โครงการ “UTO” วงรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนรายแรกในไทย - Forbes Thailand

โครงการ “UTO” วงรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนรายแรกในไทย

FORBES THAILAND / ADMIN
19 Oct 2020 | 07:22 AM
READ 2642

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นครบวงจรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ดำเนินธุรกิจใน 8 กลุ่มธุรกิจหลัก ปัจจุบันมีกำลังการผลิตปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์รวม 11.28 ล้านตันต่อปี และมีกำลังการกลั่นน้ำมันดิบและคอนเดนเสทรวมกัน 280,000 บาร์เรลต่อวัน

ความมุ่งมั่นของ GC คือ เสริมสร้างความเป็นผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ โดยการรวมนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ากับเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้คน โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตที่มั่นคงอย่างต่อเนื่อง ด้วยศักยภาพทางการแข่งขันและความโดดเด่นในอุตสาหกรรม รวมถึงการลงทุนในประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง นอกจากนี้ GC ยังให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจไปยังธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (performance and specialty chemicals) เพื่อปรับเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าที่มีมูลค่าสูง และมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม โดยบริษัทได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มดัชนี Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI ปี 2019 ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน GC เชื่อในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) จึงได้ผลักดันการดำเนินงานของโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand ซึ่งสอดคล้องตามมาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน (BS 8001:2017) สำเร็จเป็นโครงการแรกของประเทศ และด้วยแนวคิดเพื่อความยั่งยืนจึงดำเนินธุรกิจด้วย GC Circular Living ซึ่งประกอบด้วย
  • Smart Operating การนำเทคโนโลยีแบบใหม่มาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดย GC มีเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อย GHG จากกระบวนการผลิตลง 20% ภายในปี 2030 และลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลง 52% ภายในปี 2050
  • Responsible Caring การคิดค้นพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำขยะพลาสติกกลับมา recycle และ upcy-cling ให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่นำมาหมุนเวียนสามารถใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • Loop Connecting ขยายความร่วมมือร่วมกับทุกภาคส่วน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในวงกว้างและเชื่อมต่อธุรกิจให้ครบวงจร
ในฐานะที่ GC อยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ จึงให้ความสำคัญอย่างมากกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็น chemistry for better living คือ การดำเนินธุรกิจเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของทุกคน GC จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะด้านขยะ น้ำ และอากาศของประเทศ และมุ่งเน้นให้มีการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ สำหรับปัญหาจากขยะพลาสติกนั้น อันที่จริงแล้วพลาสติกไม่ใช่ปัญหาแต่อยู่ที่การจัดการ ดังนั้นการจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจร พร้อมกับการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงมีความจำเป็นมาก โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand (UTO) เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ 3 องค์กร ได้แก่ GC, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และมูลนิธิอีโคอัลฟ์ จากประเทศสเปน ดำเนินโครงการมากว่า 3 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย GC เริ่มต้นโครงการนี้ที่เกาะเสม็ด สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากในจังหวัดระยอง ด้วยการจัดเก็บขยะในทะเลและชายฝั่ง และ upcycle หรือแปรรูปขยะพลาสติกประเภท PET ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าในรูปแบบที่สร้างสรรค์ นอกจากนี้ GC ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบที่นำไปสู่การลดขยะในทะเล และอนุรักษ์ท้องทะเลไทย โครงการ UTO ได้ปลุกกระแสภาคสังคมให้รักษ์ทะเล สร้างการรับรู้และเข้าใจต่อพลาสติก เศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านการประชาสัมพันธ์และการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ ชุมชน นักท่องเที่ยว นักดำน้ำ และยังพัฒนา business model ของการเปลี่ยนขยะทะเลและชายฝั่งเป็นทรัพยากรเพื่อผลิตเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มที่หลากหลาย ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน สร้าง ecosystem ทางธุรกิจให้แข็งแรง และขับเคลื่อนกันอย่างบูรณาการ โครงการ UTO นี้สอดคล้องกับมาตรฐาน BS 8001:2017 คือ มาตรฐานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนฉบับแรกของโลก และถือเป็นโครงการแรกของประเทศไทย โดยวัดตามเกณฑ์การประเมิน 6 หัวข้อ ได้แก่ system thinking, innovation, stewardship, collaboration, value optimization และ transparency และได้รับความเห็นจากผู้ตรวจสอบ (third party verifier) การได้รับรองมาตรฐานนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้าน circular economy และชี้วัดได้ว่า GC ดำเนินโครงการตามมาตรฐานสากล วัดผลและจับต้องได้ กล่าวคือ ได้ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี โดยชาวบ้าน ชุมชน ภาคเอกชน และภาครัฐต่างเห็นความสำคัญ ได้รับความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากชาวบ้าน ชุมชน ภาคเอกชน พันธมิตร และภาครัฐ โครงการนี้ได้รับกระแสตอบรับจากคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาโครงการสามารถเก็บขยะพลาสติกจากทะเลและชายฝั่งประเภท PET ได้ปริมาณ 40 ตัน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 115.27 ตัน และมีคอลเล็กชั่นของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการ upcycling เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติกเหล่านั้น ซึ่งสร้างรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนมากกว่า 22 ล้านบาท ความสำเร็จของโครงการ UTO ในครั้งนี้ถือเป็นการปลุกกระแสภาคสังคมให้หันมารักษ์ทะเล สร้างการรับรู้และเข้าใจต่อขยะพลาสติก เศรษฐกิจหมุนเวียน ส่วนความยากของการทำโครงการที่เกี่ยวกับ circular economy คือ การทำอย่างไรให้โครงการครบวงจรให้ได้ จุดสำคัญคือ การสร้างความเชื่อให้คนทำงานและพาร์ตเนอร์ได้เข้าใจถึงความสำคัญ โดย GC ต้องมีพาร์ตเนอร์ในทุกๆ ด้านและทุกสเต็ปของการดำเนินโครงการ เนื่องจากแต่ละที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน เมื่อมาทำงานร่วมกันก็จะทำให้เกิดการ collaboration ที่ประสบผลสำเร็จได้   ดร. คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  
คลิกอ่านฉบับเต็มได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกันยายน 2563 ในรูปแบบ e-magazine