานที่ไม่ชอบ เก็บไว้ก็ไม่รู้สึกดีหรือไม่อยากดู “สำหรับผมรูปราคาหลายล้านบาทก็ซื้อแต่ต้องชอบจริงๆ อย่างงานของชาติชายปุยเปีย ผมซื้อสมัยเขาวาดช้าง สวยมากแต่พอเขาอกหัก ผมก็ว่าภาพโหดไปหน่อยสำหรับผม แต่ก็มีแฟนๆ ของเขาที่ชอบมากนี่ตอนนี้ก็รอให้ดุน้อยลงหน่อยค่อยไปซื้อมาใหม่ สรุปว่าใครที่อยากสะสมงานศิลปะควรเริ่มจากงานที่ชอบ เลือกและลงทุนด้วยรสนิยมของเราเองจริงๆ”   ศักดิ์ชัย ศรีรุ่งกิจสวัสดิ์ : ล้ำค่าทั้งสุนทรียรสและการลงทุน นักธุรกิจชั้นแนวหน้าที่หลงใหลงานศิลปะและเป็นนักสะสมตัวยงของบ้านเรา หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ ศักดิ์ชัย ศรีรุ่งกิจสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบนนิสัน กรุ๊ป เจ้าของรีสอร์ตหรูแห่งเขาใหญ่ “บริบท พูลรีสอร์ต” ซึ่งการสะสมงานศิลปะของเขาไม่ได้เริ่มต้นจากการลงทุนหรือความมุ่งหวังกำไร หากเป็นการเลือกซื้อชิ้นงานจากความชอบและรสนิยมส่วนตัว “ผมเริ่มจากชิ้นที่ผมชอบเท่านั้น มูลค่างานอาร์ตบ้านเราค่อนข้างสูง เวลาเลือกซื้อก็จะมองว่าเป็นสิ่งที่ชอบ ถ้าศึกษาให้ดีก็จะเป็นการลงทุนกลายๆ ยิ่งถ้าเป็นงานที่ตลาดต้องการก็ทำให้งานชิ้นนั้นมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างประมาณไม่ได้” มนตร์เสน่ห์ของงานศิลปะ นอกจากให้ความสุขทางใจแล้ว ยังโดดเด่นในเรื่องของราคาที่ท้าทาย บางชิ้นมีมูลค่ามหาศาลเมื่อเทียบกับของสะสมประเภทอื่น เห็นชัดจากการประมูลภาพเขียนทั่วโลกที่หากเป็นฝีมือของศิลปินผู้มีชื่อเสียง เช่น Leonardo da Vinci, Monet จะมีมูลค่าระดับหลายพันล้านเหรียญทุกรูป เปรียบเทียบกับเพชรเม็ดงาม หรือรถยนต์หรู ก็ยังไม่เคยเห็นมีมูลค่าต่อเม็ดหรือต่อคันสูงเช่นเดียวกับภาพเขียน ไม่เพียงแค่ความงดงามทางศิลปะ รวมทั้งมูลค่าที่พุ่งสูงเมื่อเวลาผ่านไป หากมนตร์เสน่ห์แห่งงานศิลป์ ยังรวมถึงเรื่องราวของภาพเขียนในแต่ละช่วงเวลา ที่ล้วนมีมิติแห่งการชวนค้นหา ภาพเขียนภาพหนึ่งบ่งบอกอะไรแก่เรา อันดับแรกคือ ตำนานของยุคสมัย (Legend) ที่มีจินตนาการของศิลปินในยุคนั้นเป็นผู้ถ่ายทอด เอกลักษณ์ของยุคสมัยต่างๆ ได้รับการถ่ายทอดผ่านชั้นเชิงฝีมือของศิลปิน เช่น ในยุคของสมัยของ Leonardo da Vinci ภาพเขียนก็มีสไตล์หรือเอกลักษณ์ รวมทั้งเทคนิคในแบบหนึ่ง ขณะที่ Picasso ก็จะมีเอกลักษณ์ หรือมีเทคนิคในอีกแบบหนึ่งบ่งบอกตัวตนแห่งยุคสมัยนั้นๆ ถือเป็นคุณค่าที่ประมาณมิได้ นักสะสมภาพเขียนแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ Decorative และ Investment โดยนักสะสมทั้ง 2 แบบต่างมีมีวิธีคิดของตัวเอง Investment ศึกษาและลงลึกในรายละเอียดของภาพมากกว่า Decorative ที่ยึดความชอบเป็นหลัก เพียงเพราะภาพเขียนทุกรูปไม่สามารถตีความหมายในเชิงมูลค่าได้เหมือนกัน “หากจะเป็นนักสะสมเพื่อการลงทุนคุณต้องลงลึกในรายละเอียด ต้องศึกษาเอกลักษณ์ของศิลปินแต่ละคน ภาพเขียนของนักเขียนคนนี้ ในยุคนี้ สมัยนี้ เป็นอย่างไร นักลงทุนจะรู้ Period Value หรือมูลค่าเชิงยุคสมัยของภาพเขียนนั้นๆ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกอุปสงค์ อุปทาน คนนิยมภาพเขียนของศิลปินคนนี้ เพราะอะไร หรือแบบไหนมันก็จะมีกลุ่มที่ชอบ ถือเป็นอีกแง่มุมที่ทำให้ภาพเขียนมีการปรับขึ้นของราคา” สำหรับสไตล์การสะสมงานศิลปะของนักธุรกิจหนุ่มใหญ่ ศักดิ์ชัยเล่าว่า หลักการต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่งเมื่อถามถึงชิ้นโปรด ศักดิ์ชัยเล่าว่าโปรดปรานทุกชิ้น แต่ชิ้นที่พิเศษสุดเป็นภาเขียนของถวัลย์ ดัชนี งานพีเรียดในยุคเกือบ 60 ปี เห็นแล้วต้องทึ่งในเรื่องราวที่สื่อสาร รวมถึงเทคนิคและสไตล์อันโดดเด่นของศิลปินเจ้าของผลงาน ซึ่งเป็นแนวดุดัน และเป็นภาพเขียนที่มีพลังมาก การลงทุนในงานศิลปะ การสะสมใช้เวลายาวนานกว่า 30 ปี ปัจจุบันมูลค่าพอร์ตไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน ไม่มีอะไรมากไปกว่าเอกลักษณ์ ตัวตนและความชัดเจนของศิลปิน งานภาพเขียนในคอลเล็กชันของเขา อาทิ ถวัลย์ ดัชนี ศาสตราจารย์ประกิต (จิตร) บัวบุศย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี 2545 เจ้าของผลงานพานรัฐธรรมนูญอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ชาติชาย ปุยเปีย และนที อุตฤทธิ์ เป็นต้น รวมถึงเก็บสะสมงานศิลปะต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อถามถึงชิ้นโปรด ศักดิ์ชัยเล่าว่าโปรดปรานทุกชิ้น แต่ชิ้นที่พิเศษสุดเป็นภาพเขียนของถวัลย์ ดัชนี งานพีเรียดในยุคเกือบ 60 ปี เห็นแล้วต้องทึ่งในเรื่องราวที่สื่อสาร รวมถึงเทคนิคและสไตล์อันโดดเด่นของศิลปินเจ้าของผลงาน ซึ่งเป็นแนวดุดัน และเป็นภาพเขียนที่มีพลังมาก การสะสมใช้เวลายาวนานกว่า 30 ปี ปัจจุบันมูลค่าพอร์ตไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ภาพเขียนและงานศิลปะสะสมทุกชิ้นถูกจัดเก็บอย่างดี หลายชิ้นมีความต้องการของตลาด ทำให้มีราคาสูงขึ้น หากไม่มีความคิดที่จะขายทำกำไร ในชีวิตนี้ไม่คิดจะขายแน่ แต่ในยุคลูกหลานก็เป็นเรื่องของอนาคต จากมูลค่าของงานศิลปะทำให้การประกันทรัพย์สินเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งศักดิ์ชัยมีมุมมองว่า การประกันภัยภาพเขียนในไทยยังไม่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานราคาที่ชัดเจน และการขาดองค์ความรู้งานศิลปะของศิลปินยุคต่างๆ โดยเบี้ยประกันอิงกับชื่อเสียงศิลปินที่จำกัดแค่ 2 ประเภท คือการรับประกันความเสียหายกับโจรกรรมเท่านั้น สุดท้าย ศักดิ์ชัยฝากถึงนักสะสมรุ่นใหม่ว่าการเริ่มต้นที่ดีคือการศึกษา โดยเฉพาะนักสะสมแบบลงทุน ยิ่งต้องขวนขวายศึกษาตัวงานและตัวศิลปิน “ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ได้สะสมภาพเขียนที่ต้องการอย่างมีความสุขและมีมูลค่าเพิ่มในอนาคต” เรื่องโดย: วรกัญญา สมพลวัฒนา อ่านเพิ่มเติม: “การลงทุนในนาฬิกา” จากความชื่นชอบเป็นการลงทุน
คลิกอ่านบทความทางด้านธุรกิจการลงทุนได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับพิเศษ "Wealth Management & Investing 2020" ในรูปแบบ e-magazine ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย