เศรษฐกิจหมุนเวียน ในพลาสติกรีไซเคิล - Forbes Thailand

เศรษฐกิจหมุนเวียน ในพลาสติกรีไซเคิล

FORBES THAILAND / ADMIN
07 Oct 2019 | 09:30 AM
READ 17731

แนวคิดหลักของ เศรษฐกิจหมุนเวียน คือ การจำกัดของเสียและมลพิษ ใช้วัสดุสิ่งของที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และนำสิ่งที่เหลือใช้กลับเข้าสู่ระบบอีกครั้ง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมูลนิธิเอลเลน แมคอาเธอร์

ยิ่งผู้คนเข้าใจความหมายของ เศรษฐกิจหมุนเวียน มากขึ้นเท่าไร ยิ่งสามารถลดการใช้ทรัพยากรได้อย่างง่ายดายมากขึ้นเท่านั้น เราลองมาพิจารณาข้อเท็จจริงนี้ไปพร้อมๆ กัน

ทุกวันนี้โลกไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับของเสีย มีเพียงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เท่านั้น ผู้คนเพียงน้อยน้อยนิดเท่านั้นที่ตระหนักและตื่นตัวในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ต้องหันมาเอาจริงเอาจังกันมากขึ้นกว่านี้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นปัญหาของใครเพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น เรายังสนใจเพียงแค่การจัดการสิ่งของหลังจากถูกทิ้งเท่านั้น แทนที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้าด้วย

เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนมุ่งลดผลกระทบของสิ่งต่างๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เราต้องหันมาพิจารณาภาพรวม ทั้งการใช้พลังงานน้ำและก๊าซเรือนกระจกที่เป็นผลจากกระบวนการผลิตและการรีไซเคิลสิ่งเหล่านั้น อุตสาหกรรมหนึ่งที่สามารถมีส่วนอย่างมากในการเติมเต็ม เศรษฐกิจหมุนเวียน ให้สมบูรณ์แบบ แต่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ร้าย คือพลาสติกเราสามารถเรียนรู้ว่าพลาสติกเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียนได้

พลาสติกอยู่คู่กับชีวิตของผู้คนมาอย่างยาวนาน ความจริงแล้วพลาสติกชนิดแรกที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นตั้งแต่ปี ..1869 คือเซลลูลอยด์" ซึ่งถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ผลิตลูกบิลเลียดไปจนกระทั่งฟิล์ม 35 มม. ที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ฮอลลีวูด แต่คนทั่วไปไม่สามารถจำแนกชนิดของพลาสติกได้ชัด ซึ่งชี้ว่าผู้คนยังขาดความรู้เกี่ยวกับพลาสติกอยู่มาก

อันดับแรก เราต้องเข้าใจว่าเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนหมายรวมถึงการลดปริมาณของเสียต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้มลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนฟุตพริ้นต์อันก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้น ก๊าซเรือนกระจกทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกจากชั้นบรรยากาศของโลกได้

ในปี .. 2018 กระทรวงสิ่งแวดล้อมและอาหารของประเทศเดนมาร์กได้สนับสนุนงานวิจัยของคาร์ฟูร์และองค์กรต่างๆ ว่า ถุงช็อปปิ้งที่ทำจากพลาสติกก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับตัวเลือกอื่นๆ อย่างถุงกระดาษหรือถุงผ้า ซึ่งต้องใช้พลังงานและน้ำในการผลิตมากกว่า

ภาพโดย Hans Braxmeier, Pixabay

พลาสติกโดยรวมใช้น้ำมันดิบประมาณร้อยละ 8 ของน้ำมันดิบทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งพลาสติก PET เพียงชนิดเดียวใช้ปริมาณน้ำมันดิบน้อยกว่าร้อยละ 1 เท่านั้น ในขณะที่น้ำมันเบนซินและเชื้อเพลิงพาหนะอื่นๆ ใช้น้ำมันดิบมากถึงร้อยละ 50 ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์คาดการณ์ว่า รถยนต์สมัยใหม่มีส่วนประกอบของพลาสติกมากถึงร้อยละ 50 โดยปริมาณ แต่คิดเป็นร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก นั่นหมายความว่า พลาสติกเผาผลาญปริมาณน้ำมันดิบเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับคุณสมบัติที่ช่วยให้พาหนะประหยัดเชื้อเพลิงได้

นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์พลาสติกยังมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าของที่ผลิตจากวัสดุอื่นเกือบ 4 เท่า การทดแทนพลาสติกด้วยวัสดุอื่นอาจทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 139-533 พันล้านเหรียญต่อปี

วัสดุที่ย่อยสลายได้ก็เป็นสิ่งทดแทนอีกทางเลือก แต่น้อยคนนักจะตระหนักว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้สามารถย่อยสลายได้ดีในอุณหภูมิ 45-50 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่หากนำไปฝังกลบอย่างที่ทำกันอยู่ ขยะเหล่านี้จะย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศ ซึ่งจะปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศโลก

การผลิตพลาสติกใช้พลังงาน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าการผลิตด้วยวัสดุดั้งเดิม บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกยังช่วยรักษาความสดของอาหารระหว่างขนส่ง และช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้ เมื่อปริมาณอาหารเน่าเสียที่ต้องนำไปทิ้งลดลง ปริมาณก๊าซมีเทนก็ลดลงไปด้วย

การรีไซเคิลพลาสติกเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ..1972 จนกระทั่งทุกวันนี้ พลาสติกที่ถูกนำไปรีไซเคิลมากที่สุดในโลก ได้แก่ Polyethylene Terephthalate หรือเรียกอย่างย่อว่า PET ซึ่งสามารถนำไปผลิตเสื้อผ้า ขวดน้ำที่เหลือจากการบริโภคแล้วจึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นเส้นใยได้ด้วย ความจริงแล้ว อินโดรามา เวนเจอร์ส เป็นผู้ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลเพียงรายเดียวในประเทศไทยที่สามารถผลิตเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล และมีความพร้อมที่จะเติมเต็มเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนในประเทศไทยให้สมบูรณ์แบบ

ธุรกิจสตาร์ทอัพรุ่นใหม่เชื่อว่ากระบวนการรีไซเคิลเชิงเคมีที่พวกเขากำลังร่วมกันพัฒนานั้น จะสามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมรีไซเคิลในอนาคต สำหรับการรีไซเคิลเชิงเคมีนี้ พลาสติก PET ที่ใช้งานแล้วจะถูกนำมาย่อยในระดับโมเลกุล จนสามารถนำไปผลิตเป็นพลาสติก PET ใหม่ได้ ซึ่งอินโดรามา เวนเจอร์ส ได้สนับสนุนเงินทุนให้แก่สตาร์ทอัพ 2 ราย ได้แก่ Ioniqa ในทวีปยุโรป และ Loop Industries ในทวีปอเมริกาเหนือ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว

 

อุปสรรคของพลาสติกในเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน

แม้จะมีการเก็บพลาสติกใช้งานแล้วมาใช้ประโยชน์ต่ออย่างแพร่หลาย แต่ปริมาณที่เก็บได้นั้นก็ยังไม่เพียงพอ ในทวีปยุโรป อัตราการเก็บพลาสติก PET เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 58 ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 90 ภายในปี ..2029 แบรนด์ใหญ่ๆ ต่างตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลในการผลิตขวดให้มากขึ้นเป็นร้อยละ 50 ภายในปี ..2030 นั่นหมายถึงต้องเก็บวัสดุรีไซเคิลให้ได้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีก 7 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณที่เก็บได้ทั่วทั้งยุโรปในปัจจุบัน

นอกจากนี้ พลาสติกที่เก็บได้นั้นไม่ได้ถูกนำไปรีไซเคิลทั้งหมด ร้อยละ 70 ของพลาสติกทั้งหมดที่ถูกเก็บได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา และร้อยละ 30 ในยุโรปถูกนำไปฝังกลบ ขณะที่ทั่วโลกมีพลาสติกเพียงร้อยละ 14 เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล

ประเทศไทยมีผู้ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลพลาสติก PET ขนาดกลางและใหญ่ทั้งสิ้น 25 ราย สามารถรีไซเคิลได้ 337,000 เมตริกตันต่อปี สำหรับปี ..2019 อัตราการเก็บขวดพลาสติก PET ใช้แล้วในยุโรปคิดเป็นร้อยละ 60 ในขณะที่ประเทศไทยสามารถเก็บได้ถึงร้อยละ 82 แต่ปริมาณขวดพลาสติกยังไม่เพียงต่อต่อความต้องการที่ 399,000 เมตริกตัน

สิ่งสำคัญที่สามารถเติมเต็มเศรษฐกิจหมุนเวียนของอุตสาหกรรมพลาสติก PET ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือการใช้ขวดพลาสติกที่ผลิตมาจากพลาสติก PET รีไซเคิล (Recycled PET หรือ rPET) ซึ่งหากใช้ rPET อย่างต่อเนื่องจะสามารถลดการใช้น้ำมันดิบได้ แต่การใช้ rPET ในประเทศไทยยังไม่ได้การรับรองตามกฎหมาย

คนทั่วไปยังไม่ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการขยะและของเสียในระดับบุคคลมากนัก โดยภาคเอกชนเองก็ร่วมกันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการรีไซเคิล เช่น อินโดรามา เวนเจอร์ส เดินสายไปยังโรงเรียน มหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆ เพื่อให้ความรู้ในการแยกขยะ และทิ้งในถังขยะที่ถูกต้อง อีกทั้งได้จัดการประกวดออกแบบแฟชั่นโครงการ “RECO Young Designer Competition” อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ..2012 เพื่อสร้างการรับรู้ว่าเส้นใยรีไซเคิลจากขวดเหลือใช้ก็สามารถนำมาผลิตเสื้อผ้าได้อย่างสร้างสรรค์

ประเทศไทยยังคงมีความหวังต่อการหมุนเวียนของพลาสติก PET ด้วยช่องโหว่ในการจัดเก็บและแยกขยะพลาสติกค่อยๆ ได้รับการแก้ไข ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม และผู้รวบรวมขยะรีไซเคิลได้ร่วมกันดำเนินการส่งขวดพลาสติก PET และขยะพลาสติกอื่นๆ ไปยังผู้ประกอบธุรกิจรีไซเคิล อีกทั้งมีการจัดสัมมนาและให้ความรู้ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปแยกขยะอย่างถูกต้อง ผู้ประกอบธุรกิจรีไซเคิลก็มีความพร้อมและหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อดำเนินการไซเคิลพลาสติกได้อย่างเต็มรูปแบบ

 

Richard Jones

รองประธานอาวุโส และหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร ความยั่งยืนและทรัพยากรบุคคล

บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส


คลิกเพื่อติดตามบทความทางด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ ได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับตุลาคม 2562 ในรูปแบบ e-Magazine