ปี 2022 จับตาราคา "แร่ลิเธียม" - Forbes Thailand

ปี 2022 จับตาราคา "แร่ลิเธียม"

FORBES THAILAND / ADMIN
16 Dec 2021 | 03:29 PM
READ 5009

ปี 2022 นักวิเคราะห์ และ นักเศรษฐศาสตร์หลายๆ ท่านมีความเห็นตรงกันว่า อัตราเงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้น และจะเริ่มชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2022 แต่สิ่งที่น่าจับตาอีกกว่าคือราคา "แร่ลิเธียม"

ปี 2022 นักวิเคราะห์ และ นักเศรษฐศาสตร์หลายๆ ท่านมีความเห็นตรงกันว่า อัตราเงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้น และจะเริ่มชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2022 ภายหลังปัญหา Supply Chain คลี่คลาย และภาวะ Pent up Demand น่าจะกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น ประกอบกับผลจากฐานคำนวณเงินเฟ้อที่สูงในช่วงครึ่งปี 2021 ทำให้คาดว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวมน่าจะเริ่มเข้าสู่การปรับฐานราคาเช่นกัน อย่างไรก็ดี เรายังเฝ้าจับตาราคาของแร่ Lithium (แร่ลิเธียม) จะปรับลดลงหรือไม่ หลังจากปี 2021 ราคา Lithium ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 240 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับ น้ำมันดิบ WTI +36.4% (ข้อมูลถึง 30 พ.ย. 2021) ในขณะที่การเทรด Lithium ยังจำกัด เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการซื้อขายในตลาด Future สำหรับปัจจัยหนุนราคา Lithium ในปี 2021 สรุปได้ ดังนี้ 1.การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ระหว่างปี 2016 - 2020 รถไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ยต่อปี 297 เปอร์เซ็นต์  หรือจาก ประมาณ 750,000 คัน เป็น 2.9 ล้าน ณ สิ้นปี 2020 2.ราคาแบตเตอรี่ที่ปรับลดลง ทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าปรับลงและเริ่มแข่งขันได้กับรถยนต์สันดาป นับจากปี 2013 ราคาแบตเตอรี่ลดลงร้อยละ 80 3.โรงงานผลิตแบตเตอรี่มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น โดยข้อมูล ณ เดือน มี.ค. 2021 โรงงานผลิตแบตเตอรี่ มีอยู่ทั้งหมด 122 แห่งทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 200 แห่ง ในปี 2030 ในขณะที่ภาคอุปทานกลับมีปัญหา จากผลของราคา Lithium ที่ตกต่ำต่อเนื่องระหว่างปี 2018-2020 ทำให้ไม่ได้เกิดการลงทุนใหม่ๆ อีกทั้งการสกัด Lithium ต้องใช้เวลาและเงินทุนมหาศาล รวมถึงผู้ผลิต Lithium ยังต้องเผชิญปัญหาการต่อต้านด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แผนภาพที่ 1: ดัชนี Lithium Index จากปี 2009 - ปัจจุบัน (Rebase to 100) ที่มา: Bloomberg data as of 14 Dec 2021 หากพิจารณาในช่วงปี 2015-2017 ราคา Lithium เคยปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ผู้ผลิตขยายกำลังการผลิต เป็นเหตุให้ราคา Lithium ปรับลดลง ดังนั้น นักวิเคราะห์หลายท่านจึงเชื่อว่าการเร่งตัวขึ้นของราคาปัจจุบัน อาจจะซ้ำรอยอดีตได้ สอดคล้องกับนักวิเคราะห์บางท่านเชื่อว่าภาวะขาดแคลนอาจจะเกิดขึ้นเพียงปี 2021-2022 เท่านั้น เนื่องจากในปี 2021 พบว่ามีเม็ดเงินมหาศาลเข้าลงทุนเพื่อผลิต Lithium อย่างไรก็ดี หากมองแค่เพียงปี 2022 ย่อมเป็นไปได้ที่ราคาอาจจะชะลอลงบ้างจากฐานที่สูง และการลงทุนผลิตใหม่ในปี 2022 แต่หากพิจารณาก็ยังมีความเป็นไปได้ว่าราคาอาจจะสามารถยืนสูงต่อไปได้ โดยปี 2022 ปัจจัยแวดล้อมความต้องการ Lithium ไม่ได้เหมือนกับช่วงปี 2018 ความต้องการ Lithium จะยังคงอยู่สูง แน่นอนว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าจะยังคงเติบโตได้ดีต่อเนื่อง ปลายปี 2021 โรงงานผลิตรถยนต์ Tesla ในยุโรปเริ่มผลิตรถยนต์และกำลังขยายโรงงานในจีน  ยังไม่รวมรถยนต์ไฟฟ้าจากบริษัทจีนอีกไม่ต่ำกว่า 5 บริษัท (BYD, Li Auto, Xpeng, NIO, GWM) ที่กำลังเพิ่มกำลังการผลิต ในขณะที่ค่ายรถยนต์รายใหญ่กลุ่มสันดาปต่างล้วนปรับตัวเพื่อลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้าทั้งสิ้น นอกจากนี้ บริษัท Apple ซึ่งอยู่ในธุรกิจเทคโนโลยีก็พร้อมที่จะลงสนามรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน อีกทั้งนโยบายด้าน Clean Energy ที่มีบทบาทมากขึ้นในสหรัฐฯ ยุโรป และ จีน ซึ่งนอกจากสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องมีการจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage) ซึ่งต้องใช้แบตเตอรี่เช่นกัน แผนภาพที่ 2: Global Passenger EV Sales Outlook by Market ที่มา: BloombergNEF June 2021 สำหรับราคา Lithium ไม่ว่าจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือจะเริ่มเข้าสู่การปรับฐาน แต่น่าจะเป็นที่ชัดเจนว่าความต้องการใช้ Lithium จะยังคงสูงต่อไปอีกระยะ ดังนั้น การลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องย่อมสร้างโอกาสในการเติบโต และ กระจายความเสี่ยงของพอร์ตกองทุนในระยะกลาง-ยาว ได้เช่นกัน อ้างอิงข้อมูลจาก: WallStreet Journal, BloombergNEF, VisualCapitalist บทความโดย กันติพัฒน์ วงศ์สุคนธ์ Head of Wealth  Advisory บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine