โอกาสและการปลดล็อกศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทย - Forbes Thailand

โอกาสและการปลดล็อกศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทย

FORBES THAILAND / ADMIN
21 Mar 2022 | 07:30 AM
READ 2412

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นับเป็นตัวเร่งการนำเทคโนโลยีมาใช้และการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลก และผลกระทบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยนั้นเด่นชัดเป็นพิเศษ

จากรายงานที่มีชื่อว่า “Unlocking Thailand’s Digital Potential” หรือ การปลดล็อกศักยภาพทางดิจิทัลของประเทศไทย ที่จัดทำ โดย AlphaBeta ได้ระบุว่า การเปลี่ยนรูปแบบสู่ระบบดิจิทัลจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ถึง 2.5 ล้านล้านบาทต่อปี (7.95 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ) ภายในปี 2573 หรือหากเทียบให้เห็นภาพชัดเจน มูลค่านี้จะเทียบเท่ากับประมาณ 16% ของ GDP ประเทศไทยในปี 2563 ซึ่งเศรษฐกิจไทยยังมีโอกาสเติบโตมากยิ่งขึ้นในระยะยาว โดยก่อนหน้านี้ได้มีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับล่าสุดที่จัดทำโดย Google, Temasek และ Bain ยังได้ระบุว่า กว่า 1 ใน 3 ของผู้ค้าดิจิทัลในประเทศไทยเชื่อว่าธุรกิจของพวกเขาจะไม่สามารถผ่านวิกฤตโรคระบาดนี้ไปได้เลยหากไม่ได้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้ และคาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท (3 หมื่นล้านเหรียญ) ในปี 2564 มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 51% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีอี-คอมเมิร์ซเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ  

- เผชิญความท้าทายหลายด้าน -

ในขณะที่รัฐบาลยังคงเดินหน้าผลักดันยุทธศาสตร์ตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ที่มุ่งประเด็นไปที่การเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางนวัตกรรมและดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่นั้น จากรายงานของ AlphaBeta ได้ระบุถึง 3 เสาหลักของการดำเนินการที่จำเป็นสำหรับประเทศไทย ได้แก่ การทำให้ธุรกิจต่างๆ สามารถนำระบบดิจิทัลไปใช้งานได้ง่ายขึ้น การพัฒนาการฝึกอบรมและการศึกษาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ และการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การค้าดิจิทัล อย่างไรก็ตามแม้เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะก้าวหน้าและมีโอกาสเติบโตอย่างมาก แต่ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการสำหรับการไปให้ถึงศักยภาพที่แท้จริง ซึ่งความท้าทายเหล่านี้รวมถึงการลดช่องว่างของบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัล และการเร่งให้ภาคธุรกิจนำโซลูชันดิจิทัลไปใช้ โดยการศึกษาเมื่อปี 2563 ที่เปรียบเทียบอัตราการนำระบบดิจิทัลไปใช้ของธุรกิจต่างๆ ทั่วประเทศพบว่า มีธุรกิจในประเทศไทยเพียง 33% เท่านั้นที่เปิดรับการเปลี่ยนรูปแบบสู่ระบบดิจิทัลและวางแผนที่จะลงทุนเพื่ออนาคต ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 59% การศึกษานี้เผยว่า สาเหตุนี้มาจากการขาดแคลนทั้งทักษะดิจิทัลและความรู้ด้านเทคโนโลยี นอกจากนั้น อัตราการนำระบบดิจิทัลไปใช้ของธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยที่ต่ำนั้นยังเป็นผลมาจากการขาดแคลนบัณฑิตด้านเทคโนโลยี และต้นทุนที่มีมูลค่าสูงในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น เครือข่าย 5G การปรับเปลี่ยนรูปแบบสู่ระบบดิจิทัลสามารถช่วยให้ประเทศไทยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นยังช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจต่างๆ ในประเทศสามารถแข่งขันกันได้ในระยะยาว โดยการศึกษาฉบับหนึ่งพบว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกผลักดันการปฏิวัติด้านดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพได้เร็วขึ้นถึง 5 ปี ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสที่จะได้ตักตวงประโยชน์จากคลื่นดิจิทัลลูกถัดไปการปรับเปลี่ยนรูปแบบสู่ระบบดิจิทัลจะเป็นตัวกระตุ้นสำคัญสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

- โฟกัส 8 เทคโนโลยีสำคัญ -

ทั้งนี้ เทคโนโลยีสำคัญ 8 ประเภท ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงและเป็นตัวเร่งสำหรับธุรกิจและแรงงานในประเทศไทย ได้แก่ 1. อินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2. การประมวลผลแบบคลาวด์ 3. ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) 4. ปัญญาประดิษฐ์ (AI) 5. เทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) 6. อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) และการรับรู้จากระยะไกล 7. วิทยาการ หุ่นยนต์ขั้นสูง และ 8. การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุเทคโนโลยี จากตัวเลข 1.6 ล้านล้านบาทนั้น (5.17 หมื่นล้านเหรียญ) คือ มูลค่ารวมกันของการใช้เทคโนโลยีทั้งหมดที่ทำให้ธุรกิจสามารถฝ่าฟันจนประสบความสำเร็จได้ในช่วงของการแพร่ระบาด และในอนาคตยุคหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ด้วยการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้จะสามารถสร้างผลลัพธ์ได้ 3 ช่องทาง คือ ช่วยทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ด้วยการจัดให้มีการทำงานจากระยะไกล พร้อมด้วยการอำนวยความสะดวกให้พนักงานทำงานร่วมกันได้เสมือนเดิม และสามารถควบคุมการปฏิบัติงานจริงจากนอกสถานที่ อำนวยความสะดวกให้การโต้ตอบของลูกค้า การทำธุรกรรม และการตลาด โดยผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ตัวอย่างของการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อาทิ แพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ ดิจิทัลในอุตสาหกรรมค้าปลีกบริการส่งอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ออนไลน์ในอุตสาหกรรมงานบริการ ศูนย์อาชีพอิเล็กทรอนิกส์ และแพลตฟอร์มงานดิจิทัลในอุตสาหกรรมการจัดหางาน และแอปบริการด้านสุขภาพทางไกล ช่วยลดปัญหาคอขวดด้านโลจิสติกส์ท่ามกลางการหยุดชะงักของซัพพลายเชนระดับภูมิภาคและระดับโลก กล่าวคือ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและการปิดชายแดนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงอย่างมากในภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยผู้บริโภค เช่น การท่องเที่ยวและการค้าปลีก ในขณะเดียวกันผลผลิตก็ลดลงเนื่องจากอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ เช่น ความล่าช้าของการจัดส่งทั้งวัตถุดิบและสินค้าระดับกลางที่มีส่วนให้ GDP จากภาคการผลิตลดลง 8.3% ในขณะที่อุตสาหกรรมบริการที่พักและอาหารลดลง 36.6% เมื่อเทียบไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 กับปีก่อนหน้า โดยธนาคารแห่งประเทศไทยประมาณการว่าเศรษฐกิจของไทยอาจหดตัวลง 6.6% ในปี 2563 พร้อมกับพยากรณ์การฟื้นตัวเล็กน้อยที่ 3.2% ในปี 2564 (ต่ำกว่าการประมาณการก่อนหน้าที่ 5%) จากฐานข้อมูลนโยบายโควิด-19 ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ประเทศไทยได้ประกาศใช้มาตรการมูลค่าอย่างน้อย 8.4 หมื่นล้านเหรียญ สำหรับใช้ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดบางส่วนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19 ที่ Google เรามุ่งมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้คนไทยได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในโลกดิจิทัล และมีส่วนร่วมในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยในระยะยาว เราจะเดินหน้าสนับสนุนการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะดิจิทัลและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ผ่านโครงการและแหล่งข้อมูลต่างๆ ของเรา อาทิ โครงการ Saphan Digital ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์และพันธมิตรธุรกิจที่มีคอร์สอบรมออนไลน์ฟรีสำหรับผู้ประกอบการ SME และบุคคลทั่วไปที่สนใจเสริมทักษะดิจิทัล เว็บไซต์ Think with Google และโครงการ Google for Startups Accelerator: Southeast Asia ที่ทำาให้สตาร์ทอัพในประเทศไทยสามารถเข้าถึงเครือข่ายระดับโลกของพาร์ตเนอร์ในอุตสาหกรรมเพื่อขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้เราตระหนักดีว่ายังมีภารกิจอื่นๆ อีกมากมายที่ Google ต้องทำเพื่อช่วยให้ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากศักยภาพทางเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ เราจะมุ่งมั่นเดินหน้าดำเนินการอย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งการทำงานอย่างใกล้ชิดกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน   Jackie Wang Jackie Wang ผู้อำนวยการ Google ประจำประเทศไทย   อ่านเพิ่มเติม:
คลิกอ่านฉบับเต็ม และบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ในรูปแบบ e-magazine