Gig Economy นิยามแห่ง อิสระ แบ่งปัน ในโลกยุคใหม่ - Forbes Thailand

Gig Economy นิยามแห่ง อิสระ แบ่งปัน ในโลกยุคใหม่

FORBES THAILAND / ADMIN
15 Jan 2019 | 10:50 AM
READ 8266

Gig Economy เทรนด์ทางเศรษฐกิจเรื่องหนึ่งที่น่าจับตามองทั้งในสหรัฐอเมริกา และอีกหลากหลายประเทศ

การเปิดตลาดเสรี ให้ผู้ผลิตสามารถขายของตรงถึงผู้บริโภคได้ คนทำงานไม่จำเป็นต้องมีสังกัดองค์กร การให้บริการตรงโดยไม่ต้องผ่านคนกลางอีกต่อไป ทำให้คนมีอิสระในการทำงานมากขึ้น ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้ง่ายขึ้น และผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น หนึ่งในแนวคิดที่ผลักดันคนให้เข้าสู่Gig Economy กันมากขึ้นคือความเบื่อหน่ายการทำงานหรือการใช้บริการจากองค์กรขนาดใหญ่แบบเดิม ซึ่งแนวคิดนี้เป็นกระแสอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะมิลเลนเนียล (หรือกลุ่มคนในช่วงอายุราว 22-36 ปี) ที่ต้องการมีอิสระในการใช้ชีวิตที่มากขึ้น มี work-life-balance แทนการทำงานหามรุ่งหามค่ำ หรือไปทำงานในระบบ โดยจากการสำรวจของ World Economic Forum ในปี 2018 พบว่ามิลเลนเนียลเชื่อว่าธุรกิจแบบสตาร์ทอัพและการเป็นเจ้าของธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างความเข้มแข็งให้กับคนรุ่นใหม่ และกว่า 78% เชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยสร้างงานได้ ผมในฐานะมิลเลนเนียลคนหนึ่งก็เชื่อเช่นเดียวกัน เพราะทุกวันนี้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกมากมายช่วยขับเคลื่อนGig Economy ให้คนทั่วไปสามารถมีอาชีพอิสระได้แค่มีโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว อย่าง Airbnb ก็ช่วยให้คนสามารถทำรายได้จากการให้เช่าที่พัก เหมือนเป็นเจ้าของโรงแรมโดยไม่ต้องมีเงินลงทุนเป็นล้านๆ libaba ทำให้ใครก็สามารถมีร้านขายของให้คนจากทั่วโลกได้โดยไม่ต้องมีหน้าร้าน สิ่งที่ผมชอบมากในGig Economy ก็เพราะมันแสดงให้เห็นว่าโลกเราแคบลง และจริงๆ แล้วคนเรามีความเชื่อใจกัน ถ้าเป็นสมัยก่อนผมบอกคุณว่าผมจะไปนอนบ้านคนแปลกหน้า คุณคงว่าผมแปลก แต่ตอนนี้เป็นเรื่องธรรมดามากเวลาผมจอง Airbnb หรือเด็กๆ เราถูกสอนว่าไม่ให้ขึ้นรถไปกับคนแปลกหน้า แต่ตอนนี้ Ride-Sharing ก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว เราสามารถพึ่งพาคนอื่นเพื่อเติมเต็มความต้องการของเราได้โดยมีเทคโนโลยีมาช่วยให้เราอุ่นใจให้เราปลอดภัย ให้เราไว้วางใจและ trustกันมากขึ้น ผมว่านี่เป็นข้อดีของเทคโนโลยีและเศรษฐกิจแบบGig Economy แนวคิดนี้ยังเป็นไอเดียที่เหมาะกับประเทศผู้ผลิตอย่างประเทศไทย เราเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์และมีสินค้าส่งออกมากมายทั้งข้าว อัญมณี น้ำาตาล เครื่องดื่ม ผลไม้และอีกมากมาย โดยประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเราอยู่ในภาคการเกษตรและการผลิตซึ่งถ้ามองกันจริงๆ Gig Economy สามารถเข้ามาช่วยเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศได้ ให้เกษตรกรและผู้ผลิตสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง สามารถกำหนดราคาและเงื่อนไขที่ตัวเองพึงพอใจได้ ขณะเดียวกันผู้บริโภคจะมีทางเลือกเพิ่มขึ้นจากเดิม 1-20 แบรนด์ เป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นแบรนด์ผู้บริโภคทราบถึงที่มาของสินค้า สามารถติดต่อผู้ผลิตได้โดยตรง เกิดการแข่งขันในตลาดแบบเสรี มีการกำหนดราคาที่เป็นไปตามกลไกตลาดที่เป็นธรรมจากความพึงพอใจของทุกฝ่าย และผมเชื่อว่าGig Economy จะเป็นทางออกให้กับหลายๆ ประเทศ เพื่อรองรับการว่างงานที่นับวันยิ่งเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในขณะนี้ที่องค์กรใหญ่ๆ กำลังเข้าสู่เทรนด์การทำให้องค์กร “lean” มากยิ่งขึ้น โดยหันมาลดพนักงานประจำกันเป็นว่าเล่น และจ้างงานในรูปแบบ contractor หรือฟรีแลนซ์แทน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แค่ในปีนี้เราก็เห็นบริษัทใหญ่ๆ ออกมาประกาศลดคนกันมากมาย ทั้ง Tesla, Ford, Microsoft, HP และ Coca-Cola นอกจากนั้น จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังพบว่าประเทศไทยมี “ผู้ว่างงาน” “ผู้รอฤดูกาล” และ “ผู้อยู่นอกกำลังแรงงาน” รวมแล้วกว่า 18 ล้านคน ซึ่งGig Economy สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพของคนกลุ่มนั้นได้ ทั้งเป็นรายได้หลักและรายได้เสริม เพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า อินโดนีเซียถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการเปิดให้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในเรื่องลดการว่างงาน โดยในปี 2559 อัตราการว่างงานของคนในประเทศลดลงเป็นอย่างมาก จาก 6.18% ในปีก่อนหน้า เหลือเพียง 5.61% อาทิ แอพพลิเคชั่นขึ้นชื่ออย่าง GO-JEK ที่มีคนขับในระบบแล้วกว่า 1,000,000 คน ด้วยราคาสมาร์ทโฟนที่ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในราคาหลักพันพร้อมด้วยค่าอินเตอร์เน็ตที่ต่ำลง ความก้าวหน้าทางดิจิทัลเพย์เมนต์พร้อมกับการสนับสนุนของภาครัฐเพื่อเข้าสู่การเป็น Cashless Society เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยปูพื้นฐานให้เกิดอี-คอมเมิร์ซบูม และฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็มีประเด็นที่หลายคนเป็นกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของ Gig Workers หรือฟรีแลนซ์ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่มี Gig Workers ราว 57 ล้านคน หรือราว 36% ของแรงงานทั้งหมดหนึ่งในประเด็นที่ควรคำนึงถึงก็คือการขาดสวัสดิการจากองค์กรและไม่อยู่ในระบบสวัสดิการรัฐ ซึ่งจะมีปัญหาในเวลาเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานได้ ทำให้ขาดรายได้ และที่สำคัญจะส่งผลในระยะยาว เมื่อแรงงานประเภทนี้เข้าถึงวัยเกษียณในเมืองไทยเองก็มี Gig Workers อยู่มากมายมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์ พ่อค้า แม่ค้า คนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง แมสเซ็นเจอร์ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ที่ประกอบอาชีพแบบ informal jobs หรืองานที่ไม่อยู่ระบบองค์กรหรือบริษัท ซึ่งในขณะที่ภาครัฐก็มีความพยายามที่จะนำคนกลุ่มนี้เข้ามาสู่ระบบสวัสดิการรัฐ แต่ผมว่าบริษัทเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในงานประเภทนั้นๆ ควรจะมีส่วนช่วยรองรับด้านสวัสดิการเช่นกัน เพราะการเข้ามาเพิ่มงาน และทำให้จำนวนแรงงานประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น ก็ควรมีมาตรการเพื่อดูแลคนที่ทำงานให้กับบริษัทในระยะยาว ผมคิดว่าGig Economy เป็นเทรนด์ที่จะ “stay” ไม่ได้จะมาแล้วผ่านไป เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ให้เท่าทัน เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อดี และการเตรียมรับมือกับข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทั้งคนที่เป็นนายจ้างและพนักงานทุกคน ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เก็ท ประเทศไทย
ติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม เพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนธันวาคม 2561 สังคมสูงวัย