ดึงศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิทัลมาใช้ให้ได้เต็มที่ ในปี 2559 ต้องเน้น 3 ประเด็นหลัก - Forbes Thailand

ดึงศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิทัลมาใช้ให้ได้เต็มที่ ในปี 2559 ต้องเน้น 3 ประเด็นหลัก

FORBES THAILAND / ADMIN
22 Jun 2016 | 01:04 PM
READ 2991
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็น “การเปลี่ยนโฉมไปสู่ดิจิทัล” หรือ “Digital Transformation” ในฐานะของวลียอดนิยมที่ผู้คนในโลกธุรกิจพูดถึงกันบ่อยครั้ง ทั้งจากปากของซีอีโอในบริษัทไปจนถึงนักวิเคราะห์ธุรกิจ ที่พยายามวิเคราะห์ถึงความท้าทายและโอกาสที่นำพามากับเทคโนโลยีดิจิทัล เริ่มจากความกังวลเรื่องการรักษาความปลอดภัยไปจนถึงความเข้าใจถึงผลกระทบจาก big data หรือข้อมูลขนาดมหึมา และเรื่องของ IoT (Internet of Things) หรือการที่อุปกรณ์ทุกสิ่งต่ออินเทอร์เน็ตได้ การเปลี่ยนโฉมสู่ดิจิทัลนอกจากจะนำสิ่งดีๆ มาให้ในหลากหลายแง่มุมแล้ว ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่เป็นหัวข้อให้ต้องถกในห้องประชุมกันต่อไป ปัจจุบันเราได้เห็นการเปลี่ยนโฉมของดิจิทัลที่ส่งผลถึงรูปแบบการทำธุรกิจและการ ดำเนินงานขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น รวมถึงประเทศไทย แนวโน้มที่ว่าก็ยังคงสร้างแรงสะเทือนอยู่ในปีนี้ เกือบจะถึงจุดที่เรียกว่าเกิดสึนามิทางด้านดิจิทัลเสียด้วยซ้ำ นอกจากเรื่องนี้ การที่ผมได้เดินทางไปพบปะลูกค้าและคู่ค้าทั่วภูมิภาค ทำให้สังเกตเห็นว่าในขณะที่ธุรกิจในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีการ เติบโตขึ้นมาก แต่หลายๆ บริษัทที่ออกเดินทางสู่โลกดิจิทัล ส่วนใหญ่ยังคงต้องดิ้นรนอย่างสุดแรงเกิดเพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่าง เต็มศักยภาพ และทำให้ดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมและการดำเนินงานในองค์กร จากการเฝ้าสังเกตการณ์ดังกล่าว ทำให้เห็นถึงสามประเด็นหลักที่ผู้นำธุรกิจควรมุ่งเน้นในปี 2559 เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากเศรษฐกิจดิจิทัล ตามรอยไปสู่การเปลี่ยนโฉมธุรกิจ การเปลี่ยนโฉมไปสู่ดิจิทัลนับเป็นความท้าทายสูงสุดของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า Change Management เนื่องจากก่อให้เกิดผลกระทบไม่ใช่แค่เรื่องสถานภาพในเชิงกลยุทธ์ แต่ยังเป็นเรื่องงานส่วนต่างๆ ที่ต้องทำ รวมถึงกิจกรรมและกระบวนการทำงานในทุกลำดับชั้นขององค์กร และยังไปไกลถึงเครือข่ายซัพพลายเชนที่ต่อขยายออกไปอีก ดังนั้นผู้นำต้องคอยตรวจตราดูความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องรวมถึงความท้าทายในการที่องค์กรต้องปรับตัวมากขึ้น พร้อมกับนำวิธีปฏิบัติเรื่องการแปลงกระบวนการต่างๆ ไปสู่ดิจิทัลมาใช้ในเวลาที่พอเหมาะพอดี เนื่องจากองค์กรไม่สามารถคงสถานภาพเดิมได้ตลอดไป ผู้นำจึงควรเข้าใจถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนพื้นฐานการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อความจำเป็นเร่งด่วนของโมเดลธุรกิจในยุคดิจิทัลแบบใหม่ให้ได้ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับธุรกิจ นอกจากนี้ต้องไม่เพิกเฉยต่อผู้ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจไปสู่โลกดิจิทัลแบบใหม่ได้สำเร็จ เราจึงเห็นว่าบางองค์กรอยากจับมือกับบรรดาองค์กรที่สร้างความมั่งคั่งได้ภายในเวลารวดเร็วในบางรายก็อาจสร้างบริการในลักษณะเดียวกัน ซึ่งบางทีอาจถูกและดีกว่าด้วยซ้ำในขณะเดียวกันก็ยังมีรายอื่นๆ กำลังคิดค้นพร้อมนำเสนอคุณค่ารูปแบบใหม่ๆ ให้กับลูกค้าด้วยตัวเองอยู่ ต้องมีผู้มีความสามารถที่เหมาะสม เทคโนโลยีดิจิทัลเริ่มแพร่หลายไปมาก และพนักงานที่มีทักษะก็จะมีข้อได้เปรียบและเป็นที่ต้องการนอกเหนือจากงานในแผนกไอทีเรียกว่าไปได้ทุกอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ฝ่ายหางานจะมองหาบุคคลเหล่านี้มาช่วยงานในส่วนฝ่ายปฏิบัติการ การตลาด และฝ่ายบริการลูกค้า นอกจากบุคคลเหล่านี้จะใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเพื่อทำงานเอกสารและส่งอีเมลแล้ว ยังเป็นผู้ที่สามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ รวมถึงโมบายล์และโซเชียลได้อย่างแคล่วคล่อง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนโฉมการทำงานไปสู่ดิจิทัล โดยทักษะที่เป็นที่ต้องการควรจะรวมถึงความเข้าใจเรื่องวิธีการนำเสนอข้อมูล ด้วยภาพ การเขียนโค้ด ศิลปะของการสร้างอินโฟกราฟฟิกที่ดี วิดีโอ การทำพรีเซนเทชั่น การออกแบบเว็บไซต์ และเชี่ยวชาญเรื่องโซเชียลมีเดียเช่นกันความสามารถพิเศษรูปแบบใหม่ๆ มากมาย ดังที่กล่าวมานั้น ปกติมักจะโดนมองข้ามเนื่องจากไม่ได้ถูกมองว่าเป็นทักษะการทำงานที่สำคัญและหาได้ยากในโปรแกรมการศึกษาในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นความจริงข้อนี้ถูกสะท้อนให้เห็นในการประเมินของ Capgemini ว่าจากปริมาณงานด้านไอทีที่เกี่ยวข้องกับโอกาสที่มากับ big data จำนวนกว่า 4.4 ล้านตำแหน่งงานที่เกิดขึ้นในปี 2558 นั้น มีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่หาคนมาทำตำแหน่งดังกล่าวได้ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศได้เขียนไว้ในรายงานเกี่ยวกับปัจจัยบ่งชี้หลักของตลาดแรง งานประจำปี 2015 Key Indicators of the Labour Market report for 2015 ไว้ว่ามีความไม่สอดคล้องกันอยู่ระหว่างบุคลากรที่มีทักษะกับตำแหน่งงานว่างที่ตรงกับความสามารถและความคาดหวัง  องค์กรจะต้องตอบโจทย์ความท้าทายนี้ ด้วยการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในองค์กรในเวลาที่ต้องก้าวเข้าไปทำโครงการดิจิทัลในปีนี้ รองรับระบบแบบอัตโนมัติได้ IoT หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งได้สร้างความตื่นเต้นให้กับภาครัฐบาล ธุรกิจ สตาร์ทอัพ และธุรกิจที่อยู่ตัวแล้วในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ตลอดช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนล้วนคาดหวังกับการเติบโตของอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นตึกอัจฉริยะทั้งหลายที่อยู่ใน Hong Kong Science Park โครงการโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในประเทศไทย และเซ็นเซอร์ระบบน้ำอัจฉริยะเพื่อการจัดการน้ำของประเทศสิงคโปร์ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นโครงการที่ได้รับการยกย่องจากบริษัทวิจัย ไอดีซี ในปี 2015 ให้เป็นความริเริ่มด้านสมาร์ทซิตี้ที่โดดเด่น (outstanding smart city initiatives) ในขณะที่ IoT ยังเป็นคำยอดนิยมในแวดวงธุรกิจมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา การพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกันรวมถึงด้านฮาร์ดแวร์ ก้าวหน้ามาถึงจุดที่การลงทุนที่ลงไปเริ่มจะคืนทุน ทั้งอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะ อุปกรณ์ฟิตเนสประเภทสวมใส่ และนวัตกรรมอื่นที่เป็นการพัฒนาครบวงจรทั่วทั้งระบบนิเวศน์ และเริ่มมีส่วนแบ่งทางการตลาดแบบที่น่าจับตามอง ผู้ที่เคลื่อนไหวได้เร็วในการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการใช้งานด้าน IoT ก็จะมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่โดดเด่นซอฟต์แวร์ที่วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้จากอุปกรณ์ IoT พร้อมทั้งจัดการงานที่เคยต้องตัดสินใจด้วยตัวเองได้โดยอัตโนมัติจะได้รับความสนใจอย่างมากในไม่ช้า และนี่คือโอกาสสำหรับบริษัทเทคโนโลยี สอดคล้องตามคำกล่าวของกระทรวงสื่อสารและสารสนเทศของประเทศสิงคโปร์ รวมถึงองค์กรเอ็นเตอร์ไพรส์ที่ต้องการค้นคว้าและพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ใกล้กับแหล่งที่มา หรือ Edge Analytics และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสตรีมมิ่ง การสนับสนุนการตัดสินใจและซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติอื่นๆองค์กรธุรกิจจะเฟื่อง ฟูในปี 2559 และต่อๆ ไป หากมีการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต โดยต้องเข้าใจถึงปัจจัยขับเคลื่อนต่างๆ รวมถึงโอกาสและภัยคุกคามที่เกิดจากภาพรวมของโลกดิจิทัลใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความสำเร็จนับเป็นสิ่งสำคัญ ต้องประเมินถึงความสำคัญของทรัพยากรด้านบุคลากรได้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะเรื่องประชากรในแถบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่มีทักษะความสามารถมีประสบการณ์การทำงานที่ครอบคลุม รวมถึงประชากรจำนวนมากที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นไฟแรงและต้องการก้าวสู่ตลาดหางาน การนำวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดีที่สุด สำหรับการเปลี่ยนถ่ายสู่ยุคดิจิทัลที่ขยายตัวไปไกลมากขึ้นทั้งในธุรกิจระดับภูมิภาคและระดับโลกจะเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเท่ากับเป็นการติดตั้งเทคโนโลยีเปิดที่ขยายขอบเขตการทำงานได้ง่าย ให้ความคุ้มค่าเรื่องค่าใช้จ่าย สิ่งนี้นับเป็นสูตรสำเร็จของผมในการนำเสนอสภาพแวดล้อมการทำงานในอุดมคติ สำหรับผู้นำที่ต้องการนำกลยุทธ์มาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในปี 2559 ซึ่งเป็นปีแห่งลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับดิจิทัลมาก่อน หรือ Digital-First Customer นั่นเอง โดย Amit Midha President of Asia Pacific & Japan and Chairman of Global Emerging Markets Dell
คลิ๊ก เพื่ออ่านประเด็นด้านธุรกิจอื่นๆ ที่น่าสนใจ จาก Forbes Thailand ได้ในรูปแบบ E-Magazine