สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลังของประเทศไทยได้ออกใบอนุญาต การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์สกุลเงินดิจิทัล ให้กับสามบริษัทชั้นนำของประเทศไทย และ รัฐบาลกำลังพิจารณาการออกใบอนุญาต ICO Portal สำหรับการจัดทำ Initial Coin Offerings (ICO) ที่จะเปิดทางให้ผู้ออก ICO และ อาจจะมีสิทธิสร้าง Security Token Offerings (STO) ในอนาคตอันใกล้
นับเป็นโอกาสอันดี ที่ทุกๆ สถาบันจะเข้ามาร่วมเปิดโอกาสในการใช้เครื่องมือทางการเงินรูปแบบใหม่ในการลงทุน โดยที่ธุรกิจต่างๆ จะสามารถหาเงินทุนจาก แต่ทว่าคำถามนั้นคือ
“สถาบันดั้งเดิมต่างๆ เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะเปลี่ยนแปลงตัวเองตามการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างไร”
เมื่อไม่นานมามีข่าวที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะสมัครขอใบอนุญาตเป็นตัวกลางซื้อขายคริปโต ได้ถูกแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่าทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะออกมาให้คำปฏิเสธแต่ แต่การแถลงครั้งนั้นสร้างความสบายใจให้ภายในชุมชน cryptocurrency ส่วนหนึ่งคือการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งหน้าสู่การเรียนรู้และเข้าใจถึงวิธีการที่ทางตลาดหลักทรัพย์จะสามารถนำบล็อกเชนมาใช้เพื่อให้เกิดการเติบโตได้
Tokenization
ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน cryptocurrency คาดการณ์ว่า
Security Token Offerings (STOs) จะเป็นอีกระดับที่จะใช้ในการระดมทุนของภาคเอกชนและนักร่วมลงทุน และเติบโตกลายเป็นโอกาสทางการลงทุนที่มีมูลค่า 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในอีกสองปีข้างหน้าและมากไปกว่านั้น
นักลงทุนที่ลงทุนผ่าน STOs ที่เรียกว่า
fractional ownership จะมาเปลี่ยนแปลงการลงทุน ในแบบที่เรารู้จัก STO เป็นมากกว่าทางเลือกที่ถูกต้องตามกฏหมาย ให้บริษัทต่างๆ ได้ใช้เป็นเครื่องมือการระดมทุน และ STOs ยังทำให้เราสามารถแปลงสินทรัพย์การลงทุนทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น สินค้า หรือ สินทรัพย์ ให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลได้อีกด้วย แล้วถ้าเป็นอย่างนี้ เราจะสามารถแบ่งแยก Security Token จาก การลงทุนแบบดั้งเดิม ได้อย่างไร
จุดเก่น Security Tokens (STOs)
- บริษัทตั้งแต่ขนาดใหญ่ SMEs จนถึง บริษัท หรือ ร้านค้าขนาดเล็ก สามารถที่จะเข้าร่วมเพื่อหาเงินทุนจากส่วนแบ่งทางการตลาดได้ โครงสร้างการลงทุนจะไม่จำกัดเงินลงทุน
- ไม่จำกัดว่าจะเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้หรือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ฯลฯ) สามารถนำมาทำการแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลได้
- ไม่มีจำนวนจำกัดที่ผู้ลงทุนจะต้องซื้อเปรียบเทียบ เหมือนผู้ลงทุนนั้นสามารถเป็นเจ้าของคอนโดในสัดส่วน 1 ใน 1000 ของหนึ่งห้องได้ การเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นดิจิทัลจะเปิดทางให้ผู้ลงทุน สามารถลงทุนได้อย่างหลากหลาย เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ โดยร่วมเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน
ตอนนี้เป็นเรื่องที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต้องคิดแล้วว่าจะปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงนี้หรือไม่เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รัฐบาลกำลังยอมรับ เราต้องรอติดตามกันต่อไป
ตลาดหุ้น 2.0
ตลาดหุ้น 2.0 นั้นเป็นเวอร์ชั่นที่กำลังตื่นตัวในตลาดหุ้นทั่วโลก เช่น ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังเปิดตัว Bakkt แพลตฟอร์มของสินทรัพย์ดิจิทัล และในขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์สวิตเซอร์แลนด์ (SIX) นั้นก็กำลังสร้างนิคม, การดูแลโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการรับซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และในส่วนของ Chicago Mercantile Exchange Group (CME) ได้ทำการเสนอ Bitcoin Future Contracts (BTC)
ด้วยแผนงานปัจจุบันของรัฐบาล 4.0 เพื่อผลักดันประเทศไทยเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ระบบนิเวศทาง cryptocurrency Bitkub.com ที่ถือเป็นบริษัทสตาร์ทอัพในอุตสาหกรรม blockchain นี่ กำลังเป็นอีกหนึ่งแรงกำลังในการสร้างเสาหลักสำหรับประเทศไทยในการโยกย้ายเศรษฐกิจปัจจุบัน (physical economy) ไปสู่ เศรษฐกิจดิจิทัล (digital economy) ผ่านสามกลุ่มธุรกิจ Bitkub.com, ICO Portal และ Thai education Hub
ไม่ว่าตลาดหลักทรัพย์จะเลือกที่จะกระโดดเข้าหาโอกาสในครั้งนี้หรือไม่ บริษัทแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ ในประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยก็พร้อมที่จะเป็นผู้นำในโครงสร้างการลงทุนคริปโตฯ ของประเทศไทย ไม่ว่าจะถูกทำให้เป็นหนึ่งในสถาบันในตลาดการเงินประเทศไทย หรือไม่