ธุรกิจยานยนต์ vs โครงสร้างภาษีใหม่ - Forbes Thailand

ธุรกิจยานยนต์ vs โครงสร้างภาษีใหม่

FORBES THAILAND / ADMIN
17 May 2016 | 02:33 PM
READ 5640
ภาวะโลกร้อนและมลพิษในสภาพแวดล้อมรอบตัว นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น หลายประเทศให้ความสำคัญและกำหนดนโยบายและมาตรการสนับสนุนต่างๆ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นรวมถึงประเทศไทยเองก็พยายามผลักดันนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อนและส่งเสริมการประหยัดพลังงาน หนึ่งในนโยบายจากภาครัฐที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ คือนโยบายการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2559 ทำไมต้องปรับ? การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี 2) สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี และการใช้พลังงานทดแทน โดยเครื่องยนต์ที่ประหยัดพลังงานควรได้รับแรงจูงใจด้านภาษี 3) สนับสนุนการใช้รถยนต์ที่มีความปลอดภัยสูง 4) สนับสนุนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เช่น ภาวะโลกร้อน และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการคิดอัตราภาษีแบ่งตามประเภทรถยนต์ 8 ประเภท (ดูตารางเปรียบเทียบโครงสร้างภาษีปัจจุบันกับโครงสร้างภาษีที่ครม.มีมติเห็นชอบ) ผลกระทบต่อผู้บริโภค จากเดิมการคำนวณภาษีสรรพสามิตจะคิดตามความจุกระบอกสูบ หรือขนาดเครื่องยนต์ (cc) และประเภทเชื้อเพลิง เช่น เบนซิน ดีเซล E20 หรือ E85 แต่การปรับ 1 มกราคม 2559 จะเพิ่มการพิจารณาปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) เข้ามาด้วย ส่งผลให้รถยนต์บางประเภทต้องปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิม และส่งผลต่อเนื่องไปยังราคารถยนต์ที่อาจปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้ปล่อยไอเสียปริมาณต่ำ และประหยัดพลังงาน โดยคาดว่าราคารถยนต์แต่ละประเภทที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราภาษี 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. รถยนต์ eco car ถือว่าได้รับประโยชน์จากการปรับอัตราภาษีดังกล่าว เพราะฐานภาษีรถยนต์อาจจะเท่าเดิมหรือลดลง ส่วนราคาจะปรับลดลงหรือไม่ หรือลดลงเท่าใดขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรถยนต์จะประกาศราคาขายในช่วงต้นปี 2559 2. รถกระบะ (pickup) จะได้รับผลกระทบจากฐานภาษีที่เพิ่มมากขึ้น คาดว่าราคารถอาจปรับเพิ่มขึ้น 10,000-30,000 บาท 3. รถยนต์นั่ง (passenger car) รุ่นยอดนิยมนั้น อาจได้รับผลกระทบมากกว่ารถประเภทอื่นๆ จากอัตราภาษีที่ปรับเพิ่มขึ้น คาดว่าราคารถอาจปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 50,000 – 100,000 บาทขึ้นไปในบางรุ่น นอกจากนี้ ก่อนเลือกซื้อรถยนต์ประเภทใดผู้บริโภคควรต้องพิจารณาป้ายแสดงข้อมูลรถยนต์ หรือ ECO Sticker ที่แสดงข้อมูลดีลเลอร์เร่งปรับตัวรับมือภาษีสรรพสามิตใหม่เมื่อโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2559 สิ่งที่ดีลเลอร์รถยนต์ใหม่และดีลเลอร์รถยนต์มือสองต้องปรับตัว คือ 1. ควรทำความเข้าใจหลักการคิดภาษีสรรพสามิตตามประเภทของรถยนต์ ที่อาจจะส่งผลต่อการกำหนดราคาของรถยนต์แต่ละประเภท 2. ควรศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารเรื่องนวัตกรรมเครื่องยนต์และเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะและประสิทธิภาพการขับเคลื่อน เพื่อลดอัตราการปล่อยมลพิษและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าผู้ผลิตรถยนต์จะลงทุนพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และทยอยเปิดตัวรถยนต์โมเดลใหม่ๆ ออกมา เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าทดแทนปัจจัยด้านราคาที่เพิ่มขึ้น 3. การบริหารจัดการสต็อกรถยนต์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะผลจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต อาจทำให้รถยนต์ใหม่บางประเภทมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจากราคาเดิมสูง ซึ่งอาจส่งผลให้ความแตกต่างของราคารถใหม่และรถมือสองในยี่ห้อและรุ่นเดียวกันมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคที่มีงบประมาณจำกัดหันกลับมาสนใจและเลือกซื้อรถยนต์มือสองมากขึ้น เช่น รถยนต์ในกลุ่ม passenger car ที่มีราคา 1 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งอาจมีแนวโน้มว่าราคารถยนต์จะปรับสูงขึ้นมากกว่า 100,000 บาท จึงถือเป็นโอกาสสำหรับดีลเลอร์รถมือสองที่จะวางแผนการจัดการสต็อกรถให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค การปรับอัตราภาษีสรรพสามิตในครั้งนี้ส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้นส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์ใหม่ เนื่องจากการปรับอัตราภาษีสรรพามิตใหม่นี้ จะส่งผลทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคที่ต้องการซื้อรถใหม่ ทำให้ตัดสินใจซื้อเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ใหม่ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปีนี้ให้ขยับสูงขึ้น และคาดว่าจะมีกำลังซื้อต่อเนื่องไปถึงไตรมาสแรกของปีหน้า เพราะรถยนต์ใหม่ที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตภายใน 30 ธันวาคมนี้ ยังสามารถขายในราคาเดิมได้ ส่วนในระยะยาว หลังจากผู้ผลิตมีการประกาศราคารถยนต์ที่ชัดเจนแล้ว จะทำให้ผู้บริโภควางแผนการซื้อรถได้ชัดเจนมากขึ้น ตามไปด้วย นอกจากพิจารณาถึงงบประมาณลักษณะการใช้งานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการเลือกใช้รถยนต์ที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในอีกทางหนึ่งด้วย ไพโรจน์ ชื่นครุฒ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน)
คลิ๊กอ่านบทความเพื่อจุดประกายไฟฝันทางด้านธุรกิจ จาก Forbes Thailand ฉบับ APRIL 2016 ในรูปแบบ E-Magazine