Ghost Robotics สตาร์ทอัพ “หุ่นยนต์สุนัข” ที่อยู่เบื้องหลังการลาดตระเวนชายแดนของสหรัฐฯ - Forbes Thailand

Ghost Robotics สตาร์ทอัพ “หุ่นยนต์สุนัข” ที่อยู่เบื้องหลังการลาดตระเวนชายแดนของสหรัฐฯ

FORBES THAILAND / ADMIN
23 Feb 2022 | 04:45 PM
READ 3229

Ghost Robotics สตาร์ทอัพ “หุ่นยนต์สุนัข” ของ Jiren Parikh ผู้ซึ่งตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัย เพื่อเดินตามฝันในการเป็นนักสกีและนักสกีภูเขา ก่อนที่จะพลิกผันมาขายซอฟต์แวร์ให้กับบริษัท และจบลงด้วยการพัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะ ที่อยู่เบื้องหลังการลาดตระเวนชายแดนของสหรัฐฯ 

Ghost Robotics

ปัจจุบัน Jiren Parikh ดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์สุนัข” 4 ขาที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ใน Philadelphia ซึ่งมีลูกค้ารายใหญ่เป็นถึงกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลก (ประเทศพันธมิตรเท่านั้น) อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

นี่เป็นงานที่ง่ายที่สุดตลอดชีวิตการทำงาน 38 ปีของผม Parikh วัย 55 ปีกล่าวผมใช้เวลาอยู่หลายปีเพื่อขายซอฟต์แวร์ให้กับบริษัท ซึ่งมันไม่ได้น่าสนใจมากนัก และเมื่อเทียบกับการขายหุ่นยนต์แล้ว งานนี้ง่ายกว่าเยอะ

ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ ประกาศว่า กำลังเดินหน้าติดตั้งหุ่นยนต์ "สุนัข" ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯเพื่อช่วยในการลาดตระเวนชายแดนและต่อต้านความพยายามในการลักลอบนำเข้าสินค้า

โดยภายในหุ่นยนต์หนัก 100 ปอนด์เหล่านี้ ประกอบด้วยกล้องวิดีโอหรือเซ็นเซอร์สำหรับการมองเห็นตอนกลางคืน และที่พิเศษไปกว่านั้นคือรูปลักษณ์ที่สามารถติดตั้งในทุกลักษณะภูมิประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทราย หิน หรือแม้แต่เนินเขา จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้าชิ้นนี้จะได้รับความนิยมตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2015

ปัจจุบัน หุ่นยนต์ของ Ghost Robotics มีชื่อเรียกว่า Vision 60 มีราคาเริ่มต้นที่ตัวละ 150,000 เหรียญ และสามารถเพิ่มเติมฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ เป็นการเฉพาะ โดย Forbes ประมาณการว่ารายรับของบริษัทน่าจะอยู่ที่ราว 30-40 ล้านเหรียญต่อปี ทว่าด้วยสัดส่วนลูกค้าที่มาจากองค์กรภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บริษัทมองว่าหากสามารถขยายฐานให้ครอบคลุมภาคเอกชนมากขึ้นอาทิการรักษาความปลอดภัยในโรงงานหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีส่วนทำให้ต้นทุนการผลิตหุ่นยนต์ในอนาคตลดลง

ด้าน Parikh ผู้อพยพชาวอินเดียได้พบกับผู้ร่วมก่อตั้ง Avik De และ Gavin Kenneally ผ่านเพื่อนที่ทำงานร่วมกันที่ Penn Center for Innovation ซึ่ง ณ เวลานั้น De และ Kenneally กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาขาหุ่นยนต์รุ่นใหม่ในห้องทดลอง Daniel Koditschek ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่ University of Pennsylvania

พวกเขาเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาหุ่นยนต์ได้ดีกว่า Boston Dynamics ซึ่งขณะนั้น Google ยังเป็นเจ้าของอยู่ ถือว่าเป็นงานที่ยากมากที่จะเอาชนะบริษัทที่มีทุนหนาขนาดนั้นได้ Parikh กล่าว

อย่างไรก็ดี แม้ว่าในปัจจุบัน Boston Dynamics ผู้ผลิตหุ่นยนต์สุนัขที่ชื่อว่า Spot จะยังคงมีขนาดธุรกิจที่ใหญ่กว่ามาก แต่ Ghost Robotics ก็เป็นที่นิยมไม่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกาารปิดดีลกับรัฐบาลต่างๆ ที่เห็นชอบกับการใช้มอเตอร์เพื่อควบคุมขาของหุ่นยนต์และปรับตามการเปลี่ยนแปลงของแรงดันดินเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เดินในป่า” Parikh เปรียบเปรย

ในช่วงแรกๆ Parikh ใช้ทุนของตัวเองในการสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัท แต่หลังจากที่ได้รับสัญญาฉบับแรกจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในปี 2017 สตาร์ทอัพแห่งนี้ก็สามารถคว้าเงินทุนมูลค่ากว่า 1 ล้านเหรียญจากนักลงทุนกลุ่มแรกมีคนจำนวนมากที่ต้องการสนับสนุนพวกเราเขากล่าว แต่ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดในส่วนนี้เพิ่มเติม

ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา Ghost Robotics ร่วมกับที่ปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนาจากกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมศุลกากร และหน่วยงานป้องกันชายแดนของสหรัฐฯ ได้เริ่มพัฒนาและทดสอบหุ่นยนต์สำหรับการลาดตระเวนชายแดน ด้วยการปรับ Vision 60 ให้สามารถทำงานในสภาพอากาศที่แปรปรวนและพื้นที่ห่างไกล ตั้งแต่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส (-40 องศาฟาเรนไฮต์) ไปจนถึง 55 องศาเซลเซียส (122 องศาฟาเรนไฮต์) รวมถึงสามารถอยู่ใต้น้ำเป็นระยะเวลานาน

หลังจากที่ผ่านการทดสอบใน Lorton รัฐเวอร์จิเนีย หุ่นยนต์เหล่านี้ยังต้องถูกส่งไปยังเมือง El Paso รัฐเท็กซัส เพื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากมากยิ่งขึ้นเราทำงานกันอย่างหนักเพื่อตอบสนองความต้องการของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ” Parikh กล่าวเทคโนโลยีนี้ไม่เคยมีมาก่อนในหุ่นยนต์ธรรมดา หรือแม้แต่หุ่นยนต์ขาเดียว

ในระยะยาว Parikh เชื่อว่า ตลาดหุ่นยนต์จะมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกมาก และไม่จำกัดเพียงแค่ในส่วนของกองทัพเท่านั้น และเพื่อรองรับการเติบโตนี้ บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป อาทิ หุ่นยนต์สำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยในโรงงาน การรักษาความปลอดภัยในสนามบิน การตรวจสอบเหมือง หรือป้องกันภัยในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ไม่สำคัญหรอกว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะเก่งแค่ไหน พวกเขาไม่สามารถแข่งขันกับเซ็นเซอร์ความร้อนมูลค่า 3,000-4,000 เหรียญที่ติดตั้งในหุ่นยนต์ของเราได้หรอก

แม้ว่าต้นทุนจะเป็นอุปสรรคต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ในอุตสาหกรรม แต่ Parikh คาดว่าต้นทุนจะลดลงราวร้อยละ 25 ถึง 50 (หรือมากกว่านั้น) เมื่อเวลาผ่านไปถ้าเราไม่สามารถทำให้สิ่งเหล่านี้มีมูลค่าต่ำกว่า 100,000 เหรียญหรือแม้แต่ 75,000 หรือ 50,000 เหรียญ แปลว่าเราไม่รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

แปลและเรียบเรียงโดย ชญาน์นัทช์ ธนินท์พงศ์ภัค จากบทความ Meet The Startup Behind The Robot ‘Dogs’ Set To Patrol The Southern Border เผยแพร่บน Forbes.com อ่านเพิ่มเติม: Jared Isaacman กับภารกิจ Polaris เหินฟ้าสู่อวกาศครั้งใหม่