ไม่ว่าจะเป็นทายาทเจนฯ 2 เจนฯ 3 หรือเจนฯ ไหนในฐานะทายาทธุรกิจ เวลานี้ถือเป็นบททดสอบสำคัญในการกลับไปค้นหาจิตวิญญาณของผู้นำธุรกิจในรุ่นแรก นั่นคือ จิตวิญญาณแห่งการเป็นผู้บุกเบิก (Pioneer) และผู้ก่อตั้งธุรกิจ (Entrepreneurship) เพราะด้วยภูมิทัศน์ของธุรกิจที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในวันนี้ รูปแบบ (Business Models) หรือกลยุทธ์เดิมๆ ที่เคยใช้ได้ผล สิ่งที่เคยเป็นข้อได้เปรียบของธุรกิจ อาจจะใช้ไม่ได้ผล หรือแย่กว่านั้นคือ กลายเป็นข้อเสียเปรียบ และเป็นอุปสรรค
1. “Set Zero” ด้วย Founder’s Spirit
ข้อแนะนำข้อแรก คือ “Back to your root” หากผู้ก่อตั้งยังมีชีวิตอยู่ ให้เดินไปพูดคุยหรือปรึกษาหารือเกี่ยวกับการก่อร่างสร้างธุรกิจ และการฟันฝ่าอุปสรรคความยากลำบาก โดยฟังอย่างตั้งใจและพยายามเรียนรู้คุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นแพสชัน ความมุมานะ บากบั่น อดทน ความมุ่งมั่น ความเสียสละ ฯลฯ รวมทั้งเคล็ดลับในการสร้างบารมีหรือความน่าเชื่อถือของท่าน ซึ่งหลักการเหล่านี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงแม้ในปัจจุบัน สิ่งที่เปลี่ยนคือ วิธีการการประยุกต์ใช้ และพฤติกรรมที่จะต้องมีการปรับให้เข้ากับยุคสมัย เนื่องจากธุรกิจกำลังเข้าสู่โลกยุคใหม่ที่มีความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลง ดิจิทัล ดิสรัปชัน พฤติกรรมและความคาดหวังของผู้บริโภคที่ไม่เหมือนเดิม การเข้ามาของผู้เล่นหน้าใหม่ ทั้งที่มาจากธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นการแข่งขันมาจากนอกประเทศ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตาร์ทอัพที่มาพร้อมกับไอเดียและนวัตกรรมที่พร้อมจะดิสรัปต์โลกใบเก่าและความหิวกระหายในความสำเร็จ สามารถทำงาน 24/7 ได้โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และสามารถเริ่มต้นทุกอย่างในแบบ “Set Zero” โดยไม่ต้องมีพันธนาการของ “Legacy” เก่าๆ มาให้เป็นภาระ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจครอบครัวยังมีความได้เปรียบในหลายด้านเมื่อเทียบกับธุรกิจทั่วไป อาทิ การมีวิสัยทัศน์ในระยะยาวและความต่อเนื่องและความยั่งยืนในดำเนินกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ Commitment ของผู้นำในฐานะเจ้าของที่มีแพสชันอย่างแรงกล้าในการทำธุรกิจ และในขณะที่ธุรกิจทั่วไปอาจจะมีการเปลี่ยนซีอีโอและทีมผู้บริหารทุก 3-4 ปี หรือสั้นกว่านั้น ธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่จะประกอบด้วยทีมงานที่อยู่กันมานาน มีความผูกพันไว้วางใจกัน และจงรักภักดีสูง ความแข็งแกร่งด้านการเงิน รากฐานและเครือข่ายของธุรกิจที่สร้างไว้ รวมถึงชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลที่เป็นเสมือนใบเบิกทางให้สามารถทำอะไรได้ง่ายกว่าคนที่เริ่มต้นจากศูนย์หรือคนที่ไม่มีใครรู้จัก หรือมีต้นทุนน้อยกว่า ทว่าในทางกลับกัน Legacy หรือมรดกเดิมๆ อาจจะกลายเป็นข้อเสียเปรียบของธุรกิจครอบครัวได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมองค์กร โครงสร้างระบบ และกระบวนการทำงานแบบเดิมๆ ที่อาจไม่สอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน การพัฒนาทักษะและ Mindset ของพนักงานที่อยู่กับบริษัทมานานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคนี้หรือแนวทางธุรกิจใหม่ๆ ที่จะก้าวไป การจัดการในเรื่องของความสัมพันธ์ อารมณ์ การบริหารความคาดหวังของบิดามารดา สมาชิกในครอบครัว ทีมงาน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญคนอื่นๆ เพราะในบริบทแบบไทย การเปลี่ยนแปลงอาจไม่สามารถเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น หากไม่มีทักษะในการจูงใจหรือคำนึงถึงการรักษาหน้าตาและชื่อเสียงของคนรุ่นก่อน เช่น การใช้ Crucial Conversation Skills หรือในหลายกรณีพบว่า การส่งต่ออำนาจมาสู่มือผู้บริหารรุ่นใหม่ก็ยังไม่ได้มีความชัดเจนที่จะเอื้อให้ทายาทมีสิทธิและอำนาจในการตัดสินใจและดำเนินการเรื่องสำคัญได้อย่างแท้จริง2.เร่งการทรานส์ฟอร์ม
ท่ามกลางความท้าทาย และข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่างๆ ของธุรกิจครอบครัวในข้างต้น หนึ่งในภารกิจสำคัญที่ทายาทและผู้นำธุรกิจทุกคนในยุคนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากต้องการนำพาธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตในโลกยุค New Normal คือการติดปีกอัตราเร่งให้กับการเปลี่ยนแปลงหรือการทำทรานส์ฟอร์เมชันทั้งในสามมิติ ได้แก่ มิติของธุรกิจ (Business Transformation) วัฒนธรรมองค์กร (Culture Transformation) และมิติความเป็นผู้นำ (Leadership Transformation) ตามกรอบแนวทางในการสร้างองค์กรที่แข็งแกร่งและยั่งยืนดังต่อไปนี้- Business Transformation
- Culture Transformation
- Leadership Transformation
3.Self-Credibility ชี้ขาดความสำเร็จ
สิ่งสำคัญที่ทายาทหรือผู้นำรุ่นใหม่ต้องตระหนักคือ ขณะที่ความเป็นทายาทสามารถส่งต่อสืบทอดได้ความเชื่อมั่น หรือไว้วางใจ (Leader’s Credibility) จากทีมงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นเอง โดยไม่สามารถส่งต่อแบบอัตโนมัติจากคนรุ่นก่อนมาสู่ทายาทได้ ซึ่งกระบวนการสร้าง Trust นั้น มีหลักการที่เป็นขั้นตอนและเป็นวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น- การสร้าง Character หรือความเป็นตัวตน เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความจริง และทำการตัดสินใจในเรื่องยากด้วยวุฒิภาวะและความรับผิดชอบ
- ความรู้ ความสามารถ (Competency) ไม่ได้หมายความว่า จะต้องรู้ทุกเรื่อง แต่อย่างน้อยผู้นำจะต้องมีความสามารถในการสังเคราะห์ข้อมูลและพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ เพื่อทำการตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้ รวมทั้งความสามารถในการนำการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ทักษะใหม่ และการเป็นผู้นำแบบตัวคูณ หรือ “Multipliers” ที่สามารถจุดประกายและดึงศักยภาพสูงสุดจากทีมงานออกมาได้เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร
- พลิกตำราหาทางรอดในวงการแฟชั่นของ TORY BURCH ช่วงวิกฤตโควิด-19
- 10 ผู้ประกอบการหญิงเด่นแห่งการจัดอันดับ 100 AMERICA’S RICHEST SELF-MADE WOMEN 2020
อ่านบทความและเรื่องราวรอบโลกแบบเต็มๆ ได้ที่ นิตยสาร ForbesLife Thailand ฉบับพิเศษ ฉบับเดือนธันวาคม 2563