หน้าใหม่ ทำเนียบ 50 สุดยอดบริษัทมหาชนแห่งเอเชีย ตอนที่ 2 - Forbes Thailand

หน้าใหม่ ทำเนียบ 50 สุดยอดบริษัทมหาชนแห่งเอเชีย ตอนที่ 2

FORBES THAILAND / ADMIN
19 Nov 2018 | 01:05 PM
READ 8922

เอเชียแปซิฟิกมักจะรู้สึกว่าจีนเป็นผู้ครองอำนาจ และถ้าพูดถึงลิสต์ประจำปีของเราซึ่งรวบรวมรายชื่อบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่ดีที่สุดตั้งแต่ในญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ไปจนถึงอินเดีย เรื่องนี้ก็ถือเป็นเรื่องจริง เพราะจีนครองพื้นที่ในรายชื่อได้มากที่สุดอีกครั้ง

โดยมีบริษัทจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าลิสต์มา 30 จาก 50 บริษัท เพิ่มขึ้นจาก 28 บริษัทในปีที่แล้ว เมื่อจีนครองลิสต์ก็ทำให้ประเทศอื่นถูกเบียดตกไป ลิสต์ในปีนี้ประกอบด้วยบริษัทจาก 7 ประเทศเท่านั้น ซึ่งลดลงจาก 12 ประเทศในปี 2016 โดยบริษัทไต้หวันไม่ติดโผเลยเป็นครั้งแรกตั้งแต่เราเริ่มทำลิสต์ Fab 50 เมื่อปี 2005  มาติดตามบริษัทหน้าใหม่ที่ตบเท้าเข้าในการจัดอันดับ 50 บริษัทยอดเยื่ยมแห่งเอเชียประจำปี 2018     ANTA SPORTS PRODUCTS จีน ผู้บริหารสูงสุด: Ding Shi-Zhong อุตสาหกรรม: ชุดกีฬา ยอดขาย: 2.5 พันล้านเหรียญ มูลค่าหุ้น: 1.47 หมื่นล้านเหรียญ บริษัทจาก Fujian เป็นบริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้ากีฬาของจีนแห่งแรกที่สามารถทำรายได้แตะระดับหมื่นล้านหยวนต่อปี จากที่เริ่มต้นเป็นเพียงผู้ผลิตรองเท้าในปี 1991 ขณะนี้บริษัทมีร้านค้ามากถึง 11,316 แห่งทั่วประเทศ และทำรายได้จากสินค้ารองเท้าและเสื้อผ้า บริษัทออกแบบชุดกีฬาสำาหรับนักกีฬาทีมชาติจีนในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ประเทศเกาหลีใต้ในปีนี้ และจะได้เป็นพาร์ทเนอร์อย่างเป็นทางการ สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 ที่ Beijing รายชื่อนักกีฬาที่ให้การรับรองสินค้ามีตั้งแต่ Manny Pacquiao นักชกชาวฟิลิปปินส์ Kevin Garnett อดีตนักกีฬา NBA ค่าตัวสูงสุดและ Jelena Janković อดีตนักเทนนิสหญิงมือหนึ่งของโลก     CHINA AOYUAN PROPERTY GROUP จีน ผู้บริหารสูงสุด: Guo Ziwen, Guo Zining อุตสาหกรรม: พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ยอดขาย: 2.8 พันล้านเหรียญ มูลค่าหุ้น: 2 พันล้านเหรียญ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมือง Guangzhou ดำเนินธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยสำาหรับลูกค้าตลาดบน และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ Guo Ziwen เริ่มต้นธุรกิจเมื่อปี 1996 เพื่อจับตลาดฮ่องกง ต่อมาเขาย้ายบริษัทไปประเทศจีน และหันไปพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้านการกีฬา ขณะนี้ บริษัทดำเนินธุรกิจใน 80 เมือง ทั้งในจีน ออสเตรเลีย และแคนาดา Guo และน้องชายของเขา Guo Zining ถือหุ้นร้อยละ 54.1       DALI FOODS GROUP จีน ผู้บริหารสูงสุด: Xu Shihui อุตสาหกรรม: อาหารและเครื่องดื่ม ยอดขาย: 2.9 พันล้านเหรียญ มูลค่าหุ้น: 9.8 พันล้านเหรียญ ก่อตั้งเมื่อปี 1989 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2015 บริษัทจาก Fujian แห่งนี้ผลิตและจำาหน่ายขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มจากฐานการผลิต 30 แห่งพายกรอบตรา Daliyuan บิสกิต Haochidian และมันฝรั่งทอดกรอบ Copico เป็นผลิตภัณฑ์ที่โด่งดังที่สุด 3 อย่างของบริษัท และช่วยให้ Dali Foods Group สามารถเจาะตลาดที่เต็มไปด้วยสินค้านำเข้า ปีที่แล้วบริษัทได้ขยายการผลิตไปสู่อาหารสุขภาพและออร์แกนิกส์ ทั้งเปิดตัวแบรนด์นมถั่วเหลือง Dou Ben Dou (“ถั่วเหลืองเอง”) Xu Shihui ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท ที่ขณะนี้กลายเป็นมหาเศรษฐี ถือหุ้นร้อยละ 85 ร่วมกับภรรยาและลูกสาว บริษัทของเขาแทบจะไม่มีปัญหาหนี้สิน       LONGI GREEN ENERGY TECHNOLOGY จีน ผู้บริหารสูงสุด: Li Zhenguo อุตสาหกรรม: เซมิคอนดักเตอร์ ยอดขาย: 2.4 พันล้านเหรียญ มูลค่าหุ้น: 5.3 พันล้านเหรียญ บริษัทจาก Xi’an แห่งนี้ผลิตเซลล์และโมดูลแผงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเปิดดำเนินการเมื่อปี 2000 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2012 บริษัทมีพนักงาน 17,700 คน ขยายธุรกิจไปใน 4 ทวีป โดยปีที่ผ่านมาทำผลกำไรสุทธิเติบโตร้อยละ 126 Li Zhenguo ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง Li Xiyan ภรรยาของเขา และ Li Chun’an ซึ่งเป็นเพื่อนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Lanzhou ถือหุ้นทั้งหมดร้อยละ 31.3 เมื่อเดือนกรกฎาคม บริษัทได้ลงนามในสัญญาจำหน่ายโมดูลแผงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับสหรัฐอเมริกามูลค่า 600 ล้านเหรียญ แม้ว่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ จะเริ่มเก็บภาษีร้อยละ 30 สำหรับแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่งออกจากจีนไปยังสหรัฐฯ     RONGSHENG PETROCHEMICAL จีน ผู้บริหารสูงสุด: Li Shuirong อุตสาหกรรม: สารเคมี ยอดขาย: 1.04 หมื่นล้านเหรียญ มูลค่าหุ้น: 1.07 หมื่นล้านเหรียญ Li Shuirong เปิดโรงงานทอผ้าโพลีเอสเตอร์ในเมือง Hangzhou ในปี 1989 ทุกวันนี้บริษัทมีพนักงาน 7,900 คน ดำเนินธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์จากโพลีเอสเตอร์และเคมีจากถ่านหิน ขณะที่ตัว Li กลายเป็นมหาเศรษฐี เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้อนุมัติให้กิจการร่วมค้าของ Rongsheng ที่รัฐให้การสนับสนุนสามารถนำเข้าน้ำมันดิบปริมาณ 5 ล้านตัน อันเป็นการปูทางไปสู่การสร้างโรงกลั่นน้ำมันบนเกาะ Zhoushan ใกล้กับ Shanghai     TIANNENG POWER INTERNATIONAL จีน ผู้บริหารสูงสุด: Zhang Tianren อุตสาหกรรม: ผลิตแบตเตอรี่ ยอดขาย: 4 พันล้านเหรียญ มูลค่าหุ้น: 1.4 พันล้านเหรียญ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของจีนเริ่มต้นกิจการเมื่อปี 1986 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อปี 2007 ปัจจุบัน บริษัทจากมณฑล Zhejiang แห่งนี้มีพนักงานกว่า 19,000 คน และศูนย์การผลิต 9 แห่ง รายได้ส่วนใหญ่มาจากยอดขายแบตเตอรี่ สาหรับจักรยานและรถยนต์ไฟฟ้า Zhang Tianren ประธานและผู้ก่อตั้งเป็นเจ้าของหุ้นร้อยละ 36.5 ร่วมกับภรรยาของเขา     UNISPLENDOUR จีน ผู้บริหารสูงสุด: Yu Ying-Tao อุตสาหกรรม: เทคโนโลยีสารสนเทศ ยอดขาย: 5.8 พันล้านเหรียญ มูลค่าหุ้น: 1.01 หมื่นล้านเหรียญ บริษัทก่อตั้งในปี 1999 ที่ Beijing ดำเนินธุรกิจให้บริการข้อมูลสารสนเทศ ประวัติของบริษัทย้อนรอยไปถึง Tsinghua University ใน Beijing และ VictorZhao อดีตประธานบริษัทซึ่งเป็นศิษย์เก่า Zhao มาจากหมู่บ้านในมณฑล Xinjiang และค่อยๆ ไต่เต้าจากการช่วยเหลือเพื่อนๆ ในมหาวิทยาลัยเขียนซอฟต์แวร์และซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์ ปีที่แล้วบริษัทมีรายได้สุทธิพุ่งขึ้นร้อยละ 90.1 ซึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของรัฐบาล สำหรับบริษัทที่จะเข้ามาเป็น Fab 50 ได้นั้น เราเริ่มคัดจากบริษัทมหาชน 1,744 แห่งที่มีรายได้อย่างน้อย 2 พันล้านเหรียญต่อปี และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จากนั้นตัดบริษัทที่ขาดทุนหรือมีรายได้ต่ำกว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้วออกไป ต่อมาเราโยนบริษัทซึ่งมีหนี้สินระยะยาวสูงเกินครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดหรือมีรัฐบาลถือหุ้นเกิน 50% ทิ้งไป เพราะเป้าหมายของเราเน้นเฉพาะบริษัทที่เป็นผู้ประกอบการซึ่งดำเนินกิจการได้ดี บริษัทที่มีบริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นมากกว่า 50% ก็โดนคัดออกด้วย สุดท้าย เราใช้ตัววัดผลด้านการเงินมากกว่า 12 รายการเจาะลึกผู้ท้าชิงที่เหลือ เป้าหมายคือเพื่อให้ได้รายชื่อเกียรติยศสำาหรับบริษัทกลุ่มบลูชิปที่มีผลประกอบการดีเยี่ยม สมเป็นที่สุดขั้นเทพของบรรดาสุดยอดของภูมิภาค คลิกอ่านตอนที่ 1
ติดตามการจัดอันดับ FAB 50 "50 สุดยอด บริษัทมหาชนแห่งเอเชีย" ฉบับเต็มได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนตุลาคม 2561 ได้ในรูปแบบ e-Magazine