ทำไมคนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในการ "ลงทุนหุ้น" - Forbes Thailand

ทำไมคนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในการ "ลงทุนหุ้น"

จากประสบการณ์ที่เข้ามา ลงทุนหุ้น 17 ปี ผมเจอคนมากมาย ทั้งในส่วนของคนที่ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล ไปจนถึงคนที่ขาดทุนจนไม่เหลืออะไรและออกจากตลาดไป รวมทั้งหลายคนที่ยังพายเรืออยู่ในอ่าง ได้ๆ โดนๆ สลับกันไป พอร์ตไม่ไปไหนสักที

จริงๆ จุดเริ่มต้นของคนทั้งสามกลุ่มนี้ มีที่มาไม่แตกต่างกัน คือมีความสนใจในการลงทุน และมองว่าตลาดหุ้นเป็นแหล่งที่จะทำให้พวกเขาสามารถทำกำไรหรือหอบความร่ำรวยกลับไปได้ แต่เป็นที่รู้กัน ว่าคนที่ไม่ประสบความสำเร็จมีจำนวนมากกว่า คนที่ประสบความสำเร็จ หลังจากผ่านไปหนึ่งปี สามปี ห้าปี สิบปี หรือวงรอบวัฏจักรเศรษฐกิจรอบหนึ่ง คนที่ยังเหลือรอดและพอร์ตเติบโตจริงๆ มีเปอร์เซ็นต์ที่ยังเหลืออยู่ไม่มากนัก เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ????? 1.เพราะคนโดยส่วนใหญ่ เข้ามาเพราะเหตุผลต้องการกำไร และอยากรวยเร็วๆ ดังนั้นมันจึงเป็นแค่ความอยาก แต่ปราศจากการหาความรู้ด้วยตนเองที่เพียงพอ จึงทำให้การลงทุน เป็นไปในแนวทางที่ ทำอย่างไรก็ได้ ให้ฉันได้กำไร วิธีการคิดแบบนี้อันตรายมาก เพราะขาดเหตุผล ขาดความรู้ และขาดวิธีการ ขาดกระบวนการ ดังนั้นจึงทำให้คนกลุ่มนี้ถึงจะเข้ามาทำกำไรในช่วงระยะสั้นๆ แต่สุดท้ายกลับออกไปขาดทุนเกือบทุกคน ถ้าใครเข้าใจเรื่องของ Accumulation Phase - Public Participation Phase - Distribution Phase จะเข้าใจได้ว่า ช่วงเวลาที่หุ้นราคาถูกนั้น หุ้นตัวนั้นๆ แทบไม่มีคนสนใจ โดยมากมักเป็นช่วงที่หุ้นนั้น มี volume ในการซื้อ-ขายน้อย จะมีคนเพียงไม่กี่คนที่สังเกตเห็น value ที่แท้จริงของมัน และทยอยเก็บสะสม โดยผ่านการวิเคราะห์พื้นฐานของธุรกิจ ศักยภาพในการเติบโต การสะสมของ Smart Money ในช่วงต้น จะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป มี volume ที่เกิดขึ้นน้อยมาก ถ้าใครไม่สังเกตดีๆจะไม่เห็น เนื่องจากคนส่วนใหญ่ชอบหุ้นที่ขึ้นแรงๆ มากกว่า เมื่อผ่านช่วง accumulation phase ไปแล้ว การสะสมของหุ้นถูกเก็บจาก smart money จนไม่มีใครอยากขายหุ้นตัวนั้นในช่วงราคานั้นอีก จะทำให้เกิด demand ที่มากกว่า supply ในช่วงราคานั้นๆ ส่งผลให้ ราคาต้องเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังมี demand คงค้างเหลืออยู่ จุดนี้จะเริ่มมีสัญญาณทางเทคนิค ซึ่งเรียกว่า reversal pattern หรือการกลับตัว รวมทั้งในทางทฤษฎี Dow’s Theory จะทำให้กลุ่มที่เป็นนักเทคนิคเห็นว่า หุ้นตัวนั้นเริ่มเป็น uptrend เมื่อราคาขึ้นไปเรื่อยๆ คนทั่วไปในตลาดจะเริ่มเห็น และเริ่มสนใจเข้ามา บางคนอาจรอดูความชัดเจน บางคนก็ซื้อทางเทคนิค ราคายังขึ้นต่อไปตราบใดที่แรง demand ยังมากกว่า supply และราคามักขึ้นไปจุดสูงสุดตอนที่ทุกคนในตลาดให้ความสนใจ ช่วงนั้นจะมีทั้งบทวิเคราะห์ประมาณการราคาที่ยังมี upsides gain ออกมาให้เห็น และข่าวดีต่างๆ ก็เต็มไปหมด ช่วงนั้นแหละ เป็นช่วงที่เรียกว่า Distribution Phase กลุ่มเงินที่เป็น Smart Money จะขาย ในขณะที่กลุ่มคนส่วนใหญ่เป็นคนซื้อ ถ้าผลประกอบการดีราคาในส่วนของ distribution phase จะไม่ใช่ราคาสูงสุด ถ้าการเจริญเติบโตที่แท้จริงของบริษัทยังมีอยู่ ราคาอาจขึ้นต่อไปได้เรื่อยๆ แต่ถ้าผลประกอบการออกมาไม่ดี ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ จุดนั้นแหละคือจุดที่ทุกคนเตรียมตัวติด #ดอยได้เลย เราจะเห็นว่า ในช่วง Accumulation Phase มีจำนวนคนที่ซื้อน้อยที่สุด (เพราะปราศจากข่าวดี และไม่มีสัญญาณกราฟให้ซื้อ) ช่วง Public Participation Phase มีจำนวนคนซื้อรองลงมา (ปราศจากข่าวดี แต่เริ่มมีสัญญาณทางเทคนิค) และจะมีคนซื้อมากที่สุดในช่วง Distribution Phase (หุ้นตัวนั้นมีทั้งสัญญาณทางเทคนิค และข่าวดีเต็มตลาด) นี่เป็นที่มาว่า ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงขาดทุน และทำไมจึงเป็น คนส่วนน้อยที่ได้กำไร

ความอดทนมีไม่พอ

ถ้าตลาดเป็นขาขึ้น คนส่วนใหญ่ได้กำไร จะมีคนที่อยู่ภายนอกวงอีกเป็นจำนวนมาก เข้ามาอีกเรื่อยๆ จนวันหนึ่งตลาดกลับตัวเป็นขาลง คนส่วนใหญ่ขาดทุน คนจะเริ่มทยอยออกจากตลาดไปเรื่อยๆ เช่นกัน โดยในทางปัจเจก บางคนมีความอดทนไม่พอ พอขาดทุน หรือเจอปัญหาในช่วงตลาดเป็นขาลง เขาอาจขาดกลยุทธ์ที่ดีในการจัดการทำให้พอร์ตขาดทุนหนัก และจิตใจเริ่มไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ไม่กล้า stop loss เพราะถือคติ ไม่ขาย ไม่ขาดทุน จนราคาหุ้นลงไปเรื่อยๆ และมักจะ Stop loss ตอนตลาดหุ้นเทกระจาด เพราะความกลัวเข้าขั้นขัดสูงสุด และส่วนใหญ่ราคานั้นเป็นราคาที่อยู่ในโซนที่ต่ำที่สุด จากประสบการณ์ของผม จะบอกว่า ใครประสบความสำเร็จในการลงทุน หรือมีฝีมือในการเทรด ต้องอยู่รอดและมีกำไรให้ได้ ในหนึ่งรอบวัฏจักรเศรษฐกิจ คือตั้งแต่เศรษฐกิจเป็นขาขึ้นจนกลายเป็นขาลง โดยมากมักจะเกิดในช่วง 10-20 ปีโดยประมาณต่อหนึ่งรอบ ดังนั้นเหตุผลที่ทำให้ให้คนส่วนใหญ่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะโดยส่วนมาก ได้กำไรในตลาดขาขึ้น และไปโดนเอาคืนในตลาดขาลงหมด จนทำให้พอร์ตขาดทุน และไม่อดทนในการสู้ต่อไป และสุดท้ายยอมออกจากตลาดไป ( ทำให้ไม่ได้ประโยชน์ตอนตลาดกลับเป็นขาขึ้นอีกรอบ )

ขาดการบริหารจัดการ portfolio structure

การจัดการโครงสร้างของ portfolio เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้สามารถทำกำไรอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว (ซึ่งหัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ยาวมาก ผมจะขอเขียนบทความนี้ในภายหลัง) หลายคนตอนซื้อ ตั้งใจลงทุน แต่เวลาขายกลับใช้ mindset แบบ daytrade เพราะพอใจแค่กำไรไม่กี่สเปรดและกลัวว่ามันจะกลับมาขาดทุน ทำให้เวลาได้กำไร ได้กำไรแค่แมวดม พอร์ตไม่ไปไหนสักที บางคนตอนซื้อ ซื้อแบบ daytrade แต่พอเวลาติดดอย กลับมี mindset แบบ value investor เพราะติดดอย เลยทำใจตัดขาดทุนไม่ได้ เลยหาข้ออ้างในการเป็น Vi จำเป็น บางคนต้องการ run trend แต่เวลาตลาด correction ลงมา ขายทิ้งหมดเพราะกลัว หรือบางคนอาจจะ run trends แบบไม่รู้จุดออก จนหุ้นกลับตัวเป็นขาลงไปแล้ว ก็ยังไป runtrend ขาลง การจัดการ portfolio structure จะช่วยป้องกันเราจากความสับสนในเรื่องพวกนี้ได้ เราจะรู้ว่า พอร์ตไหนเป็นแบบ DCA พอร์ตไหนเป็น Passive Income พอร์ตไหนเป็นแบบ value investment พอร์ตไหนเป็นแบบ trend follows พอร์ตไหนเป็นแค่ Scalper หรือ Daytrade จุดเริ่มต้นสำหรับการเรียนรู้ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.supertraderrepublic.com เรียนครบ จบในที่เดียว