รัฐบาลจีนเริ่มจริงจังในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2551 ผ่านการตั้งกระทรวง Environmental Protection และเร่งรัดนโยบายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระดับเข้มข้นสูงสุด พร้อมตั้งเป้าเป็นผู้นำด้าน "พลังงานสะอาด"
ย้อนกลับไปก่อนที่ประเทศจีนจะโฟกัสในเรื่อง "พลังงงานสะอาด" ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา จีนพยายามพัฒนาเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน จากประเทศเกษตรกรรมจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม แน่นอนว่า ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว นอกจากนี้ กำลังผลิตไฟฟ้าหลักของจีนมาจากถ่านหิน โดยมีสัดส่วนราวๆ ร้อยละ 60 ของแหล่งพลังงานทั้งหมด ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่า พลังงานจากฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซเหล่านี้ เป็นต้นเหตุสำคัญของก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ เมื่อหลายปัจจัยรวมๆ กันจึงเป็นต้นตอของปัญหาค่าฝุ่น PM 2.5 และมลพิษอื่นๆ ในจีนช่วงหลายปีที่ผ่านมา และที่เป็นยาเร่งสำคัญ คือ การจรดปากกาเซ็น Paris Agreement (ข้อตกลงปารีส) ในปี 2559 มี 195 ประเทศร่วมลงนาม และจีนเป็น 1 ในนั้น เป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป เมื่อทั้งโลกร่วมลงนาม เหมือนเป็นการแสดงจุดยืนว่า แต่ละประเทศจะต้องวางโรดแมประยะยาว เพื่อชะลอภาวะโลกร้อนให้ได้ นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของจีนในการบรรลุเป้าหมายนี้ จึงเป็นที่มาของเป้าหมายว่า จีนจะต้องมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) หรือปล่อยก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ก่อนปี 2603 ให้ได้ รวมทั้งเริ่มลดการปล่อยมลพิษภายในปี 2573 ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักว่า ธุรกิจพลังงานสะอาดประเภทใดบ้าง ที่จะทำให้จีนบรรลุเป้าหมายใน 4 ทศวรรษข้างหน้า… แล้วคุณจะได้คำตอบว่า ทำไม ‘จีน’ ถึงเป็นผู้นำโลกในด้าน ‘พลังงานสะอาด’‘จีน’ ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนให้สิทธิประโยชน์ในด้านภาษีต่อโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เช่น ยกเว้นภาษีนิติบุคคลให้เป็นเวลา 3 ปี และลดภาษีตัวเดียวกันร้อยละ 50 ให้อีก 3 ปี เพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ เข้ามาลงทุน นอกจากนี้ยังให้สิทธิประโยชน์ภาษีนิติบุคคลให้กับบริษัทที่ลงทุนด้านเทคโนโลยีชั้นสูง ลงทุนในหน่วยงานวิจัยและพัฒนา มีการจดสิทธิบัตรนวัตกรรมใหม่ เพื่อพัฒนาโครงการจากพลังงานหมุนเวียน ส่งผลให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสูงที่สุดในโลก ส่วนใหญ่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) และลม (Wind) โดยข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency - IEA) จีนมีการให้สิทธิประโยชน์โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งที่อยู่บนบกและในทะเล ปี 2563 จีนมีกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่จากพลังงานแสงอาทิตย์ 40.4 กิกะวัตต์ IEA ประเมินว่า กำลังการผลิตใหม่รายปี จะลดลงเล็กน้อยในปี 2564 และ 2565 อยู่ที่ 38.2 และ 35.3 กิกะวัตต์ตามลำดับ ส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่จากพลังงานลม ปี 2563 จีนมี 29 กิกะวัตต์ แต่ IEA คาดว่า กำลังการผลิตใหม่รายปีจะลดลงในปี 2564 และ 2565 อยู่ที่ 22.5 และ 18 กิกะวัตต์ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และลมหมดอายุไปแล้ว สำหรับโครงการบนบก และกำลังจะหมดอายุลงในปี 2564 สำหรับโครงการในทะเล ในช่วงการเปลี่ยนผ่านนโยบายสนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน คงต้องรอดู ท่าทีรัฐบาลจีนว่า จะต่ออายุมาตรการหรือออกสิทธิประโยชน์อะไรมาสนับสนุนธุรกิจพลังงานหมุนเวียนให้ไปได้ต่อ หรือสร้างความเชื่อมั่นให้แต่ละบริษัทในการวางแผนโครงการต่อไปในอนาคต แต่ที่ต้องยอมรับในภาพใหญ่ คือ จีนครองสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก นับแค่ปี 2563 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.22 จากกำลังผลิตรวม 173.3 กิกะวัตต์ทั่วโลก สูงกว่าสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ที่มีกำลังการผลิต 29 และ 26.1 กิกะวัตต์ตามลำดับผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้า
รู้หรือไม่ว่า สิ้นปี 2563 มีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) วิ่งอยู่บนถนนทั่วโลกถึง 11.3 ล้านคัน และสัดส่วนร้อยละ 47.8 นั้นมาจาก EV ในจีนเพียงประเทศเดียว ยอดขาย EV ใหม่ในจีนอยู่ที่ 1.3 ล้านคันในปี 2563 แพ้ยุโรปครั้งแรกในรอบ 6 ปี ที่มียอดขาย EV ใหม่อยู่ที่ 1.4 ล้านคัน แต่ IEA คาดว่า สำหรับไตรมาสแรกปี 2564 จีนจะมียอดขาย EV ใหม่สูงถึง 500,000 คัน ส่วนยุโรปมียอดขาย 450,000 คัน นั่นหมายความว่า จีนจะกลับมารักษาความเป็นผู้นำตลาด EV ได้อีกครั้ง... ถ้าย้อนกลับไปสัก 6-7 ปีก่อน จะเห็นได้ว่า จีนมียอดขาย EV น้อยมาก แต่ด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและมลพิษในประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน และรถยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine - ICE) ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง คือกลุ่มที่ปล่อยไอเสียมากที่สุด จุดแข็งของจีน คือ ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีห่วงโซ่อุปทานใหญ่มากพอรองรับการผลิตมหาศาล ทำให้จีนสร้างแบรนด์รถยนต์เป็นของตัวเองขายในประเทศได้ แต่จุดอ่อน คือ ความแข็งแกร่งของแบรนด์ยังสู้ค่ายญี่ปุ่น รวมไปถึงค่ายเยอรมนีและสหรัฐฯ ไม่ได้ หากจีนต้องการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก ก็ต้องคิดต่าง ใช้เทคโนโลยีที่ต่างออกไป ในเมื่อแข่งขันด้วยรถยนต์ ICE ไม่ได้ การพัฒนาแพลตฟอร์ม EV คือ คำตอบ เมื่อเผชิญกับปัญหามลพิษเข้าไปด้วย รัฐบาลออกนโยบายเร่งด่วนอย่างแรก คือ ไม่อนุญาตให้มอเตอร์ไซค์ที่ใช้น้ำมันขี่เข้าเขตเมืองได้ ส่งผลให้ ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า นโยบายต่อมาคือ การให้เงินสนับสนุน (Subsidy) ให้กับประชาชนในการซื้อ EV ใหม่ โดยก่อนจบปี 2563 รัฐบาลจีนให้เงินสนับสนุน 16,200 หยวน สำหรับ EV ที่วิ่งได้ไกล 300-400 กิโลเมตร และ 22,500 หยวน สำหรับ EV ที่วิ่งไกลกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับปี 2564-2565 รัฐบาลจีนยังขยายโครงการให้เงินสนับสนุนในการซื้อ EV เพียงแต่ลดจำนวนเงินลงมาเหลือ 13,000 หยวน สำหรับ EV ที่วิ่งได้ไกล 300-400 กิโลเมตร และ 18,000 หยวน สำหรับ EV ที่วิ่งไกลกว่า 400 กิโลเมตร แม้ว่า ในอนาคตมาตรการให้เงินสนับสนุนการซื้อ EV ในจีนจะต้องสิ้นสุดลง แต่ภาพใหญ่ที่ยังชัดเจนอยู่คือ จีนเป็นตลาดผู้ใช้ EV ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และรัฐบาลได้ขยายจุดชาร์จรถ EV สาธารณะมากถึง 401,000 สถานีทั่วประเทศ ที่สำคัญ คือ อัตราการเพิ่มขึ้นของจุดชาร์จรถ EV ในจีนอยู่ประมาณ 1,000 สถานีต่อวัน... เมื่อมีจุดแข็งคือ ตลาดผู้ใช้รถขนาดใหญ่ โครงสร้างพื้นฐานพร้อม หากจะไม่มีการให้เงินสนับสนุนอีกในอนาคต ผู้ผลิต EV จีนก็ยังสามารถขายรถต่อได้ เพราะประชาชนมีความคุ้นเคยกับ EV มาแล้ว เห็นศักยภาพและประโยชน์ของมัน เมื่อถึงรอบเปลี่ยนรถ ยังไงก็ต้องซื้อ EV มาใช้อีกอยู่ดี และก็มีการประเมินว่า ต้นทุนวัตถุดิบสำหรับแบตเตอรี่รถ EV มีแนวโน้มถูกลงอย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำให้ห่วงโซ่อุปทานของ EV ในจีน เกิด Economy of Scale อย่างรวดเร็ว แซงหน้าค่ายรถญี่ปุ่น เยอรมนี และสหรัฐฯ ไปได้สบายๆ ในอนาคต EV ก็ไม่ได้ผลิตขายเฉพาะในจีนอีกต่อไป แบรนด์รถจีนก็ต้องหาหนทางส่งออก EV อย่างแน่นอนโอกาสลงทุนในธุรกิจ ‘พลังงานสะอาด’ ใน ‘จีน’
หากคุณเห็นเทรนด์ความเป็นผู้นำโลกด้าน ‘พลังงานสะอาด’ ของ ‘จีน’ และเชื่อมั่นต่อการเติบโตในระยะยาว โอกาสลงทุนในธุรกิจนี้อยู่ในมือคุณแล้ว Jitta Wealth แนะนำการลงทุนใน KraneShares MSCI China Clean Technology Index ETF (KGRN) เป็น ETF (Exchange Traded Fund) ที่ลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดในจีนประมาณ 40-50 บริษัท โดยสามารถลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล Thematic ในธีมการลงทุน ‘พลังงานสะอาดจีน’ หรือ China Clean Energy ของ Jitta Wealth ได้ ทั้งนี้ KGRN เป็น Passive Fund จัดพอร์ตกองทุนให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนีอ้างอิง MSCI China IMI Environment 10/40 Index โดยหุ้นบริษัทจีนแต่ละตัวที่ถูกคำนวณในดัชนีนี้ จะต้องมีรายได้อย่างน้อยร้อยละ 50 จากสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มหลัก ดังนี้- พลังงานทางเลือก (Alternative Energy)
- การบริหารจัดการน้ำยั่งยืน (Sustainable Water)
- สิ่งปลูกสร้างประหยัดพลังงาน (Green Building)
- การป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention)
- การอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency)
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine