ทำเนียบขาวไม่เคยแพ้เมื่อต้องต่อกรกับเฟด - Forbes Thailand

ทำเนียบขาวไม่เคยแพ้เมื่อต้องต่อกรกับเฟด

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องเก็บแผนขึ้นภาษีครั้งมโหฬารในปีนี้เข้ากระเป๋า หลังจากประธานเฟด Jerome Powell ถูกประธานาธิบดี Donald Trump ตำหนิอย่างรุนแรงเป็นการส่วนตัว

ธนาคารกลางสหรัฐฯ และบรรดาพันธมิตรต่างก็ย้ำเน้นถึงความสำาคัญในการทำงานเป็นอิสระของสถาบัน ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาธนาคารกลางได้สั่งสมบารมีชนิดที่ว่าผู้ที่ริโจมตีสถาบันนั้น ถ้าไม่ใช่คนเขลาเบาปัญญาก็เป็นแค่คนเพี้ยนๆ นอกวงความคิดเห็นที่มีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือ ความสำเร็จนี้ต้องผ่านอุปสรรคสำคัญมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์เงินเฟ้อครั้งเลวร้ายในยุค 70 และต้นยุค 80 ตลอดจนเหตุการณ์ที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ปี 2008-2009 อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือเมื่อเผชิญแรงขับจากฝ่ายบริหารมากเข้า เฟดก็ต้องถอย นี่ไม่ได้หมายถึงอิทธิพลจากฐานันดรที่สี่ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแต่เป็นผู้ที่ถูกบงการจากสภาคองเกรส ยิ่งไปกว่านั้น ตามกฎหมายแล้วกระทรวงการคลังเป็นผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเงินดอลลาร์ หาใช่ธนาคารกลางไม่ ความอ่อนแอที่แท้จริงแต่ไม่มีใครเห็นของเฟดมาจากความจริงอันน่าขมขื่นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธนาคารเมื่อปี 1913 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี Woodrow Wilson แสดงจุดยืนชัดเจนว่าจะต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำและมันก็เป็นเช่นนั้น และยังคงเป็นเช่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากประธานาธิบดี Harry Truman ยืนกรานให้ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป เขาคิดผิด แต่ก็จนเมื่อหลายปีผ่านไปกับผู้นำเฟด 2 คนที่ยืนกรานหัวชนฝาจึงได้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลายปีหลังจากนั้น กระทรวงการคลังของประธานาธิบดี George W. Bush ต้องการให้ดอลลาร์อ่อนลงและสามารถทำได้สำาเร็จ สิ่งนี้มีบทบาทสำาคัญในวิกฤตสินเชื่อบ้านและภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเวลาต่อมาปัญหาหลักไม่ได้อยู่ที่ความเป็นเอกเทศของเฟด แต่อยู่ที่ความเข้าใจอันถ่องแท้ที่ว่าเงินเป็นสิ่งวัดมูลค่าและการวัดมูลค่าจะมีประสิทธิภาพที่สุดต่อเมื่อผูกกับทองคำ Alexander Hamilton เข้าใจความจริงนี้เป็นอย่างดี มูลค่าที่กำหนดตายตัวไม่ได้จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจมากไปกว่าการที่หน่วยความยาว 12 นิ้วหรือ 1 ฟุตจะทำได้ในการจำกัดขนาดของอาคาร

สวิตเซอร์แลนด์กับนโยบายเศรษฐกิจเกรดเอ

ทำไมสวิตเซอร์แลนด์จึงไม่สามารถเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ดีสำหรับประเทศอื่นๆ ทำไมกองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงเพิกเฉยกับบทเรียนจากความสำเร็จระยะยาวของสถาบันเมื่อต้องออกมาตรการช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหา อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างมากนั้น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่าประเทศรอบข้างจะเติบโตอย่างเชื่องช้า
  • ภาษี ประเทศแห่งเทือกเขา Alpine แห่งนี้เข้าใจความสำาคัญพื้นฐานของการลงทุนที่มีต่อความก้าวหน้า จึงไม่มีการเก็บภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์ (Capital Gains Tax) ใช่แล้ว ภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์อยู่ที่ศูนย์ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 7.7 ถือเป็นอัตราที่กระจิริด เมื่อเทียบกับมาตรฐานยุโรป ที่ซึ่งเห็นการจัดเก็บที่เลขสอง 2 หลักเป็นเรื่องธรรมชาติ ภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉลี่ยร้อยละ 17.7 นับว่าดีกว่าประเทศส่วนใหญ่ (บริษัทจะถูกจัดเก็บที่อัตราแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นที่หน่วยปกครองที่บริษัทตั้งอยู่ ซึ่งอาจเทียบได้กับรัฐหรือจังหวัด อัตราต่ำสุดอยู่ที่ เพียงร้อยละ 11.5) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น) อยู่ระหว่างร้อยละ 22-45 ขณะที่อัตราเดียวกันในสหรัฐฯ อยู่ที่ร้อยละ 37 ไปจนถึงกว่าร้อยละ 50 ตามปกติแล้ว ไอเอ็มเอฟและนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่นิยมการเพิ่มภาระแก่ผู้เสียภาษีให้มากเข้าไว้
  • สกุลเงิน ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ไม่มีประเทศใดในโลกสามารถเทียบเคียงสวิตเซอร์แลนด์ในด้านเสถียรภาพค่าเงิน ไม่ใกล้เคียงเสียด้วยซ้ำ ข้อได้เปรียบที่ไม่ค่อยมีใครให้ค่านี้ที่จริงแล้วสำาคัญอย่างยิ่งยวดต่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจชั้นเลิศของประเทศเล็กๆ แห่งนี้
การสร้างทุน (Capital Creation) และการลงทุนจะรุ่งเรืองที่สุดเมื่อค่าเงินถูกกำาหนดตายตัว ถึงกระนั้น ไอเอ็มเอฟยังเพียรบอกลูกค้าที่มีปัญหาอย่างอาร์เจนตินา ให้ปล่อยค่าเงิน “ลอยตัว” ซึ่งเป็นคำที่สุภาพของการลดค่าเงิน ด้วยเหตุผลบังหน้าว่าเพื่อกระตุ้นการส่งออก แต่ที่ไร้คำอธิบายคือทำไมสวิตเซอร์แลนด์จึงเป็นประเทศส่งออกสำคัญทั้งที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าค่าเงินฟรังก์สูงกว่าที่ควรจะเป็นระบบของสวิตฯ ซึ่งให้อิสระอย่างมากแก่หน่วยการปกครองทั้ง 26 แห่งในการบริหารงานท้องถิ่น ได้ช่วยให้พลเมืองที่พูดภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติและสร้างสรรค์มากว่า 800 ปี