การกำหนดกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในยุค “Big Data” ได้เข้ามาท้าทายภาคธุรกิจให้ต้องปรับตัวหรือต้องทรานส์ฟอร์มเข้ายุคเศรษฐกิจ 4.0 องค์กรทั้งหลายจึงต้องเตรียมสร้างกลุ่มบุคลากรที่เรียกว่า “Citizen Data Scientist” เพื่อเข้ามาช่วยองค์กรรับมือกับความท้าทายในยามที่ Data Scientist มืออาชีพ หายากยิ่งกว่าทองในปัจจุบัน
บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาด้านไอทีการ์ทเนอร์ (Gartner) ให้นิยามของ Citizen Data Scientist ไว้ว่า “กลุ่มบุคคลที่ค้นพบข้อมูล และทำให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ผ่านแบบจำาลองที่ใช้การวิเคราะห์ วินิจฉัย หรือมีความสามารถในการคาดการณ์ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ซึ่ง Citizen Data Scientist จะมีบทบาทควบคู่ไปกับ Data Scientist ที่มีความเชี่ยวชาญขั้นสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล”
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาและยกระดับบุคลากรดิจิทัลในยุคดิสรัปชั่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) นอกจากองค์กรต้องปรับเปลี่ยนแนวทาง วิธีคิดในการทำงานแล้วกุญแจสำคัญที่จะนำพาองค์กรก้าวสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล คือการพัฒนาหรือการเฟ้นหาบุคลากรทางด้าน “ดิจิทัล” ที่ผ่านมาหลายองค์กรมองว่าการสรรหาบุคลากรดิจิทัลต้องมาจากบุคลากรใหม่หรือต้องเป็นตำแหน่ง Data Scientist เท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงบุคลากรดิจิทัลที่เหมาะสมที่สุดในการวิเคราะห์ข้อมูล ควรเป็นบุคลากรที่มีอยู่เดิมซึ่งคือผู้ที่เข้าใจธุรกิจขององค์กรอย่างถ่องแท้บุคลากรที่เป็นทรัพยากรอันล้ำค่าเหล่านี้ เมื่อได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัลอย่างถูกทางก็จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรได้เป็นอย่างดี เราเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า Citizen Data Scientist
องค์กรที่ต้องการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล แต่ขาดแคลน Data Scientist มืออาชีพสามารถวางแผนสร้าง Citizen Data Scientist ให้เรียนรู้การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลหรือ Big Data โดยอาศัยวิธีการ 4 ขั้นตอน เริ่มจาก
1. Foundational เป็นการตั้งคำถาม หรือถามคำถามที่ถูกต้องสมเหตุสมผล เพื่อให้พนักงานสามารถให้ข้อมูลได้ตรงมากที่สุด
2. Approaching วิธีในการค้นหาคำาตอบที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ แสดงแนวคิดในการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยการนำดิจิทัลมาใช้โดยการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยหาคำตอบที่ต้องใช้เวลามาก แทนการทำางานของคน
3. Aspirational เริ่มทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อลดขั้นตอนและเวลาในการทำงาน อีกทั้งยังช่วยให้ทำงานได้ตรงตามเป้าหมายมากขึ้น
4. Mature เมื่อทีมงานดังกล่าวทำงานสำเร็จ องค์กรก็สามารถนำาแนวคิดใหม่ๆมาช่วยในการทำงาน เพื่อทำให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมขององค์กรดีขึ้น
Citizen Data Scientist จะเป็นที่ต้องการขององค์กรธุรกิจยุคดิจิทัลมากกว่าตำแหน่ง Data Scientist มืออาชีพ ถึง 500% และจะมาช่วยลดช่องว่างระหว่างการวิเคราะห์อัตโนมัติจากเทคโนโลยี Big Data และการวิเคราะห์ที่ผ่านการนำาเสนอรูปแบบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เข้าใจง่าย ใช้งานไม่ยาก
บุคคลสองกลุ่มนี้ไม่ได้ทำหน้าที่แทนซึ่งกันและกัน Citizen Data Scientist นั้นไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ขั้นสูง แต่สามารถนำความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และทักษะจากการทำงาน หรือจากประสบการณ์การทำงานมาใช้เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำาหรับธุรกิจในยุคที่ Big Data ทวีความสำคัญได้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญอีกประการที่จะเอื้อต่อการทำางานและช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มพลเมืองใหม่ในยุคดิจิทัลก็คือ ดิจิทัลเวิร์กเพลส (Digital Workplace) หรือการปรับปรุงรูปแบบการทำางานภายในองค์กรให้เป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น การดึงข้อมูลที่เกิดจากดิจิทัลเวิร์กเพลสมาใช้คือหัวใจสำคัญในการทำงานของ Citizen Data Scientist เพราะเมื่อองค์กรเก็บข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ควรมีหน่วยงาน Big Data & Analytics หรือทีม Citizen Data Scientist ทำหน้าที่วิเคราะห์ และพัฒนาธุรกิจ รวมถึงมีหน้าที่กำหนด ควบคุม และทำให้มั่นใจว่าองค์กรจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดดิจิทัลเวิร์กเพลสได้ ก็คือการทำงานร่วมกันภายในองค์กรมากขึ้น (collaboration) เช่นเดียวกับที่ต้องรู้ว่าบุคลากรใดเหมาะสมกับการทำงานรูปแบบใด (visibility) และเขาเหล่านั้นจะช่วยให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร
ทั้งนี้ การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการทำงานเพื่อปรับองค์กรสู่การเป็นดิจิทัลเวิร์กเพลสเต็มรูปแบบนั้น ประกอบไปด้วยเครื่องมือ 10 ด้าน ได้แก่
1. สร้างแหล่งศึกษาความรู้ (Ambient Knowledge) เนื่องจากทุกคนมีความต้องการที่จะเรียนรู้เฉพาะเรื่องเพื่อนำไปแก้ปัญหาในการทำงาน การจัดคอร์สเทรนนิ่งภายในองค์กร จะช่วยสร้างให้เกิดศูนย์กลางความรู้ขึ้นได้
2. เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ (Embedded Analytics) เพื่อช่วยให้องค์กรหรือบุคลากรตัดสินใจง่ายขึ้น การจัดทำรายงานต่างๆ จะทำให้มีการนำข้อมูลจากการทำงานนั้นมาวิเคราะห์และแสดงผล โดยมีการบันทึกลงในโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่ช่วยวิเคราะห์ ก่อนนำข้อมูลนั้นไปใช้งาน
3. เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน (Production Studio) เช่นการจัดเตรียมเครื่องมือสำาหรับนักพัฒนาให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ และจัดพื้นที่สำหรับการนำเสนอข้อมูลการประชุมต่างๆ เพื่ออำานวยความสะดวกในการทำงาน
4. เครื่องมือช่วยลดระยะเวลาทำงานลดขั้นตอนการทำงาน (Process Hacking) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพของบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพในความถูกต้องและแม่นยำ เช่น ใช้เครื่องมืออัตโนมัติมาช่วยตรวจสอบคุณภาพของสินค้า และโปรแกรมตรวจคำผิด
5. คอร์สระยะสั้น (Micro Learning) เพื่อเสริมศักยภาพของบุคลากรและสร้างความรู้ใหม่ๆ การจัดคอร์สที่ให้ความรู้ที่มีหัวข้อหลากหลาย เพื่อให้บุคลากรที่สนใจสามารถเข้ามาเลือกที่จะเรียนรู้ได้ โดยจะเน้นเป็นคอร์สระยะสั้น ภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง
6. ปรับภูมิทัศน์องค์กร (Office Landscape) ปัจจุบันพนักงานทำางานผ่านโน้ตบุ๊กผ่านเครื่องมือการสื่อสารดิจิทัล จึงควรมีการปรับภูมิทัศน์สถานที่ทำางานที่เอื้ออำานวยต่อการก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และสร้างบรรยากาศการทำางานที่สามารถตอบสนองการทำงานร่วมกันให้ได้มากที่สุด
7. สร้างให้เกิดการทำงานร่วมกัน(Silo-buster) ด้วยการนำาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแสดงให้เห็นความชัดเจนในการทำงาน (Visibility) ให้ทุกคนสามารถแสดงผลงานของตัวเองได้เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในผลสำเร็จของงานที่ทำ โดยการสร้างพื้นที่หรือแพลตฟอร์มในการพูดคุย ลงรายละเอียดงานต่างๆ ให้แก่สมาชิกทุกคนในองค์กร
8. การนำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) & Augmented Reality (AR) มาใช้ (Immersive Technologies) ด้วยการนำอุปกรณ์เหล่านี้มาช่วยในการฝึกสอน เช่น การนำ VR มาสอนวิธีใช้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งสามารถทำาให้เราได้เห็นมุมมองเสมือนจริง
9. สร้างพื้นที่เก็บข้อมูลส่วนตัวบนคลาวด์ (Personal Cloud) เพราะปัจจุบันการทำงานไม่จำเป็นต้องทำผ่านโน้ตบุ๊กเครื่องเดียวอีกต่อไป แต่สามารถเก็บข้อมูลไว้บนคลาวด์เพื่อเรียกใช้งานจากอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับรูปแบบของงาน
10. การมีผู้ช่วยเสมือน (Virtual Personal Assistants) อย่างแชทบอทหรือเทคโนโลยีขั้นสูงที่เข้ามาช่วยตอบคำาถามเบื้องต้น หรือใช้ในการแนะนำาฝ่ายที่เหมาะสมเพื่อที่จะเข้าไปพูดคุยได้ต่อไป
ปัจจุบันหลายองค์กรได้ทรานส์ฟอร์มกันในระดับหนึ่งแล้ว โดยเห็นได้จากการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น เช่น การลงทุนนำระบบคลาวด์มาใช้งานรูปแบบการสื่อสารยุคใหม่ภายในองค์กรผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้การทำางานไม่ได้ยึดติดอยู่บนคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พนักงานสามารถทำางานจากที่ใดก็ได้ การนำข้อมูลเก็บไว้บนคลาวด์ช่วยทำให้พนักงานไม่ต้องเข้าไปดึงข้อมูลในระบบ
สำหรับโลกดิจิทัลในอนาคตนั้น Big Data จะยังคงอยู่ต่อไป และจะเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก้าวต่อไปขององค์กรในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล คือการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มคนดิจิทัล ให้มีความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงรูปแบบธุรกิจเพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือเพื่อกำาหนดโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ตามรูปแบบกลยุทธ์การแข่งขันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
โดย สุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล