Hermawan Kartajaya กูรูการตลาดคู่ Philip Kotler - Forbes Thailand

Hermawan Kartajaya กูรูการตลาดคู่ Philip Kotler

Philip Kotler โด่งดังเป็นปรมาจารย์ด้านการตลาดระดับโลก แต่ในตำราของ Kotler ทุกเล่มจะปรากฎชื่อนักการตลาดชาวอินโดนีเซียผู้ซึ่งจุดประกายให้ Kotler เขียนตำราออกมาตั้งแต่แรก

    

    อดีตครูคณิตศาสตร์ชาวอินโดนีเซีย ผู้หันเหชีวิตมาเป็นกูรูด้านการตลาด Hermawan Kartajaya เขาเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดให้กับคนดังมากมาย เช่น ประธานาธิบดี Suharto ของอินโดนีเซีย และอีกหลายองค์กร โดยกิจการในเครือของเขาคือ M Corp Group Hermawan เป็นประธานและผู้ก่อตั้งบริษัท มาร์คพลัส แอนด์ โค จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาด สำนักงานอยู่ที่สิงคโปร์ เป็นกิจการที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขายังรั้งตำแหน่งประธานสมาคมการตลาดโลกธุรกิจของเขาให้บริการด้านที่ปรึกษาทางการตลาดเป็นสำคัญ และ Hermawan ยังเป็นผู้แนะนำให้ Kotler เขียนหนังสือโดยเขาเป็นนักเขียนร่วมในตำราการตลาดของ Philip Kotler มาดยตลอดเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2566 ที่ผ่านมาเขาได้ออกหนังสือเล่มใหม่ Entrepreneurial Marketing (EM) เป็นเล่มแรก แน่นอนยังคงร่วมกับ Kotler เช่นเคย เขาเขียนตำราสำหรับผู้ประกอบกิจการเพราะมองว่า entrepreneur คือทิศทางของเศรษฐกิจใหม่

    ทำไม Hermawan มองเช่นนี้ มันมาจากประสบการณ์หลายสิบปีของเขากับโลกการตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลง ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก กิจการขนาดใหญ่มีมากมายมหาศาล และกิจการขนาดเล็กกำลังจะเกิดขึ้นอีกมากมายเช่นกัน เมื่อคนยุคใหม่ไม่ถวิลหาอาชีพลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทพวกเขาต้องการเป็นเจ้าของกิจการ บัณฑิตจบใหม่หรือแม้แต่คนหนุ่มสาวทั่วไปพวกเขามองว่า การมีธุรกิจเป็นของตัวเองคืออาชีพในฝันที่ให้อิสระในการใช้ชีวิต และมีโอกาสร่ำรวยได้มากกว่าการเป็นพนักงานประจำด้วยเหตุนี้ entrepreneur จึงเป็นเทรนด์ใหม่ของเศรษฐกิจโลก

    กูรูการตลาดระดับโลกมองว่าทิศทางของเศรษฐกิจใหม่จะถูกขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเป็นเจ้าของกิจการอะไรสักอย่างที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับบริษัทขนาดใหญ่ ไม่ต้องตอกบัตรเพื่อเข้าทำงาน ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎกดิกาของบริษัท โดยพวกเขาสามารถกำหนดกติกาของตัวเองได้ตามต้องการ แต่ทว่าการทำกิจการไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่แค่มีไอเดียธุรกิจก็เริ่มต้นได้ เพราะแม้คุณจะเริ่มต้นได้แต่ความสำเร็จมันเป็นอีกเรื่องที่ต้องอาศัยองค์ประกอบมากมาย ที่มาแห่งความสำเร็จของ entrepreneur ต้องอาศัยหลากหลายปัจจัย ทุกอย่างต้องทำบนพื้นฐานความต้องการที่สอดคล้องกับการผลิตและความเป็นไปของสังคม แน่นอนตำรายังมีบทบาทสำคัญ แนวทางการทำธุรกิจของ entrepreneur ก็ต้องมีหลักในการปฏิบัติ ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละธุรกิจแต่ละกิจการ

    หลักการตลาดสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่มีความแปลกใหม่ที่ต่างจากการตลาดยุคดั้งเดิม EM ที่ปรากฎสู่สายตาคนทั่วโลกไปแล้วในเล่มแรก จึงกำลังจะมีเล่มที่ 2 ตามมาภายใต้บริบทโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยนคนเปลี่ยน ความต้องการของผู้คนเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเปลี่ยน

    ไม่แน่ว่าสักวันหนึ่งคุณอาจจะนำแนวคิดจากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในธุรกิจ และทำให้คุณได้ค้นพบโอกาสใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงก็ได้

    

    อ่านเพิ่มเติม : Dominika Kulczyk เศรษฐีนีนักเดินทางที่มั่งคั่งที่สุดแห่ง Poland

​    คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนสิงหาคม 2566 ในรูปแบบ e-magazine