สามประสานสู่ความสำเร็จการใช้ไฮบริดคลาวด์ - Forbes Thailand

สามประสานสู่ความสำเร็จการใช้ไฮบริดคลาวด์

FORBES THAILAND / ADMIN
24 Apr 2023 | 04:27 AM
READ 9916

ระบบอัตโนมัติของไอทีคือสมรรถนะที่ได้รับการยอมรับแล้วอย่างไม่ต้องสงสัยปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีที่เป็นระบบอัตโนมัติต่างๆ ไปใช้กับโครงสร้างทางเทคโนโลยีขององค์กรที่พร้อมสำหรับอนาคต และใช้เป็นองค์ประกอบที่ขาดเสียไม่ได้ในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการดำเนินงานที่จะส่งให้ศักยภาพขององค์กรอยู่ในจุดสูงสุด

   ธุรกิจที่นำระบบอัตโนมัติไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกำลังกำหนดความเป็นเลิศของตน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญมากไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมใดก็ตาม

    สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงความชัดเจนของการใช้ระบบอัตโนมัติที่กว้างขวางขึ้น และความสามารถในการใช้ระบบอัตโนมัติได้ทุกที่เช่น บนคลาวด์ต่างๆ แม้ว่าองค์กรต่างถูกผลักดันให้ประเมินโอกาสใหม่ๆ ในการใช้ระบบอัตโนมัติ แต่ระบบอัตโนมัติก็ไม่ใช่คำตอบหรือทางออกสำหรับทุกความท้าทาย

    ผู้นำธุรกิจควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่ากระบวนการทำงานและขั้นตอนใดของการทำงานที่ควรทำให้เป็นอัตโนมัติ โดยพิจารณาว่าสิ่งใดจะก่อให้เกิดผลลัพธ์สำคัญที่สุดต่อธุรกิจขององค์กรทั้งระบบรวมถึงกระบวนการและขั้นตอนแบบใดจะสามารถปรับตัวได้มากที่สุดเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแบบกะทันหัน

    อย่างไรก็ตาม วิสัยทัศน์ด้านระบบอัตโนมัติขององค์กรต้องเป็นแบบองค์รวม ครอบคลุมและได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากบุคลากรด้านต่างๆ ทุกระดับชั้น รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรในการทำงานร่วมกันและควรมีกลไกที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนวิสัยทัศน์นี้สู่ความสำเร็จปรับให้เป็นอัตโนมัติ

    การใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติเป็นเรื่องง่าย เพราะระบบอัตโนมัติออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้อย่างเรียบง่าย ปรับให้เหมาะสมได้ตามต้องการ มีความรวดเร็วและประสิทธิภาพอยู่แล้ว ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการ แต่ในความเป็นจริงองค์กรไม่มีทรัพยากรมากพอที่จะทำให้ระบบนิเวศด้านไอทีทั้งหมดเป็นอัตโนมัติได้ และไม่สามารถเข้าใจอุปสรรคต่างๆ ที่ธุรกิจเผชิญได้ทั้งหมดเช่นกัน

    ดังนั้นอันดับแรกคือ การจัดหมวดหมู่และประเมินงานที่ต้องการจะให้อยู่ในแผนการปรับสู่ระบบอัตโนมัติว่างานนั้นสามารถปรับตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ มีหน่วยงานหรือส่วนใดของธุรกิจบ้างที่จะได้รับผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุด มีอิทธิพลและส่งผลต่อขอบเขตการทำงานต่างๆ และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหาที่ทราบอยู่แล้วหรือไม่ และองค์กรรู้ขั้นตอนการแก้ปัญหานั้นหรือไม่ และขั้นตอนเหล่านั้นเป็นอย่างไร

    ขั้นตอนเริ่มต้นของการประเมินและคัดเลือกคือเวลาสำหรับการตั้งมาตรฐานที่จำเป็นและเฉพาะเจาะจง กระบวนการต่างๆ ที่ติดอยู่ในรายการคัดเลือกสุดท้ายต้องเป็นไปตามข้อกำหนดแต่ละด้านที่องค์กรตั้งไว้

การผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นมาแล้วไม่ได้หมายความว่าองค์กรจะไม่ตรวจสอบงานนั้นๆ ระหว่างทาง สถานการณ์ต่างๆ ในแวดวงเทคโนโลยีที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง องค์กรจึงจำเป็นต้องประเมินตลอดเวลาเช่นกันว่า กรณีใช้งานที่เลือกมานั้นได้สร้างผลลัพธ์ตามที่คาดไว้หรือไม่ และสามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมหรือไม่

    ในขณะที่การประเมินและการบ่งชี้กระบวนการที่เหมาะสมเป็นขั้นตอนสำคัญของแผนการปรับสู่ระบบอัตโนมัติ แต่ในการดำเนินการด้านนี้จริงๆ จำเป็นต้องอาศัยความเห็นพ้องและร่วมมือ จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายแผนกที่จะทำงานภายใต้วัฒนธรรมองค์กรด้านระบบอัตโนมัติที่แข็งแกร่งร่วมกัน โดยก่อนอื่นต้องประเมินแนวทางการทำงาน

    ทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติที่มีอยู่ในปัจจุบันของทุกภาคส่วนในองค์กรจากนั้นกำหนดจุดหมายปลายทางด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน กำหนดเป้าหมายที่วัดผลได้ และได้รับความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ

    ทั้งนี้การเปลี่ยนผ่านเหล่านี้เริ่มได้จากวิศวกรที่รู้วิธีการทำงานดีกว่าและจากผู้นำที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและมักเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์และส่งเสริมเพื่อนร่วมงานให้ยอมรับระบบอัตโนมัติการเปลี่ยนกระบวนการแบบแมนนวล (manual process) ที่ใช้กันมานานมากเป็นเรื่องยาก

    การทำงานแบบแมนนวลต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างทีมงานหลากหลาย และปรับการทำงานของทุกทีมให้เข้ากับวิธีการทำงานต่างๆ องค์กรต้องแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการเชื่อมต่อการทำงานที่แยกส่วนกันด้วยการใช้ภาษาเดียวกัน แบ่งปันกันใช้ระบบย่อยเดียวกัน และการผสานรวมทรัพยากรเพื่อให้ใช้ซ้ำได้ และใช้กระบวนการแบบแมนนวลให้น้อยลง

    ระบบอัตโนมัติช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีสามารถมุ่งใช้ความชำนาญสร้างนวัตกรรมที่สำคัญ ด้วยการสร้างกรอบการทำงานที่มีประสิทธิภาพและใช้ซ้ำได้ผ่านการทำงานร่วมกัน การใช้ศักยภาพของระบบอัตโนมัติได้อย่างเต็มรูปแบบนั้น ทีมทุกทีมต้องขยายขอบเขตไปให้ไกลกว่าเขตจำกัดของการทำงานหรือเทคนิคเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง และใช้กับรูปแบบการดำเนินงานด้านไอทีทั้งหมดขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้มากขึ้น ด้วยวัฒนธรรมการทำงานแบบอัตโนมัติร่วมกัน

ไอทีโซลูชันที่เหมาะสม


    องค์กรจำเป็นต้องหาโซลูชันด้านระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมที่สามารถต่อกรกับสภาพแวดล้อมด้านไอที สถานการณ์ต่างๆ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เฉกเช่นเดียวกับการหากรณีใช้งานที่สามารถปรับได้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้มีเครื่องมือที่เป็นเอกเทศที่เจาะจงการทำงานอัตโนมัติแบบสุ่มอยู่มากมาย แต่องค์กรไม่ได้ต้องการระบบอัตโนมัติเพื่อทำงานในลักษณะนี้

    ในภาพรวมองค์กรต้องการโซลูชันแบบองค์รวมที่ได้รับการออกแบบให้รองรับความต้องการทั้งหมดในปัจจุบันขององค์กร ที่มาพร้อมความยืดหยุ่นเพื่อจัดการกับความกังวลต่างๆ ในอนาคตแพลตฟอร์มเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการสร้างสิ่งต่างๆ

    ทั้งนี้แพลตฟอร์มแบบอัตโนมัติจะคัดฟังก์ชันการทำงานที่ซ้ำซ้อนหรือไม่สำคัญให้สามารถทำงานเองได้โดยอัตโนมัติและเข้าใช้งานได้มากขึ้น องค์กรควรมองหาโซลูชันด้านระบบอัตโนมัติที่ใช้งานง่าย รองรับการเคลื่อนย้ายเวิร์กโหลดได้ตามต้องการ และมีเครื่องมือในการบริหารจัดการเบ็ดเสร็จ

    นอกจากนี้ ควรเลือกแพลตฟอร์มที่มาจากพันธมิตรที่จะสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร ช่วยให้องค์กรเปลี่ยนผ่านได้รวดเร็วแนะนำแนวทางการแก้ไขอุปสรรค และมุ่งมั่นสนับสนุนความสำเร็จระยะยาวขององค์กร

    การเปลี่ยนไปใช้การพัฒนาแบบเปิดช่วยให้แพลตฟอร์มมีความเสถียรอย่างมากเกิดนวัตกรรมมากขึ้น และมีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เข้มงวด ชุมชนโอเพนซอร์สต่างๆ ส่งเสริมนวัตกรรมด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ขยายขอบเขตความสามารถทางเทคนิคให้กว้างขวางขึ้น ความยืดหยุ่นของโอเพนซอร์สช่วยให้สามารถพัฒนาแบบโมดูลาร์และนำไปใช้ได้มากขึ้นลดความจำเป็นที่ต้องวางแผนระยะยาวทั้งยังเตรียมการดำเนินงานต่างๆ ให้กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    องค์กรต้องยกเลิกการทำงานแบบแยกส่วนที่มักเกิดขึ้นระหว่างทีมงานและเทคโนโลยีให้ได้ เพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ของโลกโอเพนไฮบริดคลาวด์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติด้านไอที ซึ่งการจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยคนทำงานที่ทุ่มเท โซลูชันที่มีประสิทธิภาพและกระบวนการที่ถูกต้อง แผนงานต่างๆ ต้องเกิดจากสมมติฐานว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และองค์กรต้องเริ่มด้วยแผนงานที่เน้นเรื่องความสามารถในการปรับตัวเป็นสำคัญ


บทความโดย
Thomas Anderson
รองประธาน Red Hat Ansible Automation


อ่านเพิ่มเติม: การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไต้หวัน ประจำปี 2023


คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนมีนาคม 2566 ในรูปแบบ e-magazine