จากการทบทวนคาดการณ์เศรษฐกิจโลกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ครั้งล่าสุด จีนเป็นประเทศที่ IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจทั้งสองปี (2560-2561) เมื่อเทียบกับประเทศอื่น แม้จะถูกปรับเพิ่มคาดการณ์เหมือนจีน แต่ก็ปรับขึ้นเพียงปีเดียว (2560) นั่นก็หมายความว่า IMF เชื่อมั่นว่าในระยะ 2 ปีนี้ เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวดีต่อเนื่อง
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนล่าสุด ถือว่าสะท้อนมุมมอง IMF ได้เป็นอย่างดี ในไตรมาสที่ 2 GDP ของจีนขยายตัวสูง 6.90% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ทั้งปี 2560 เรามองว่าน่าจะเติบโตมากกว่าที่ IMF คาดไว้ 6.7% โดยปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน มาจากภาคส่งออกที่ขยายตัวติดต่อกัน 4 เดือน ล่าสุดเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นถึง 11.3% เทียบจากพฤษภาคมที่ 8.3% เมษายนที่ 7.5% และมีนาคมที่ 16% ขณะที่ภาคการบริโภคก็ขยายตัวดีเช่นกันเฉลี่ย 6 เดือน (มกราคม - มิถุนายน) สูงถึง 10% ส่วนภาคการผลิตขยายตัวติดต่อกัน 3 เดือน (เมษายน - มิถุนายน) ล่าสุดอยู่ที่ 51.1 จุด สูงสุดในรอบ 4 เดือน ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนข้างต้น นอกจากจะขยายตัวสูงแล้ว ในมุมมองของ IMF ที่ระบุว่าจีนจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลก จึงได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ของจีนปีนี้เป็นโต 6.7% และ 6.4% ในปีหน้าภาพรวมเศรษฐกิจจีนที่ดีวันดีคืน หนุนให้ตลาดหุ้นจีนกลับมาอยู่ในความสนใจของนักลงทุนทั่วโลกอีกครั้ง เห็นได้จาก MSCI ได้เพิ่มหุ้นจีน A-Share เข้าไปคำนวณในดัชนี MSCI Emerging Market ซึ่งจะมีผลในเดือนพฤษภาคม ปี 2561 หลังจากที่รัฐบาลจีนใช้ความพยายามกับเรื่องนี้มานานถึง 4 ปี โดย A-Share ของจีน มีมูลค่าตลาดราว 7.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงสุดเป็นอันดับสองรองจากตลาดหุ้นนิวยอร์ค เราเชื่อว่าหลังจากนี้ A-Share ยังมีโอกาสเติบโตได้อีก valuation ของหุ้นจีน ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ มี PER สูงราว 18.9 เท่าและตลาดหุ้นยุโรป มี PER เฉลี่ยที่ 15.9 เท่า เชื่อว่าด้วย valuation ที่ยังถูกกว่าจะทำให้หุ้นจีนกลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้ง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกับการใช้นโยบายการเงินตึงตัว เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินลงทุนข้ามชาติเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวเร็ว ธนาคารกลางสหรัฐ ใช้นโยบายการเงินตึงตัว โดยมีการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 4 ครั้ง รวม 1% นับจากปลายปี 2558 และมีโอกาสขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง ราว 0.75% เป็น 2% จนถึงสิ้นปี 2561 พร้อมจะทยอยลดขนาดงบดุล 50% ของยอดสินทรัพย์ 4.25 ล้านล้านเหรียญฯ กรณีดังกล่าว ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของสหรัฐฯ เริ่มลดลง ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐ ตอบรับความหวังเชิงบวกต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไปแล้ว PER ที่แพงแล้ว ทำให้ความน่าสนใจของหุ้นสหรัฐลดลง เม็ดเงินเริ่มหมุนเวียนไปตลาดอื่นที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ จีน และที่คาดว่าจะใช้นโยบายการเงินตึงตัว เช่น ยุโรปและอังกฤษ ยุโรปน่าจะใช้นโยบายการเงินตึงตัวตามสหรัฐฯ เราคาดว่าธนาคารกลางยุโรป จะขึ้นดอกเบี้ยในปี 2561 และทยอยลดวงเงินซื้อพันธบัตร จากเฉลี่ย 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนที่จะสิ้นสุดเดือนธันวาคมปี 2560 แต่จะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะประเทศสมาชิกบางแห่งยังฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม PIIGS ที่ยังมีปัญหาหนี้สาธารณะ และบางประเทศมีแนวคิดที่จะแยกตัวออกจากยุโรปโดยเฉพาะอิตาลีที่จะเลือกตั้งปลายปีนี้ ผลตอบแทนคลาดหุ้นพัฒนาแล้ว และตลาดหุ้นกำลังพัฒนา ปี 2559 และ ปี 2560 (สิ้นสุด ณ กรกฎาคม) สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นจีนที่เรามองว่ามีโอกาสเติบโตและน่าลงทุน คือกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น 3 กลุ่มคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่โดดเด่นคือ Industrial and Commercial Bank of China, China Construction Bank, Agricultural Bank of China และ Bank of China ตามด้วยกลุ่มประกันที่เด่น คือ Ping An Insurance และ AIA กลุ่มเทคโนโลยี เราชอบ Tencent เจ้าของแอพพลิเคชั่นแชท WeChat เว็บไซต์ Sanook และแอพพลิเคชั่นเพลง JOOX ที่ได้รับความนิยมมากในกลุ่มวัยรุ่น และ Alibaba รวมทั้งหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าฟุ่มเฟือย ที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน และกำาลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีนักลงทุนไทยจำนวนไม่น้อยที่ออกไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ยุโรป หรือแม้กระทั่งจีนซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ถือว่ารับความเสี่ยงสูงได้ด้วยตัวเอง แต่หากไม่มีเวลาติดตามสภาวะตลาดหรือยังไม่มีความชำนาญอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในตลาดหุ้นจีนก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น บลจ. แอสเซท พลัส ที่มีกองทุน ASP-CHINA ให้เป็นทางเลือกกับลูกค้ากองทุน ASP-CHINA มีนโยบายลงทุนในหุ้นจีน ผ่านกองทุนหลักในต่างประเทศคือ กองทุน E.I. Sturdza Strategic China Panda Fund และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนตั้งแต่ต้นปีมา กองทุน ASP-CHINA ให้โอกาสรับผลตอบแทนไปแล้ว 33.22% เทียบกับดัชนี MSCI CHINA ที่ให้ผลตอบแทน 31.97% ถือเป็นกองทุนต่างประเทศกองหนึ่ง ที่เป็นทางเลือกน่าสนใจเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาว มีโอกาสรับผลตอบแทนสูงจากการเติบโตของศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีน อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ต้นปีมา MSCI China ปรับตัวขึ้นมาแล้วถึง 34.95% (ข้อมูล จาก Bloomberg วันที่ 31 กรกฎาคม) ดังนั้นผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในตลาดหุ้นจีนระยะยาวอาจต้องติดตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด และเลือกจังหวะที่ตลาดย่อตัวลงเพื่อเข้าลงทุนโดยเรามองว่าปัจจัยที่อาจกดดันตลาดหุ้นจีนให้ย่อตัวลง คือ การประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติของจีน ครั้งที่ 19 ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ Expected P/E ตลาดหุ้นสำคัญของโลก นอกจากตลาดหุ้นจีนน่าสนใจแล้วตลาดหุ้นยุโรปก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเช่นกัน เพราะเป็นตลาดที่เราเชื่อว่ากระแส fund flow จะไหลเข้าไปลงทุนเนื่องจากมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายการเงินตึงตัวตามสหรัฐฯ เราเน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่น่าสนใจมี 4 แห่ง คือ ING ของเนเธอร์แลนด์, Credit Suisse ของสวิตเซอร์แลนด์, Deutsche Bank ของเยอรมัน, BNP Paribas และ Societe Generale ของฝรั่งเศส และ HSBC ของอังกฤษ และกลุ่มประกัน เช่น Alliance, AXA, Zurich Insurance และ Swiss Re ปัจจุบัน เรามีกองทุนรวมต่างประเทศคือ กองทุน ASP - Europe Value ที่น่าจะตอบโจทย์นักลงทุนที่ชื่นชอบยุโรปได้บริหารโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ และมีการปรับสัดส่วนการลงทุนรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม ไปตามความเหมาะสมตามภาวะตลาด เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดกับผู้ลงทุน ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐ แม้เริ่มดูแพงขึ้นแต่มีบางกลุ่มได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้นและน่าสนใจ เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์ หุ้นที่เราชอบคือ Bank of America, Citibank, JP Morgan, Wells Fargo และ Morgan Stanley ทั้ง 5 ธนาคารนี้มีสถานะการเงินแข็งแกร่ง ผ่านการทดสอบความแแข็งแกร่งด้านเงินกองทุนแล้ว ตามด้วยกลุ่มประกันหุ้นเด่นคือ AIG กลุ่มเทคโนโลยีที่ชื่นชอบเป็นตัวหลักๆ คือ Apple, Facebook, Microsoft, Alphabet หรือ Google และกลุ่มพาณิชย์จะเติบโตตามการซื้อขายออนไลน์ เช่น Amazon และ Alibaba ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2560 เป็นปีที่จะฟื้นตัว เราคาด GDP โตราว 3.5% และน่าจะแตะ 4% ปีหน้า แรงหนุนจากภาคการส่งออกฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ และการส่งเสริมลงทุนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกใน 3 จังหวัด หรือ EEC ล้วนหนุนให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนรอบใหม่ตามมา หลังจากที่ชะลอการลงทุนมานานนับ 10 ปี นับตั้งแต่วิกฤตปี 2540 เราเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% โดยคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยต้นปี 2561 ด้วยเหตุนี้จะทำให้กำาไรตลาดหุ้นไทยโตเฉลี่ย 10% ในปี 2561 ดีขึ้นจาก 7 % ปีนี้ และทำให้ PER หุ้นไทยลดลงเหลือ 14 เท่าในปี 2561 จากที่เกือบ 16 เท่าขณะนี้ หุ้นไทยจึงน่าจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง รัชต์ โสดสถิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัดอ่านบทความทางด้านธุรกิจและการลงทุนได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ กันยายน 2560 ในรูปแบบ e-Magazine