ยูโอบี เผยศิลปะแห่งการบริการจัดการและการลงทุนในสินทรัพย์หรูหรา - Forbes Thailand

ยูโอบี เผยศิลปะแห่งการบริการจัดการและการลงทุนในสินทรัพย์หรูหรา

ยูโอบี จัดงาน UOB PRIVILEGE RESERVE ภายใต้ธีมงาน “Art of Money” ศิลปะแห่งการบริการจัดการและการลงทุนในสินทรัพย์หรูหรา (Luxury Assets) เชิญผู้บรรยายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลายมิติ

UOB PRIVILEGE RESERVE  ภายใต้ธีมงาน “Art of Money” ได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ Dennis Ng ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก J. P. Morgan จิติมา วัฒนสิน ผู้คร่ำหวอดในกลุ่มสินค้าแฟชั่นชั้นสูง และ ประภาวดี โสภณพนิช ผู้จัดการทั่วไปของ Christie’s Thailand Dennis Ng ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก J. P. Morgan เผยภาพรวมโอกาสในตลาดเอเชียยังคงมีการลงทุนที่ดี โดยมีตลาดการลงทุนที่น่าสนใจคือกลุ่มธุรกิจเกมที่มูลค่ารวมตลาดเกมทั่วโลกเมื่อปี 2016 มีมูลค่าพุ่งสูงถึง 1.05 หมื่นล้านเหรียญฯ โดยตลาดเกมในจีน (ไม่รวมเกมคาสิโน) มีสัดส่วนสูงถึง 45 เปอร์เซ็นต์ และ กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย "เชื่อได้ว่าการลงทุนในอนาคตให้ดูผลรวมในอดีตจากผลตอบแทนรวม 10 ปีที่ผ่านของการลงทุนในเอเชีย แปซิฟิคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยียังคงสดใส หลายกลุ่มอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีถือว่ามีผลตอบแทนรวมที่ยอดเยี่ยม” Dennis Ng กล่าวและเสริมต่อว่า “ในกลุ่ม Gaming ของจีนมีผลตอบแทนรวมโตถึง 3,007 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ที่ให้ผลตอบแทนรวมโตที่ 392 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ กลุ่ม Automation ญี่ปุ่นมีผลตอบแทนรวมโตืั้ 561 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับเยอรมัน ที่ผลตอบแทนรวม 104 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่ม Processors ไต้หวัน มีผลตอบแทนรวม 449 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สหรัฐฯ อยู่ที่ 220 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่ม Electronics เกาหลี มีผลตอบแทนรวม 376 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนเดียวกัน ญี่ปุ่น ให้ผลตอบแทนรวม 144 เปอร์เซ็นต์” ด้าน จิติมา วัฒนสิน ผู้คร่ำหวอดในกลุ่มสินค้าแฟชั่นชั้นสูง ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับการทำงานกับลักชัวรี่แบรนด์ต่างๆ ในประเทศไทยว่า “การที่เราเป็นเจ้าของลักชัวรี่แบรนด์ มันคือความสุขทางใจ และบ่งบอกถึงสถานะทางสังคมได้ ทั้งผู้หญิงหรือผู้ชาย ในอดีตสินค้าลักชัวรี่เหล่านี้ถูกขนานนามว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แต่เมื่อเวลาผ่านไปสินค้าแบรนด์เนมที่หลายคนมองว่าฟุ่มเฟือยกลับกลายเป็นสินค้าที่ซื้อแล้วเป็นสมบัติซึ่งสามารถนำมาขายต่อได้อีกด้วยและเกิดเป็นการลงทุนที่สามารถเปลี่ยนกลับเป็นเงินและได้กำไรในที่สุด” จิติมา วัฒนสิน กล่าวและเสริมว่า
จิติมา วัฒนสิน
“สินค้าลักชัวรี่ที่มีคุณค่าในอนาคตต้องมีคุณค่านับตั้งแต่วันแรกที่สินค้านั้นเปิดตัวจะต้องมีส่วนผสมระหว่าง "คุณภาพที่ดีเยี่ยม ความคิดสร้างสรรค์ และการออกแบบ" 3 สิ่งนี้คือความแตกต่างและความสำคัญสูงสุดคือแบรนด์เหล่านี้มีประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าความเรื่องราวซึ่งเป็นตำนานติดตัวมาด้วย ซึ่งองค์ประกอบทั้งสี่ด้านข้างต้น ขาดอันใดอันหนึ่งไปถือว่าไม่ครบนิยามความเป็นลักชัวรี่” เรื่องราวของประวัติเหล่านั้นคืออะไร ตัวอย่างคลาสสิคที่ถูกยกมาประกอบเป็นตัวอย่าง เช่นตำนาน Rolex Daytona Paul Newman ref. 6263 หรือที่เรียกกันว่า 'The Legend' ที่ Paul Newman นักแสดงอันเป็นตำนานของสหรัฐฯ เป็นเจ้าของ โดยในปี 1994 ราคา 15,450 เหรียญฯ แต่ราวปี 2017 ถูกประมูลไปในราคา 4.18 เหรียญฯ ส่วนตัวอย่างอีกเรื่องคือ น้ำหอม chanel No.5 ถือเป็นการปฏิวัติวงการน้ำหอมในขณะนั้น เพราะยุคนั้นไม่มีใครตั้งชื่อน้ำหอมเป็นตัวเลข Chanel เลือกเอาการผสมกลิ่นของน้ำหอมขวดที่ 5 มาใช้และและตั้งชื่อเป็น "No.5" และเรื่องราวที่ส่งให้น้ำหอม chanel No.5 เป็นตำนาน คือการตอบคำถามของ Marilyn Monroe ที่นักข่าวถามเธอว่าใส่อะไรนอน และ เธอได้ตอบว่า "five drops of Chanel No. 5"
โฆษณาชิ้นแรกของ Chanel No.5
จิติมา วัฒนสิน เผยด้วยว่าจากการจัดอันดับมูลค่าในกลุ่มลักชัวรี่ที่มีราคาพุ่งทะยานมากที่สุดในรอบ 10 ปี อันดับที่หนึ่งคือ “วิสกี้หายาก” โดยมีมูลค่าเพิ่มจาก 10 ปีที่ผ่านมาถึง 582 เปอร์เซ็นต์ ส่วน 4 อันดับต่อมาคือ รถยนต์ ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 258% เหรียญฯ มูลค่าเพิ่มขึ้น 193% สแตมป์ มูลค่าเพิ่มขึ้น 189% และ งานศิลปะ มูลค่าเพิ่มขึ้น 158% สำหรับกลุ่มสินค้าลักชัวรี่ที่มูลค่าลดลงจาก 10 ปีก่อนคือกลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่มูลค่าลดลง 32 % “เหตุส่วนใหญ่ของผู้ลงทุนในกลุ่มสินค้าลักชัวรี่เหตุผลอันดับหนึ่งคือ การซื้อสะสมเพื่อความสุขของตนเอง ลำดับสองซื้อเพื่อการลงทุน และลำดับสามเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงไม่ผันผวนมากนัก”  จิติมา วัฒนสิน กล่าวทิ้งท้าย ด้าน ประภาวดี โสภณพนิช ผู้จัดการทั่วไปของ Christie’s Thailand กล่าวภายในงานว่า หลายๆ ท่านคงได้ยินชื่อของ Christie’s ได้ก่อตั้งนานกว่า 250 ปี เป็นผู้ดูแลจัดการผู้ถือครองงานสะสมศิลปะทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย “การลงทุนในลักชัวรี่ไม่ได้เป็นอะไรใหม่ไปจาก 250 ปีที่ผ่านมาแต่ปัจุจบัน Christie’s มีกลุ่มผลงานงานประมูลมากกว่า 250 กลุ่ม โดยมีกลุ่มหลักๆ อยู่ 9 ประเภท อาทิ กลุ่ม Old Master Paintings, กลุ่ม Asian 20th Century & Contemporary Art, กลุ่ม Jewellery และ กลุ่ม Watches & Wristwatches เป็นต้น "Christie’s มีการประมูลทุกวัน เรามีสินค้าตั้งแต่ราคา 200 เหรียญฯ ไปจนถึงหลายร้อยล้านเหรียญฯ บางคนคิดว่า Christie’s ประมูลแต่ของแพงราคาสูงลิ่วแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่” ประภาวดี โสภณพนิช กล่าว
ประภาวดี โสภณพนิช ผู้จัดการทั่วไปของ Christie’s Thailand
ปัจจุบัน Christie’s มีทั้งหมด 46 ประเทศ มีสถานที่สำหรับการประมูล 11 ประเทศ อย่างในประเทศไทยเราอยู่มาเกิน 20 ปี ที่ผ่านมาเราทำการประมูล 2-3 ครั้งในประเทศไทย ก่อนเปลี่ยนนโยบายในการประมูลและไปรวมศูนย์ที่ฮ่องกง โดย Christie’s โดดเด่นการประมูลภาพวาด Christie’s มีภาพวาดที่โด่งดังมากมาย อาทิ ภาพวาดจากศิลปิน Claude Monet, Pablo Picasso, Edward Hoper ศิลปินชาวสหรัฐฯ เป็นต้น “สำหรับยอดรวมการประมูลในปี 2018 Christies’ ทำยอดรวมได้ 7 พันล้านเหรียญฯ ยังเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดการประมูลโดยมี สำนักประมูล Sothebly’s เป็นอันดับสองมียอดขายราว 6.4 พันล้านเหรียญฯ” สำหรับ Christies’s ในเอเชียนั้นเริ่มการประมูลอย่างไม่เป็นทางการราวปี 1986 และจากวันนั้นจนถึงปี 2018 ตัวเลขการประมูลเพิ่มขึ้นมากว่า 430 เท่า ซึ่งในปี 2018 ยอดการประมูลจากทวีปเอเชียแห่งนี้อยู่ที่ราว 752 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเทรนด์การประมูลของเอเชียจาก Christies’s นักสะสมนิยมภาพวาด อาทิ ผลงานเขียน Nympheas en fleur ของ ศิลปิน Claude Monet ที่ราคา 84,687,500 เหรียญฯ สำหรับการประมูลของนักสะสมในไทย ประภาวดี เผยว่าในตั้งแต่ปี 1998 จนถึงปี 2018 มียอดประมูลเติบโตถึง 4820 % โดยงานภาพวาดฝีมือคนไทยที่ได้รับความนิยมคืองานเขียนของ ถวัลย์ ดัชนี ที่ทำราคาประมูลสูงถึง 1.75 ล้านเหรียญฮ่องกง ในขณะที่ผลงานของ นที อุตฤทธิ์ เริ่มเป็นที่นิยมนักสะสมและตัวเขากำลังสร้างชื่อในเวทีระดับสากล “ในตลาดการประมูล ถ้าพูดถึงเรื่องมูลค่า ปัจจุบันคนเอเชียมีกำลังและมีกำลังสะสม สำหรับงานเขียนถ้าศิลปินเสียชีวิตลงไปแล้วราคาของชิ้นงานเหล่านั้นจะยิ่งมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเพราะตลาดรู้ว่าผลงานจะมีจำกัด”
จากซ้าย: ประภาวดี โสภณพนิช, Dennis Ng และ จิติมา วัฒนสิน