วิถีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย ซึ่งเดิมลักษณะการอยู่อาศัยในครอบครัวไทยส่วนใหญ่จะมีการอยู่อาศัยร่วมกันมากกว่า 1 รุ่น ในขอบรั้วบ้านมักจะมีครอบครัวย่อยๆ ที่มีบ้านอยู่ในนั้นมากกว่า1 หลัง สิ่งเหล่านี้สะท้อนภาพลักษณ์ของสังคมไทยที่ต่างเกื้อกูลกันได้อย่างชัดเจนเป็นวิถีชีวิตที่ชินตากับการเติบโตแบบสังคมขยายที่แทรกซึมกับวัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่มีมาอย่างยาวนานของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยสภาวะความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีการพัฒนาให้ประเทศก้าวขึ้นสู่ประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจระดับโลก ภาคการเกษตรที่เปรียบเสมือนพื้นฐานแห่งการเติบโตด้านเศรษฐกิจในอดีตถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น และการเข้าสู่ระบบทุนนิยมอย่างเต็มตัว ก่อให้เกิด
CBD หรือ
central business district ที่กระจายตัวอยู่ตามหัวเมืองสำคัญภายในประเทศ ซึ่งการเจริญเติบโตเหล่านี้จะส่งผลให้การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีการสอดรับความเจริญไปในทิศทางเดียวกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงที่เริ่มดำเนินการแล้ว หรือสนามบินต่างๆ ที่มีการยกระดับให้เป็นสนามบินระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น
ขณะที่สังคมการใช้ชีวิตที่อยู่กันในลักษณะครอบครัวใหญ่ในอดีตเริ่มเลือนรางไปอย่างเห็นได้ชัด เปลี่ยนเป็นการใช้ชีวิตผ่าน “ครอบครัวเดี่ยว” ที่มีการอยู่อาศัยเฉพาะคน 2 รุ่นคือ รุ่นพ่อแม่กับรุ่นลูก การย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อให้สะดวกต่อการใช้ชีวิตในการทำงานเริ่มมีภาพที่ชัดเจนมากกว่าในอดีต การแตกตัวของสถาบันครอบครัวให้มีขนาดเล็กลงแต่กระจายตัวไปตามบทบาททางสังคมมีมากยิ่งขึ้น การเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การเดินทาง การทำงาน และไลฟ์สไตล์ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความห่างทางการใช้ชีวิต แต่เป็นผลบวกแก่การดำเนินชีวิตส่วนบุคคล
จากการเปลี่ยนแปลงในด้านรูปแบบและขนาดของครอบครัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจและสังคมส่งผลให้ครอบครัวมีความเสี่ยงต่อการขาดเสถียรภาพในระยะยาว และการเผชิญกับปัญหาที่หลากหลายในภาวะครอบครัวเปราะบาง ซึ่งต้องยอมรับว่าประเทศไทยกำลังเผชิญภาวะวิกฤตในปัญหาดังกล่าวมากขึ้น โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ดัชนีครอบครัวอบอุ่นของสังคมไทยมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะครอบครัวคนเมืองกลายเป็นกลุ่มที่มีความสุขต่ำที่สุดในประเทศ
ดังนั้น
การพัฒนาที่อยู่ที่อาศัยเพื่อเอื้อต่อการอยู่อาศัยแบบหลายช่วงวัย จึงถือเป็นแนวคิดที่สำคัญในการตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิต โดยเฉพาะผู้พักอาศัยในเมืองที่มีข้อจำกัดเรื่องราคาที่ดินและพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ที่อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งความต้องการและความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ควรพิจารณาให้ความสำคัญดังเช่น บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC ซึ่งตระหนักถึง pain point ที่เกิดขึ้น และต้องการหาจุดเชื่อมโยงการใช้ชีวิต การอยู่ร่วมกัน ด้วยการร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในการทำการวิจัยอย่างลึกซึ้ง เพื่อหาสิ่งที่จะตอบโจทย์การอยู่อาศัยของครอบครัวหลากหลายช่วงวัย
- Intergeneration และดิจิทัล
ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยความต้องการของผู้อยู่อาศัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศพบว่า คนไทยส่วนใหญ่ต้องการอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่ และต้องการพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดการออกแบบโครงการในลักษณะ intergeneration ซึ่งเอื้อต่อการแลกเปลี่ยน และการใช้เวลาอยู่ด้วยกันภายในครอบครัว
ขณะที่ทุกรายละเอียดของโครงการควรออกแบบและพัฒนามาจากความต้องการของสมาชิกทุกรุ่น เพื่อการใช้ชีวิตในแบบ
intergeneration living ให้ทุกช่วงวัยไม่ต้องมีจุดกึ่งกลางในการแบ่งปันไลฟ์สไตล์ของตนเอง แต่ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นอย่างเต็มที่ผ่านแกนแนวคิดหลักของการพัฒนาในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของโครงการที่เชื่อมโยงไลฟ์สไตล์ของทุกช่วงวัยเข้าด้วยกันเช่นในแบรนด์มัลเบอร์รี่ โกรฟ
นอกจากนั้น เทคโนโลยียังเป็นหนึ่งในเทรนด์ความต้องการที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการใช้ชีวิต เช่น การสื่อสารต่างๆ ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเปรียบได้กับปัจจัยที่ 5 ที่ขาดไม่ได้ และเทคโนโลยียังแทรกซึมเข้าไปในวิถีชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่นำเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาเพื่อความแม่นยำ ถูกต้อง และปลอดภัยแก่การก่อสร้างเป็นอย่างมาก
สำหรับโจทย์ต่อไปของผู้พัฒนาโครงการหลังจากการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ได้รับการยอมรับแล้วคือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ แทรกซึมเข้าไปในวิถีชีวิตของผู้พักอาศัยเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และใช้งานได้อย่างเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างของเทคโนโลยีในโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถพัฒนาการใช้งานที่สอดรับกับยุคปัจจุบันในโครงการมัลเบอร์รี่ โกรฟ สุขุมวิท เช่น ระบบ cardless ที่เน้นการใช้บัตรให้น้อยที่สุด โดยเมื่อเข้าสู่โครงการจะใช้เป็นระบบสแกน license plate เพื่อยืนยันรถยนต์ของผู้พักอาศัย พร้อมระบบจอดรถแบบ automate parking ที่เป็นระบบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการนำ robot มาช่วยจัดการด้านระบบการจอดรถ ทำให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องเข้าไปในลิฟต์สำหรับช่องจอดรถ แต่มีระบบต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์เข้ามาช่วยเหลือ เพิ่มทั้งความสะดวกสบายและปลอดภัยแก่ผู้พักอาศัย
นอกจากนั้น โครงการยังมีหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกเพิ่มความปลอดภัย ความสะดวกสบายของคุณ และทุกคนในครอบครัวจะได้รับการบริการ การช่วยเหลือต่างๆ รวมถึงหุ่นยนต์อัจฉริยะ เพื่อเป็นตัวช่วยในการใช้ชีวิตให้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกันเรื่องสุขภาวะและสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยยังเป็นสิ่งที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ควรให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน เช่น การตรวจสภาพอากาศภายในห้องนอน และคุณภาพของอากาศในตัวอาคาร เพื่อสร้างความมั่นใจในสุขภาพของผู้อยู่อาศัย พร้อมทั้งระบบการกรองอากาศจากภายนอกอาคารเพื่อนำออกซิเจนเข้ามาในกรณีที่ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูง
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นสิ่งที่ช่วยให้การใช้ชีวิตแบบ
intergeneration ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ทุกการใช้ชีวิตในทุกๆ ช่วงวัยมี
quality time หรือช่วงเวลาที่ดีร่วมกัน เสริมสร้างฐานรากของคำว่าครอบครัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตให้แข็งแกร่งในทุกบริบทแห่งการใช้ชีวิต
รุ่งโรจน์ จงศุจิพันธุ์
ผู้อำนวยการอาวุโส แบรนด์มัลเบอร์รี่ โกรฟ
บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
อ่านเพิ่มเติม:
คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนธันวาคม 2563 ในรูปแบบ e-magazine