GIS อาวุธลับยุคทรานส์ฟอร์ม - Forbes Thailand

GIS อาวุธลับยุคทรานส์ฟอร์ม

FORBES THAILAND / ADMIN
02 Oct 2022 | 08:00 PM
READ 8688

ในโลกธุรกิจ GIS ถูกขนานนามให้เป็น เทคโนโลยีที่จะเข้ามาปฏิวัติการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเดิมๆ ที่มีความซับซ้อน เต็มไปด้วยตัวเลข ข้อมูล หรือตาราง ที่นำไปใช้งานยากให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ด้วยการนำมาประมวลผลผ่านคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ “รูปภาพ” หรือ “แผนที่” เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น ความหนาแน่น ปริมาณการขาย หรือติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการใช้แผน GIS ไม่ใช่แค่การทำ visualization เท่านั้น แต่ยังสามารถทำ analysis เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ ซึ่งในขณะเดียวกัน “ข้อมูล” ได้กลายเป็นสินทรัพย์อันมีค่าของทุกองค์กร ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจ “ข้อมูลทั่วๆ ไป” หากจะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลให้เป็น “ข้อมูลชั้นยอด” ต้องมีตัวแปรที่สำคัญ นั่นคือ “location” ซึ่ง GIS ไม่ได้เพียงตอบคำถามเรื่อง location เท่านั้น แต่ยังช่วยให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาได้รอบด้าน เข้าใจทุกแง่มุมของสิ่งที่เกิดขึ้น และมองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโต ได้แก่ การลงทุนเพิ่มขึ้น ความพร้อมใช้งานของข้อมูลเชิงพื้นที่และเทคโนโลยีคลาวด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และความต้องการโซลูชันระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ทั่วโลก โดยเฉพาะในภาคการขนส่ง รวมไปถึงการขยายตัวของเมืองที่ส่งผลถึงความต้องการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และโครงสร้างก่อสร้างขนาดใหญ่อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ การเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยี IoT ในหลายภาคธุรกิจยังผลักดันให้เกิดความต้องการการใช้งาน location intelligence ร่วมกับการวิเคราะห์อุปกรณ์ IoT ในรูปแบบของการวิเคราะห์ประมวลผลเชิงลึก (geospatial analytic) อาทิ ที่ตั้งอุปกรณ์ IoT ใกล้-ไกลพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ทำการคาดการณ์อายุการใช้งาน และวางแผนการซ่อมบำรุงป้องกันการเสียหาย เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจภาพรวม  

- เทคโนโลยี GIS ที่องค์กรต้องมี -

ในแง่ธุรกิจที่ต้องแข่งขันกันด้วยความรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำในการวางแผน ทำให้ “ข้อมูล” ได้กลายเป็นสินทรัพย์อันมีค่าของทุกองค์กร ซึ่งเทคโนโลยี GIS เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้แต่ละองค์กรได้ใช้ข้อมูลหรือ data ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำ data มาวิเคราะห์ให้เป็น data intelligence เพื่อช่วยในการตัดสินใจและคาดการณ์อนาคต ข้อมูล location นับเป็นหนึ่ง data ที่มาเพิ่มคุณค่าในการสร้างมิติมุมมองที่แตกต่างและยกระดับการวิเคราะห์สู่ location intelligence ที่เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจและบริหารจัดการธุรกิจให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น วิเคราะห์ที่ตั้งของสาขาร่วมกับตำแหน่งของลูกค้า แหล่งวัตถุดิบ เส้นทางขนส่ง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดค่าใช้จ่ายหรือกระบวนการที่ซ้ำซ้อน และมองเห็นโอกาสธุรกิจใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นอกจากนี้ GIS ยังเป็นมากกว่าแผนที่ระบุตำแหน่ง แต่มีเรื่องของข้อมูล big data และการวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงลึกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งทำให้ GIS สามารถใช้ได้กับทุกธุรกิจ และเป็นส่วนหนึ่งของ location strategy เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นการเลือกทำเลที่ตั้งของสาขาที่มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจสูงสุด โดยสามารถวิเคราะห์จากข้อมูลต่างๆ ในเชิงพื้นที่ เช่น ปัจจัยของสาขาที่ผลกำไรดี ข้อมูลเชิงประชากรของพื้นที่ มองหาพื้นที่ที่มีปัจจัยบ่งชี้ความสำเร็จของธุรกิจนั้นๆ รวมทั้งมองเห็นผลประกอบการของธุรกิจแต่ละสาขาในแต่ละพื้นที่แบบเรียลไทม์ในรูปแบบแผนที่หรือจะเป็นการใช้ GIS ในการสนับสนุนการบริหารจัดการด้านต่างๆ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด การปรับ-รวม-ย้ายสาขา และการวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการจากตำแหน่งสาขา เพื่อกำหนดขอบเขตให้บริการพื้นที่ครอบคลุมหรือพื้นที่ทับซ้อน รวมถึงดูแนวโน้มพฤติกรรมและพื้นที่กระจุกตัวของผู้บริโภค เพื่อจัดการเส้นทางขนส่งและจัดสรรสินค้าได้ตรงกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่ เพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น นำไปสู่การตัดสินใจทางธุรกิจได้รอบด้านและรวดเร็วยิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ ลดต้นทุนการดำเนินงานด้านต่างๆ สร้างความแตกต่างในการแข่งขันทางธุรกิจ ในยุคที่เทคโนโลยีเป็นใบเบิกทางเพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจ รวมไปถึงช่วยให้เข้าใจภาพรวมการบริหารจัดการในปัจจุบันได้ชัดเจนกว่าเดิม เพื่อการวางแผนรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ทันท่วงที

- เทคโนโลยี GIS ในต่างประเทศ -

ในต่างประเทศเทคโนโลยี GIS ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในฐานะเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวางแผนและการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย ดังนี้ ด้านธุรกิจ ได้มีการใช้เทคโนโลยี GIS เช่น Starbucks ใช้ GIS ในการวิเคราะห์ทำเลสำหรับเปิดสาขาแห่งใหม่ วางแผนเพื่อขยายกิจการ จากข้อมูลของประชากร เส้นทางการเดินทาง ร้านค้าปลีกและธุรกิจในละแวกใกล้เคียงผ่านระบบแผนผังภูมิศาสตร์ นอกจากนั้น Swarovski แบรนด์อัญมณีและเครื่องประดับชั้นนำของโลกนำเทคโนโลยี GIS มาใช้เพื่อช่วยในการวิเคราะห์จัดระเบียบ และวางแผน customer data ซึ่งการรู้ insight ของเทรนด์การซื้อเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ร้านค้าประสบความสำเร็จท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 รวมทั้งในอนาคตที่พฤติกรรมผู้บริโภคอาจมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้สามารถวางแผนการตลาดได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ส่วน Mid-America Real Estate Group องค์กรอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ใช้เทคโนโลยี GIS ช่วยให้โบรกเกอร์สามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการเลือกทำเลที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยี GIS ยังช่วยบริษัทในการปรับปรุงระบบการทำงานที่เป็นเอกสารไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลแบบ interactive ที่ให้ความแม่นยำมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ด้านการสาธารณสุข มีการประยุกต์ใช้ GIS ในการบริหารจัดการภาครัฐกับงานทางด้านสาธารณสุขมีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การระบุตำแหน่งของผู้ป่วยโรคต่างๆ การวิเคราะห์การแพร่ของโรคระบาดหรือแนวโน้มการระบาดของโรค ซึ่งการประยุกต์ใช้ GIS จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น ด้านเกษตรกรรม ใช้ในการเลือกพื้นที่ จัดสรรพื้นที่ในการเพาะปลูก เก็บข้อมูลแปลงปลูก คาดการณ์ผลผลิต ไปจนถึงการเก็บผลผลิต ขนส่ง และกระจายผลผลิต ด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อทดลองสร้างแบบจำลองทางด้านสิ่งแวดล้อมมีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การสร้างแบบจำลอง 3 มิติแสดงการถล่มของภูเขา การสร้างแบบจำลองระดับน้ำใต้ดิน แบบจำลองความสูงของภูมิประเทศ โดยเฉพาะในต่างประเทศที่นำมาประยุกต์ใช้ในการติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและภัยพิบัติธรรมชาติ รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม GIS หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งแนวโน้มเทรนด์จากนี้พบว่า GIS จะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการดำเนินกิจการเพื่อก้าวสู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน พร้อมก้าวเข้าสู่โลกยุคทรานส์ฟอร์ม   ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด   อ่านเพิ่มเติม:
คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนสิงหาคม 2565 ในรูปแบบ e-magazine