ระบบดูแลสุขภาพที่สามารถรับมือกับอนาคตได้ไกลกว่าการระบาดของโควิด-19 - Forbes Thailand

ระบบดูแลสุขภาพที่สามารถรับมือกับอนาคตได้ไกลกว่าการระบาดของโควิด-19

FORBES THAILAND / ADMIN
24 Jul 2022 | 08:00 PM
READ 5980

หนึ่งในวิกฤตด้านการดูแลสุขภาพครั้งใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เราเคยเผชิญอย่างการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้ส่งสัญญาณเตือนถึงความสำคัญของความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพทั่วโลก

เราได้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบการดูแลสุขภาพซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่แทบทุกระลอก โดยในระหว่างการล็อกดาวน์เราพบว่ามีผู้ป่วยทั่วโลกจำนวนมากที่ถูกละเลยจากกลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งมีภาระหนักเกินกว่าศักยภาพที่จะรับไหว นอกจากนี้ ต้นทุนทางการเงินมูลค่ามหาศาลจากการระบาดใหญ่ที่คาดว่าจะสูงถึง 13.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2567 ยังหมายถึงการหดตัวของงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลที่จะเป็นผลตามมา เนื่องจากหลายประเทศจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของการใช้จ่าย โดยคาดว่าจะมีการปรับลดงบประมาณใน 83 จาก 189 ประเทศภายในปี 2566 ซึ่งอาจมีการหยุดชะงักหรือเกิดการไหลกลับของเงินทุนสู่ภาคเฮลธ์แคร์ในอนาคตอันใกล้ ขณะที่หลายประเทศเริ่มอาศัยอยู่กับโควิด-19 ในฐานะโรคประจำถิ่นนั้น ยังคงมีความกังวลว่าระบบสุขภาพที่มีนั้นพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายเดิมและความท้าทายใหม่ในอนาคตได้หรือไม่ สำหรับประเทศไทย ซึ่งตั้งเป้าหมายประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปี 2565 นำไปสู่การตั้งคำถามว่า ความท้าทายที่สะสมมายาวนานเรื่องความต้องการด้านการรักษาพยาบาลที่ล้นหลาม ซึ่งเกิดจากภาวะสังคมผู้สูงอายุและการเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ในประเทศไทย (non-communicable diseases) เช่น โรคเบาหวาน มะเร็ง หลอดเลือดสมองและหัวใจ ฯลฯ นั้นควรถูกจัดลำดับความสำคัญใหม่ควบคู่กันไปหรือไม่? เห็นได้จากช่วงที่การติดเชื้อเพิ่มสูงที่สุดการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แทบจะทำให้ประเทศไทยขาดแคลนทรัพยากรด้านการดูแลผู้ป่วยวิกฤต กรณีที่เกิดขึ้นทำให้เราสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง? เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถรองรับผลกระทบของความท้าทายถัดไปที่จะผ่านเข้ามา ระบบการดูแลสุขภาพจะยั่งยืนได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาตามที่ต้องการได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ที่ผ่านมาระบบการดูแลสุขภาพทั่วโลกให้น้ำหนักกับการดูแลในโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก โรงพยาบาลจึงเป็นหัวใจสำคัญของระบบการดูแลสุขภาพในทุกประเทศ แต่จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อโรงพยาบาลไม่สามารถรับมือกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการล้นหลามด้านการรักษาพยาบาลได้? การดูแลผู้ป่วยไม่ได้จบลงเมื่อพวกเขาก้าวเท้าออกจากโรงพยาบาลเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาแบบสม่ำเสมอต่อเนื่อง โควิด-19 ได้แสดงให้เห็นความจำเป็นที่แท้จริงในการติดต่อกับผู้ป่วยนอกสถานพยาบาลให้ได้ตลอดเส้นทางการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนมีแนวการรักษาที่ยั่งยืนคอยสนับสนุนอยู่ หนึ่งในทางแก้ไขที่เป็นนวัตกรรมโซลูชันเพื่อเดินตามแนวคิดนี้คือ การแนะนำโครงการสนับสนุนผู้ป่วย (Patient Support Programs) ซึ่งออกแบบมาเพื่อรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการดูแลสุขภาพจากหลายฝ่าย ให้มีส่วนร่วมสนับสนุนผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงและปฏิบัติตามแนวทางการรักษาอย่างต่อเนื่อง โปรแกรมการสนับสนุนผู้ป่วยมักต้องมีองค์ประกอบสำคัญในการติดตามผลการรักษา แม้ว่าผู้ป่วยจะออกจากโรงพยาบาลหรือคลินิกไปแล้วก็ตาม สิ่งนี้จะนำไปสู่รอบการรักษาที่ยาวนานขึ้น เพิ่มผลลัพธ์ด้านสุขภาพได้ดีที่สุด เนื่องจากแผนการรักษาทั้งหลายจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยปฏิบัติตามแนวทางได้อย่างสมบูรณ์และไม่ถูกละเลยหรือปล่อยทิ้งไปกลางคัน จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมของเรามีระยะเวลาเข้ารับการรักษาที่นานกว่าผู้ป่วยที่ใส่ใจรับการรักษาอย่างครบถ้วนอยู่แล้ว ผลการศึกษานี้เน้นถึงความสำคัญของการติดตามผู้ป่วยอย่างเหมาะสมในช่วงหลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไป เพื่อให้ยังคงส่งมอบการรักษาที่มีคุณภาพได้ต่อเนื่อง ทำให้เราสามารถติดตามผู้ป่วยที่ลงทะเบียนได้แบบ 100% เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนยังคงได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอแม้จะอยู่ในภาวะล็อกดาวน์  

- ความยั่งยืนทางการเงินเพื่อการรักษา -

Axios International โครงการช่วยเหลือผู้ป่วย Patient Support Programs ของเรามีความเกี่ยวข้องกับ 2 เสาหลักเรื่องความยั่งยืน นั่นคือ ความยั่งยืนด้านการรักษาและด้านการเงิน ทั้งสองสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ป่วยสามารถรักษาต่อไปได้นานเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด โดยที่ยังเปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆ สามารถดำเนินการทางการเงินเพื่อสนับสนุนโซลูชันในระดับที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทยผู้ป่วยจำนวนมากยังคงต้องเสียค่ารักษาเฉพาะทางสำหรับโรคเรื้อรังด้วยตัวเอง ทำให้เกิดแรงกดดันให้ต้องตัดสินใจอย่างยากลำบาก บางส่วนต้องเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของความจำเป็น ต้องละเลยสุขภาพเพื่อส่งเสียเลี้ยงดูครอบครัว อย่างไรก็ตาม การจัดการปัญหานี้ไม่สามารถแก้ด้วยวิธีการง่ายดายอย่างการลดราคาค่ารักษา เพราะในท้ายที่สุดผู้ป่วยก็จะยังคงหยุดการรักษาในระยะยาวเมื่อเงินส่วนตัวหมดลง ซึ่งทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมที่สุดอยู่ดี ดังนั้น ชุดเครื่องมือและชุดทดสอบทางวิทยาศาสตร์ เช่น Patient Financial Eligibility Tool (PFET) และ Patient Needs Assessment Test (PNAT) จึงเป็นวิธีการที่ได้รับการตรวจสอบและพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจได้เข้าใจสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย โซลูชันดิจิทัลจะเพิ่มเลเยอร์การทำงานที่สำคัญอีกชั้นหนึ่งในการยกระดับโปรแกรมการสนับสนุนผู้ป่วย ด้วยบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน รวมถึงการยึดมั่นปฏิบัติตามการรักษาที่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ การที่เราอยู่ในยุคดิจิทัลเราจึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้บริการผู้ป่วยของเราได้ดียิ่งขึ้น โดยการเชื่อมโยงผู้ป่วย แพทย์ เภสัชกร ผู้ให้การสนับสนุนโครงการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ไว้ในระบบนิเวศเดียวกัน เพื่ออุดช่องว่างในการเข้าถึงระหว่างตัวผู้ป่วยและการรักษา ชุดโซลูชันดิจิทัล “Axios +” ของเรามุ่งช่วยให้เกิดการสื่อสารและติดตามผลอย่างต่อเนื่องตลอดวงจรการรักษาของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยยังสามารถรับการสนับสนุนจากชุมชนผู้ป่วยคนอื่นๆ ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อกังวล ทำให้มั่นใจได้ว่าพวกเขาจะได้รับการสนับสนุนอย่างดีตลอดเส้นทางการรักษา บทเรียนทั้งหมดจากการสร้างโซลูชันการเข้าถึงที่ยั่งยืน สามารถนำไปใช้กับระบบการดูแลสุขภาพของประเทศไทย ซึ่งคำตอบอยู่ในความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายใดที่สามารถให้บริการผู้ป่วยในชุมชนขนาดใหญ่ได้ตามลำพัง แม้ในบริบทของโควิด-19 ความสำเร็จที่ใหญ่ที่สุดของการรับมือกับการระบาดใหญ่ก็มาจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ขับเคลื่อนโครงการฉีดวัคซีนและการรักษาทั่วประเทศ ความยั่งยืนจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าระบบการดูแลสุขภาพจะสามารถรับมือกับความท้าทายครั้งต่อไปได้ราบรื่น และภาคส่วนการดูแลสุขภาพของประเทศไทยจะต้องเตรียมการแบบองค์รวมเพื่อให้แน่ใจว่าเรามีทรัพยากรครบทั้งหมดเพื่อจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ   Dr.Joseph Saba ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Axios International   อ่านเพิ่มเติม:
คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนมิถุนายน 2565 ในรูปแบบ e-magazine