Peter Szulczewski พา Wish แอพฯ ขายสินค้าราคาถูกนั่งแท่นยอดดาวน์โหลดสูงสุดปี 2018 - Forbes Thailand

Peter Szulczewski พา Wish แอพฯ ขายสินค้าราคาถูกนั่งแท่นยอดดาวน์โหลดสูงสุดปี 2018

FORBES THAILAND / ADMIN
02 Jul 2019 | 11:26 AM
READ 11862

Wish ของ Peter Szulczewski เป็นแอพฯ ช็อปปิ้งที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุดในโลกในปีที่แล้ว ของใช้จากแอพฯ นี้คุณภาพต่ำเสียจนทำให้ Walmart ดูเป็นห้างไฮโซอย่าง Bergdorf ไปเลย แต่ผู้ใช้งาน 90 ล้านคนของเขา ไม่ได้มีเงินมากพอจะใส่ใจ และการที่คนเหล่านี้ซื้อของโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ก็ช่วยให้ Szulczewski มีสินทรัพย์รวม 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลูกค้า Wish ส่วนใหญ่เป็นคนอเมริกันชั้นแรงงานจากพื้นที่อย่าง Florida Panhandle หรือ Texas ตะวันออก พวกเขาเป็นลูกค้าของร้าน 1 เหรียญและมองว่าค่าสมาชิกรายปีของ Amazon Prime 120 เหรียญนั้นแพงเกินไป “ครอบครัว 41% ในสหรัฐฯ มีสภาพคล่องไม่ถึง 400 เหรียญ” Szulczewski อ้างอิงค่าประมาณล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐฯ เขาเล่าว่าลูกค้าในเว็บไซต์ขายของถูกสุดๆ ของเขาส่วนใหญ่รูดบัตรเครดิตจนวงเงินเต็มก่อนถึงวันเงินเดือนออก เขายกสถิติ มาเล่าได้อย่างคล่องแคล่วระหว่างเดินขึ้นบันไดผ่านไปอีก 1 ชั้นอย่างสบายๆ ด้วยขาที่แข็งแรงจากการยกน้ำหนักมาหลายทศวรรษ (เขาบอกว่าการยกน้ำหนักช่วยให้ผ่อนคลาย) อดีตวิศวกรของ Google ซึ่งเกิดในโปแลนด์หลงใหลเรื่องการเงิน ของคนธรรมดา และนำความหลงใหลมาใช้ออกแบบตลาด อี-คอมเมิร์ซให้เหมาะกับคนเหล่านั้น โดยขายสินค้าโนเนมที่ส่งตรงมาจากผู้ค้าชาวจีน Wish เป็นแอพฯ ช็อปปิ้งที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุดทั่วโลกในปี 2018 และปัจจุบันเป็นตลาดอี-คอมเมิร์ซใหญ่เป็นอันดับ 3 ในสหรัฐฯ โดยดูจากยอดขาย มีผู้ใช้งานกว่า 90 ล้านคนทั่วโลกใช้แอพฯ นี้อย่างน้อยเดือนละครั้ง Wish หักส่วนแบ่ง 15% จากยอดซื้อและทำรายได้เพิ่มเป็นเท่าตัวในปีที่แล้ว อยู่ที่ 1.9 พันล้านเหรียญ ในการระดมทุนครั้งที่แล้ว Wish มีมูลค่าประเมินมากกว่า 8.7 พันล้านเหรียญ หุ้น 18% ของ Szulczewski จึงช่วยให้เขาเป็นเศรษฐีพันล้าน (ผู้ร่วมก่อตั้ง Danny Zhang มีหุ้นเพียง 4.2%) Szulczewski กล่าวว่า นักลงทุนน่าจะได้เห็นการขาย IPO ภายใน 1 หรือ 2 ปีข้างหน้า Wish ไม่ใช่แอพฯ อี-คอมเมิร์ซแรกที่ติดตามการคลิกของลูกค้าทุกคน เพราะ Amazon ก็สร้างยักษ์ใหญ่ที่มียอดขาย 2 แสนล้านเหรียญต่อปีจากข้อมูลลักษณะเดียวกันนี้ และ Wish ก็แข่งขันกับทั้ง AliExpress ของ Alibaba และ Amazon โดยมีผู้ค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำสินค้าผลิตในจีนที่เรียงรายกันมาไม่รู้จบมาเสนอขายให้นักช็อป แต่ในขณะที่ Amazon เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ขึ้นเรื่อยๆ เช่น การสตรีมวิดีโอ และบริการส่งด่วนภายใน 2 ชั่วโมงเพื่อดึงให้ลูกค้ามาสมัครใช้บริการสมาชิก Prime แต่ Szulczewski (อ่านว่า ซุล-เชส-กี้) กลับไม่กังวลเรื่องบริการส่งของด่วนหรือคุณภาพสินค้ามากนัก เสื้อสเวตเตอร์ของ Wish ราคา 2 เหรียญ บวกค่าส่งอีก 2 เหรียญ นาฬิกาเลียนแบบ Apple Watch ขาย 9 เหรียญ (บวกค่าส่ง 3 เหรียญ) ลูกค้าที่เข้าใช้งาน Wish ครั้งแรกประมาณ 80% จะกลับมาซื้ออีกเป็นครั้งที่ 2เหตุผลที่ค่าส่งถูกส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อตกลงระหว่างของร้าน 1 เหรียญ Peter Szulczewski แอพพลิเคชั่น Wish

ชายผู้ขายสินค้า 300 ล้านรายการ

Peter Szulczewski โตในโปแลนด์ยุคคอมมิวนิสต์ช่วงทศวรรษ 1980 ท่ามกลางชั้นวางสินค้าที่ว่างเปล่า บนชั้น 3 ของตึกอะพาร์ตเมนต์ 6 ชั้นที่ไม่มีอะไรน่าสนใจในกรุง Warsaw เมื่อเขาอายุ 11 ปี สหภาพโซเวียตล่มสลายและพ่อแม่พาเขาอพยพไปอยู่เมือง Waterloo ในแคนาดาซึ่งอยู่ห่างจาก Toronto ไปทางตะวันตก 70 ไมล์และมีมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยที่ยอดเยี่ยม เขาเข้าเรียนใน University of Waterloo ซึ่งผู้ก่อตั้ง Kik Interactive และ Instacart ก็เคยเรียนที่นี่ Szulczewski ได้พบผู้อพยพอีกคนคือ Danny Zhang ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ พวกเขาเตะฟุตบอลด้วยกัน และ Zhang เล่นเก่งมากจนเคยคิดจะเล่นอาชีพอยู่ช่วงหนึ่ง ทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนกันในปี 2004 ก่อนที่เขาจะเรียนจบเมื่ออายุ 23 ปี Szulczewski เริ่มฝึกงานเป็นเวลา 4 เดือนที่ Google ซึ่งตอนนั้นมีพนักงานไม่ถึง 1,000 คนและกำลังเดินหน้าเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในเดือนมิถุนายน 2007 Szulczewski ย้ายไปออฟฟิศใหม่ของ Google ในเกาหลีใต้และได้เรียนรู้บทเรียนเรื่องเทคโนโลยีนอกกรอบของฟองสบู่ใน Sili-con Valley ชาวเกาหลีชอบระบบสืบค้นที่ดูยุ่งเหยิงและมีข้อมูลอัดแน่นมากกว่าโฮมเพจที่ดูโล่งสบายตาแบบ Google Szulczewski ออกจาก Google ในปี 2009 โดยมีเงินเก็บ มากพอจะอยู่ไปได้อีก 2 ปี เขาใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์ที่บ้าน 6 เดือนเพื่อเขียนโค้ดสำหรับซอฟต์แวร์ที่จะช่วยทำนายความสนใจของผู้ใช้งาน เช่น ชอบวิ่งหรือชอบทำสวน โดยดูจากพฤติกรรมการเปิดเว็บ แล้วนำมาจับคู่กับสินค้าหรือโฆษณาที่ผู้ใช้อาจสนใจ เขาเรียกระบบนี้ว่า ContextLogic ในเดือนกันยายน 2010 มีนักลงทุนนำเงิน 1.7 ล้านเหรียญมาลงทุนกับ Context-Logic ผ่านการแนะนำโดยเพื่อนของ Szulczewski คือ Jeremy Stoppelman ซีอีโอของ Yelp และ Jerry Yang เศรษฐีพันล้าน ผู้ร่วมก่อตั้ง Yahoo ซึ่งลงทุนกับ Wish ผ่าน AME Cloud Ventures กองทุนช่วยหนุนสตาร์ทอัพ (angel fund) ของเขาเล่าว่า “แผนธุรกิจของพวกเขาคือจะแข่งกับ AdWords ของ Google ในเกาหลี หรือทำอะไรบ้าๆ สักอย่างนั่นแหละ” แต่เขาเสริมว่า “เทคโนโลยีของพวกเขาดีจริงๆ”

ปรับอัลกอริทึมสู้ปัญหาคุณภาพ

สำหรับด้านนโยบายการขายของ Wish จะทำให้ยอดขายพุ่งขึ้น แต่ปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพก็มากขึ้นตาม ซึ่งคงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ถ้าคุณมีผู้ค้าลงทะเบียนกับคุณ 1 ล้านราย โดยมี 125,000 รายที่ใช้งาน Wish สม่ำาเสมอทุกเดือน และเมื่อมองในบริบทเดียวกัน ข้อมูลจาก Marketplace Pulse บริษัทข้อมูลด้านอี-คอมเมิร์ซที่มีฐานอยู่ใน New York รายงานว่า Amazon มีผู้ค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ใช้งานเว็บเป็นประจำ 2.5 ล้านราย ส่วน Walmart มีประมาณ 21,000 ราย “ผมประเมินปัญหาเรื่องนี้ (การควบคุมคุณภาพ) ต่ำไป” Szulczewski กล่าว โดยสิ่งที่ Wish รับมือกับปัญหานี้ด้วยการตัดสินค้าทิ้งโดยอัตโนมัติประมาณ 8 ล้านรายการต่อสัปดาห์ หรือเกือบ 3% ของสินค้า ที่ขายบนเว็บ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกตัดออกเมื่อผู้เข้าชมเลื่อนหน้าจอผ่านสินค้าเหล่านี้ไปอย่างน้อย 1,000 ครั้งโดยไม่เคยคลิกดู และ Wish ก็ตัดสินค้าจากผู้ค้าที่ได้รีวิวไม่ดีหรือแสดงรีวิวปลอมออกด้วย สำหรับการตรวจจับรีวิวปลอมอัตโนมัติ วิศวกรของ Wish จะฝึกให้ซอฟต์แวร์จำรีวิวที่เห็นได้ชัดว่าปลอมขึ้นเอง Wish มีกฎโดยรวมประมาณ 60 ข้อ ถ้าอัลกอริทึมของ Wish เห็นว่าผู้ค้ารายใดลงขายสินค้าปลอมหรือแจ้งส่งของโดยระบุเลขพัสดุปลอม ผู้ค้าจะถูก “ปรับ” 500 เหรียญ หรือถ้าส่งกล่องเปล่าที่ไม่มีของอาจถูกปรับถึง 10,000 เหรียญ Szulczewski กล่าวว่า Wish เก็บค่าปรับได้ประมาณ 3 ล้านเหรียญต่อเดือน ซึ่งทำได้ ไม่ยากด้วยการระงับการจ่ายเงินให้ผู้ค้า และเขาเสริมว่าผู้ค้า อาจถูกไล่ออกจากแพลตฟอร์มด้วย ในทางกลับกันถ้าได้คะแนนรีวิวดี ผู้ค้าก็จะได้เงินเร็วขึ้นหรือได้แสดงสินค้าเป็นอันดับต้น เมื่อลูกค้าค้นหา เรื่อง: Parmy Olson เรียบเรียง: ธรรดร โสตถิอำรุง
คลิกอ่านฉบับเต็ม "ของถูกเร้าใจ" ได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนมิถุนายน 2562 ในรูปแบบ e-Magazine