ประธานเฟดคนใหม่กับความคิดเก่าๆ แย่ๆ - Forbes Thailand

ประธานเฟดคนใหม่กับความคิดเก่าๆ แย่ๆ

เมื่อเร็วๆ นี้ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด คนใหม่ เปิดประชุมนัดแรกคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee) ซึ่งทำหน้าที่กำหนดนโยบายธนาคารกลาง โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ย Powell ตั้งใจจะสานต่อนโยบายที่ได้สร้างความเสียหายมากมายกับเศรษฐกิจของประเทศต่อไปการประชุมตอกย้ำว่าธนาคารกลางของเราจะไม่ยกเลิกข้อผิดพลาดร้ายแรง 3 ประการในเร็ววันนี้ อันได้แก่

• ความเชื่อมั่นในดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้มีมูลค่าอย่างที่ควรจะเป็น เมื่อกระทรวงการคลังของรัฐบาลประธานาธิบดี George W. Bush ต้องการให้มูลค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง ดังที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษแรกหลังปี 2000 เฟดไม่ทัดทาน ประเทศที่สกุลเงินไร้เสถียรภาพย่อมไม่สามารถพาเศรษฐกิจไปได้ดี เงินดอลลาร์ที่ไร้เสถียรภาพเป็นสาเหตุสำคัญของหายนะในช่วงปี 2008-2009 ค่าเงินที่ลอยตัวมีประโยชน์ไม่มากไปกว่านาฬิกาที่บอกเวลาไม่เที่ยง เป็นอันตรายต่อการลงทุนในระยะยาว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น • ทฤษฎีลวงโลกที่ว่าความมั่งคั่งเป็นผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์คนหนึ่งสะท้อนความคิดที่คนส่วนใหญ่คิดกันโดยกล่าวว่า Powell กำลังเจองานยากในการหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจขณะที่อัตราการว่างงานขยายตัว ความเห็นที่หลอกลวงแต่ใครๆ ก็เชื่อนี้มีที่มาจาก ทฤษฎีเส้น Phillip Curve (เส้นแสดงประธานเฟดคนใหม่กับความคิดเก่าๆ แย่ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการว่างงานกับเงินเฟ้อ) หลักของทฤษฎีนี้มีอยู่ว่าถ้าคุณต้องการลดอัตราเงินเฟ้อ คุณต้องปล่อยให้อัตราการว่างงานสูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าต้องการให้อัตราการว่างงานลดลงสิ่งที่ต้องทำคือเพิ่มอัตราเงินเฟ้อด้วยการลดค่าเงิน และที่พยายามพล่ามกันมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2 • ความเชื่อที่ว่าเฟดสามารถควบคุมจังหวะของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ราวกับขับรถ เครื่องมือที่เฟดใช้ในการนี้คือการควบคุมการขึ้นหรือลงของอัตราดอกเบี้ย แต่การที่ธนาคารกลางคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจผิดพลาดตลอดกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ความมั่นใจของเราที่มีต่อบุคลากรธนาคารในการมองโลกจึงหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก ความเข้าใจที่ว่านักเศรษฐศาสตร์ฟากรัฐบาลจะสามารถควบคุมเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยผู้คนหลายร้อยล้านคนและนิติบุคคลอีกนับล้านนั้น เป็นเรื่องไร้สาระน่าขันมาก นอกจากนี้ ทำไมบรรดานักอนุรักษ์นิยมทั้งหลายจึงยอมรับแบบไม่มีข้อโต้แย้งกับข้อเสนอของเฟดในการควบคุมราคาในเรื่องของต้นทุนของเงิน (cost of money) พวกเขาตระหนักดีถึงหายนะของการควบคุมค่าเช่า แต่กลับยอมรับการควบคุมราคาที่ต้องจ่ายให้กับเงินที่ “เช่า” จากสถาบันการเงินไม่แน่ สักวัน Jerome Powell อาจสร้างความประหลาดใจโดยเลิกทำตัวเป็นแค่ขุนพลพลอยพยัก แต่ที่แน่ๆ คือไม่ใช่ตอนนี้   เรียบเรียง: เอมวลี อัศวเปรม