วิธีการคำนวณ Intrinsic Value ของหุ้นที่แท้จริง
ไม่นานมานี้ได้เกิดเหตุการณ์ที่หุ้นชื่อดังตัวหนึ่งที่สร้างผลตอบแทนการลงทุนได้หลายเท่าก่อนหน้านี้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วกว่า 50% ภายในไม่กี่วัน ซึ่งตรงข้ามกับนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ราคาไว้ค่อนข้างสูง แต่พอหุ้นตกแรงๆก็ปรับลดคาดการณ์ราคาลงตาม จนเกิดเสียงวิจารณ์จากนักลงทุนจำนวนมาก
สำหรับตัวผมไม่ขอมีความเห็นโดยตรงต่อหุ้นตัวนั้น แต่ขอให้มุมมองต่อการวิเคราะห์มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นหรือ Intrinsic Value ดังนี้
1. ราคา Target Price ของนักวิเคราะห์กับราคา Intrinsic Value เป็นคนละเรื่องกัน
ราคา Target Price เกิดจากการใช้งบการเงินในหุ้นเติบโต คาดการณ์อัตราการ Growth Rate เป็น % แบบ QoQ หรือ YoY ในกรณีของหุ้นที่ตกแรงๆ ไม่นานมานี้ อัตรา Growth Rate ของ Profit เติบโตสูงมาก ทั้งในส่วนของสาขาที่เพิ่มขึ้น และในส่วนของ SSSG - Same Store Sales Growth ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ดังนั้นนักวิเคราะห์ใช้เลขทุติยภูมิพวกนี้ในการวิเคราะห์แบบ Discount Cashflow แล้วมาทำโมเดลในการหา Target Price ซึ่งตามปกติ สมมติฐานของโมเดลคือต้องมีอัตรา Growth Rate และ SSSG ในแบบตัวเลขคงที่แน่นอน แต่ในโลกแห่งความจริง เราก็รู้อยู่แล้วว่า ไม่มีบริษัทไหนสามารถ Sustain growth rate ให้สูงแบบนี้ไปตลอดแบบคงที่ได้ เพราะเมื่อบริษัทผ่านช่วงการเติบโตไปมากๆ บริษัทจะเริ่มเข้าสู่ช่วงอิ่มตัว และเติบโตลดลงเป็นเรื่องปกติ
เมื่ออัตราการ Growth rate ถูกการปรับค่าลดลง แล้วเกิดความผิดหวังว่าไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ราคา Target Price จึงต้องปรับลดลงตาม
2. ราคา Intrinsic Value ต้องคำนวณมาจาก Durable Competitive Advantage ของบริษัทในระยะยาว ต้องมองไปยังอนาคตระดับ 5-10 ปี ไม่ใช่การคำนวณในระยะเวลาแค่ปีต่อปีหรือไตรมาสต่อไตรมาส
Durable Competitive Advantage ไม่ได้มองแค่ Growth Rate หรือ SSSG แต่ต้องมองไปถึง Business Model , Five Force Model Swot Analysis และความสามารถในการสร้างอำนาจการผูกขาดทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ตราสินค้า การควบรวมกิจการ สัมปทาน และนวัตกรรม แล้วใช้ข้อมูลทั้งหมดตรงนั้น มาคำนวณหาราคา Intrinsic Value โดยใช้ค่า PE Benchmark ตามอุตสาหกรรมนั้นๆ (กำไรที่ได้ต้อง Sustainability)
3. ในฐานะผู้ลงทุน Analyst Consensus จากนักวิเคราะห์เป็นสิ่งที่เราใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ในความเป็นจริงเราต้องรู้จักคำนวณราคา Intrinsic Value ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ไปเชื่อนักวิเคราะห์อย่างเดียว พอไม่เป็นไปตามที่คิดก็ไปต่อว่าเขา แบบนั้นผมก็มองว่าอาจจะไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่นัก ผมเองก็มีเพื่อนเป็นนักวิเคราะห์หลายคน
เราจะไม่เสียเวลาไปต่อว่าใครเพราะมันไม่เกิดประโยชน์ เอาเวลาแบบนั้นมาพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ ความสามารถในการเทรดดีกว่า
4. ในฐานะเทรดเดอร์ เราก็มอง Fundamentalist เป็นส่วนประกอบ แต่เราซื้อขายตามกราฟ ดังนั้นยิ่ง Volatility ยิ่งมาก พวกเรายิ่งชอบ
ช่วงนี้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงมาหนัก ใครที่ยังอยู่รอดได้และพอมีเงินสดอยู่ในพอร์ต หากตลาดลงมาหนักกว่านี้อาจมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้อย่างดีหลังวิกฤตแน่นอน ขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนครับ