เรื่องของ Generative AI เทคโนโลยีอันล้ำสมัยที่หลากหลายธุรกิจในปัจจุบันต่างให้ความสนใจจำนวนมาก ดังนั้นเหล่าบรรดาคนทำธุรกิจจึงจำเป็นต้องมองในเรื่องของการนำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์แบบรอบด้านและการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมธุรกิจในยุค GenAI ถือเป็นเรื่องสำคัญ
ในปัจจุบัน Generative AI (GenAI) เป็นเทคโนโลยีที่มาแรงและกำลังจะก้าวเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญที่จะปฏิวัติวงการธุรกิจในทุกระดับ ทำให้ประเด็นเรื่องการกำกับดูแลความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (GRC) มีความซับซ้อนมากขึ้น เราจำเป็นต้องมองจากหลายมุม ในแง่หนึ่ง GenAI ทำให้เกิดโอกาสมากมาย มีทั้งการนำมาใช้งานเป็นผู้ช่วยเชิงกลยุทธ์ในด้านการตลาดและการสร้างคอนเทนต์ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย แต่หากมองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ GRC เรื่องนี้ไม่ง่ายเลย
แน่นอน AI นั้นน่าตื่นตาตื่นใจแต่ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะในประเด็นกฎหมายเรื่องการปฏิบัติตามและการกำกับดูแลซึ่งใช้ควบคุมเทคโนโลยีประเภทนี้ยังคงปรับแก้อยู่เรื่อยๆ โดยรัฐสภายุโรปได้อนุมัติกรอบกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ข้ามหลายภาคส่วนที่ครอบคลุมเรื่อง AI ฉบับแรกของโลกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ปี 2567 นับเป็นการเริ่มตระหนักถึงเรื่อง AI ในระดับชาติหรือระดับภูมิภาค เน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่หน่วยงานกำกับดูแลต้องปกป้องประชาชนและสิทธิของประชาชนอันเกิดจากความเสี่ยงของเทคโนโลยี AI ที่กำลังพัฒนา
เรายังมองเห็นแนวโน้มเดียวกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยหลายประเทศได้ใช้ AI เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล หรือช่วยส่งเสริมโครงการต่างๆ สำหรับในประเทศไทย AI มีส่วนร่วมในโครงการ Thailand 4.0 ซึ่งตั้งเป้าจะนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับคุณภาพชีวิต ประเทศไทยยังส่งเสริมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยการสำรวจพบว่า เทคโนโลยี AI มีส่วนในการทำงานอัตโนมัติถึง 55% ของงานทั้งหมดในภูมิภาคนี้
ก่อนที่จะเจาะลึกถึงรายละเอียดว่า GenAI มีผลกระทบอย่างไรต่อ GRC สิ่งสำคัญที่ต้องพูดก็คือ แนวโน้มโดยรวมขององค์กรที่สามารถเร่งนำมา GenAI มาประยุกต์ใช้ ในปัจจุบันยังมองไม่เห็นภาพชัดว่ามาตรฐาน GRC จะสามารถปรับเข้ากับภูมิทัศน์ของ GenAI ได้อย่างไร เนื่องจากโมเดล GenAI ได้รับการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ องค์กรต้องก้าวให้ทันกับความก้าวหน้าของ AI พร้อมทั้งรัฐบาลต้องติดตามดูว่านวัตกรรมเหล่านี้ได้พัฒนาและใช้งานไปในแนวทางใดบ้าง
การเดิมพันนี้ค่อนข้างสูง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเดินเกมได้ทันท่วงทีผลที่ตามมาอาจร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้น ไปจนถึงการลิดรอนสิทธิของบุคคลในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น การก้าวนำหน้าให้ทันท่วงทีจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทั้งองค์กรและสังคมในยุค GenAI นี้
GenAI มีผลกระทบต่อการกำกับดูแลความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎอย่างไร?
องค์ประกอบของ GRC พัฒนาด้วยระดับความละเอียดที่เพิ่มขึ้น หมายความว่า เสาหลักของ GRC ซึ่งประกอบไปด้วยการกำกับดูแล ความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎนั้นต่างได้รับผลกระทบจาก GenAI ทั้งในเชิงบุคคลและเชิงภาพรวม ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน GRC และทีมงานที่อยู่ในองค์กรต้องเรียนรู้พัฒนาควบคู่กันไป โดยประเด็นเฉพาะด้าน GRC ที่จะได้รับประโยชน์จาก GenAI มีดังต่อไปนี้
การทำงานอัตโนมัติ: GenAI สามารถทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติได้อย่างราบรื่น เช่น การสร้างและการรักษานโยบายภายในอยู่ตลอดเวลา ช่วยลดภาระงานที่จำเป็นของผู้เชี่ยวชาญและทีมงาน GRC ได้ในเบื้องต้น
การจัดการการเปลี่ยนแปลง: GenAI ช่วยให้ติดตามและประเมินการออกกฎภายของคณะกรรมการภายใน การบังคับใช้ และความคิดเห็นของสาธารณชนในแบบเรียลไทม์ได้ง่ายขึ้น เพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในเชิงกฎระเบียบหรือองค์กร
การจัดการนโยบาย: การจัดการการบังคับใช้และการเปลี่ยนแปลงสามารถเชื่อมโยงกับนโยบายองค์กรที่มีอยู่เพื่อลดองค์ประกอบของความผิดพลาดจากมนุษย์
การจัดการการควบคุม: การตรวจจับและการตรวจสอบความเสี่ยงและข้อบกพร่องของการควบคุมสามารถทำได้ผ่าน GenAI ซึ่งสามารถนำวิธีการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและกลไกการควบคุมทั่วทั้งองค์กรไปใช้ซ้ำได้
การติดตามการปฏิบัติตามกฎระเบียบ: การติดตามการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการบังคับใช้สามารถทำได้อย่างง่ายดายผ่าน GenAI เพื่อแจ้งเตือนองค์กรเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างต่อเนื่อง
การวางแผนและการตรวจหาล่วงหน้า: GenAI นำการประเมินความเสี่ยงเข้าใกล้การเป็นเป้าหมายมากขึ้นด้วยการใช้อัลกอริทึมอัจฉริยะเพื่อคาดการณ์และจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่เป็นไปได้ในลักษณะองค์รวม
สิ่งสำคัญที่พึงระลึกไว้ก็คือ การใช้งานข้างต้นไม่ใช่ขีดความสามารถของ AI ในแง่ใดๆ ตามข้อมูลที่ปรากฏในปัจจุบัน AI สามารถช่วยทำงานด้าน GRC ได้มากกว่าที่กล่าวมา
การผสานรวม AI ช่วยยกระดับการกำกับดูแลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ภัยคุกคาม และรายงานด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การตรวจจับรูปแบบและความผิดปกติ รวมถึงการบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ ผ่านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในและภายนอก การสร้างแบบจำลองความเสี่ยงที่ขับเคลื่อนด้วย AI ใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงและอัลกอริทึมแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในอดีต ระบุแนวโน้มและความสัมพันธ์เพื่อการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล
เครื่องมือสร้างแบบจำลองทางการเงินที่ขับเคลื่อนด้วย AI ผสานรวมกับโมเดลความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์เพื่อตรวจสอบผลกระทบทางการเงินของสถานการณ์การละเมิด ด้วยเหตุนี้ระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการตรวจสอบและรายงานกระบวนการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ด้วยการวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถวิเคราะห์การสื่อสารและธุรกรรมได้แบบเรียลไทม์ โดยระบุข้อบ่งชี้ที่ไม่สอดคล้องกันและจะเข้าแก้ไขอย่างรวดเร็ว
องค์กรควรนำ GenAI มาใช้หรือไม่?
อันที่จริงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากหากจะนำ AI มาประยุกต์ใช้ แต่แม้อาจจะมีอุปสรรคเกิดขึ้น เราต่างต้องเร่งจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับการผสานรวมที่ปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่มีอยู่โดยด่วน และต้องรีบให้ความสำคัญและเริ่มดำเนินการทันที
การนำ GenAI มาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะในด้าน GRC ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ต้องควรทำเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง การรวมโซลูชันเทคโนโลยีล้ำสมัยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าร่วมกันของเรา อุปสรรคใดๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือเนื้อหาต่างต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว เพื่อให้แน่ใจว่าการเดินทางของเราสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและความก้าวหน้าจะไม่สะดุดลง
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : Ai Weiwei จับ Monet ใส่เลโก้ ณ นิทรรศการศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ในลอนดอน