Health Bureau เมื่อประวัติการรักษาถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ - Forbes Thailand

Health Bureau เมื่อประวัติการรักษาถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ

ก่อนเข้าเรื่องการจัดเก็บข้อมูลกลาง หรือ Health Bureau ขอเกริ่นถึงความต่างระหว่าง Blockchain และ Bitcoin เพราะทั้งสองคำเป็นศัพท์ที่ไม่ควรสับสนเป็นอย่างยิ่ง

Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่ง (Cryptocurrency) เป็นหนึ่งในกรณีที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นพื้นฐาน ทำให้เวลาทำธุรกรรมซื้อขาย online ผู้ใช้สกุลเงินประเภทนี้จะมั่นใจได้มากขึ้น ว่าจะไม่ถูกโจรกรรม ตอนนี้หลายธุรกิจเริ่มมีการออกเหรียญ (Token) เป็นสกุลเงินของตัวเอง บุคคลทั่วไปก็สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนเหรียญจำพวกนี้ได้ผ่านตลาด Efxchange ซึ่งคล้ายตลาดหลักทรัพย์ของคนรุ่นใหม่นั่นเอง ส่วน Blockchain คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่มาช่วยจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ และไม่หายไปโดยง่าย เพราะมีตัวช่วยเก็บกระจายกันหลายแห่งทั่วโลก แล้วใครเป็นผู้ควบคุม หรือเป็นเจ้าของ Blockchain? แน่นอนว่า Blockchain เข้าถึงคอมพิวเตอร์จำนวนมากทั่วโลก ดังนั้นจึงสามารถควบคุมและตรวจสอบได้ โดยฝ่ายต่างๆ มากมาย Blockchain จึงเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน ในอดีตที่เราเก็บข้อมูลเป็นเอกสาร หรือเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์ ถ้าข้อมูลถูกเผาทำลาย โจรปล้น น้ำท่วม ปลวกกิน ข้อมูลก็จะหายไปและไม่มีค่าอะไร Blockchain จึงถูกนำมาใช้กับข้อมูลที่มีมูลค่า และเราต้องการเก็บรักษาข้อมูลนั้นไม่ให้หายไป เช่น ข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล ข้อมูลโฉนดกรมที่ดิน ข้อมูลประวัติการศึกษา ในภาคอุตสาหกรรมก็อาจนำ Blockchain ไปใช้ในการตรวจสอบสินค้า ทั้งการ Track ติดตามดูสินค้า เช็ค Stock ลดการซ้ำซ้อนของใบสั่งของ ส่งของ และการชำระเงิน ลดการ Fraud (การชำระเงินซ้ำซ้อน) รวมถึงสามารถส่ง L/C ให้ธนาคารได้ทันที ทำให้สามารถเบิกเงินจากธนาคาร ได้แบบ Real time โดยที่สินค้ายังไม่จำเป็นต้องส่งไปถึงลูกค้าที่ต่างประเทศ ซึ่งต้องรออีก 45-60 วัน
ลิขสิทธิภาพ: NTT DATA

Blockchain เข้ามาจัดการระบบการรักษาพยาบาลได้อย่างไร

Blockchain เข้ามาจัดการระบบการรักษาพยาบาล เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียนรับผู้ป่วย อาจมี AI หรือ Robot มาช่วยสแกนใบหน้า นิ้วมือ หรือลมหายใจ เชื่อมต่อกับ Digital ID มีการยินยอม (Privacy) ให้นำประวัติเข้าสู่ระบบ Blockchain ข้อมูลอาจถูกจัดแบ่งระดับในการเก็บรักษา เช่น ประวัติการตรวจสุขภาพทั่วไป ประวัติการรักษา การผ่าตัด หรือโรคร้ายแรง ส่วนการเรียกดูข้อมูล สามารถกำหนดผู้ที่เข้าถึงข้อมูลได้ โดยโรงพยาบาลและคนไข้เจ้าของข้อมูลสามารถกำหนดได้เอง คล้ายการตั้งค่าส่วนบุคคล (Privacy) ใน Facebook ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี ของการเปิดเผยข้อมูลบนระบบ online แต่ถ้าไม่มี Blockchain หรือ การพิสูจน์ตัวตน (KYC-Know Your Client) ก็อาจมี Facebook ปลอมเป็นร้อยๆ ที่ใช้ชื่อดาราหรือคนดัง สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งในโลกยุคใหม่ คือการพิสูจน์ตัวตนหรือ KYC ซึ่งแน่นอนว่า การสแกนม่านตา สแกนใบหน้า ก็ช่วยจับว่าบุคคลนั้นเป็นใคร แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าประวัติการศึกษา หรือข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งประวัติทางการแพทย์ หรือประวัติการเงินของคนคนนั้นเป็นของจริง แต่ถ้าข้อมูลเหล่านั้นได้ถูกจัดเก็บอย่างมีระบบและมี AI ช่วยจัดสรร แน่นอนว่าการ KYC จะมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้น อย่างเช่นฝาแฝด บางครั้งการสแกนใบหน้าอาจแยกไม่ออก ถ้าระบบไม่ละเอียดพอเป็นต้น การนำข้อมูลเข้าระบบ Blockchain ตัวเจ้าของข้อมูล อาจนำข้อมูลเข้าเองได้ ผ่านแอพพลิเคชั่น ที่รองรับระบบ Health Blockchain ทั้งโดยการถ่ายรูปหรือกรอกข้อมูลลงไปเอง ส่วนโรงพยาบาลที่มีระบบ Blockchain ก็อาจช่วยนำข้อมูลลงให้อีกทางหนึ่ง ผ่านระบบการเชื่อมต่อหลังบ้านเข้าฐานข้อมูลกลาง (API) การจัดเก็บข้อมูลจะถูกรวบรวมไว้ตรงฐานข้อมูลกลาง (Health Bureau) ทำให้เราสามารถเห็นข้อมูลการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เป็นภาพรวมได้ อย่าง Real time ไม่ว่าข้อมูลการรักษาจะกระจัดกระจายอยู่ที่ใด ก็สามารถรวมเข้าสู่ที่เดียวกันได้ด้วยระบบลักษณะนี้ โรงพยาบาลที่ใช้ระบบ Blockchain ก็สามารถเชื่อมโยงผลเลือด ผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการ ผลตรวจจากห้องแพทย์ และใบสั่งยาส่งห้องยาให้เภสัชกร หรืออาจมีระบบ AI ช่วยจัดยาได้ทันที รวมทั้งส่งยาแบบออนไลน์ นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบการชำระเงิน ที่สามารถคิดค่ารักษาพยาบาลได้ทันที และตัดชำระเงินผ่าน E-wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) หรือโรงพยาบาลอาจมี Wallet ของตัวเองในอนาคต แบบ Starbucks ก็ได้เช่นกัน
ลิขสิทธิภาพ: NTT DATA

สุขภาพดีถ้วนหน้า

การเชื่อมโยงข้อมูลกับบริษัทประกัน หรือการเบิกจ่ายตรงของข้าราชการ ก็สามารถทำได้รวดเร็วและโปร่งใสขึ้น โดยไม่ต้องรอ Fax claim ไปวันๆ นอกจากนี้บริษัทประกันก็อาจจัดแผนประกันที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลได้อีกด้วย หรือเชื่อมโยงกับประกันแบบออนไลน์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทุกวันนี้เรายอมจ่ายเงินซื้อประกันสุขภาพ เพียงเพราะคาดหวังว่า เราจะได้ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่แพงลิบลิ่ว ในกรณีที่เราเจ็บป่วย เหมือนซื้อประกันรถยนต์ เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าซ่อมรถกรณีเกิดอุบัติเหตุ บริษัทประกันก็จ่ายค่านายหน้าให้กับตัวแทนประกันสูงถึง 30-45% เพื่อให้ได้เงินและลูกค้าจำนวนมากมารองรับธุรกิจ โรงพยาบาลก็รู้จุดนี้ จึงพยายามคิดค่ารักษาพยาบาลที่แพงเต็มวงเงิน เพราะสามารถเรียกเก็บเงินจากบริษัทประกันได้เต็มที่ แล้วทำไมเราจะต้องไปเสียเงินซ้ำซ้อนเช่นนั้นด้วย ถ้าเราตัดตัวกลางบางส่วนออกล่ะ ดังเช่น Policybazaar แอพพลิเคชั่น ที่ลงทุนโดย Softbank, Temasek ประกันแบบออนไลน์ที่ถือครองส่วนแบ่งตลาด 90% ในอินเดีย โดย Policybazaar จะทำการเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการทำประกันในแต่ละแผนของแต่ละบริษัท คล้ายระบบการทำงานของ Agoda ในธุรกิจการจองโรงแรมผ่านออนไลน์ ทำให้ตัดนายหน้าตัวแทนประกันออกไป นั่นยังไม่เท่าไหร่ ลองคิดภาพ ว่าแล้วถ้าเราตัดออกไปทั้งระบบประกัน  ถ้าประกันถูกดิสรั่ปชั่น (Disrupt) สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ประชาชนสามารถจ่ายเงินที่เป็นลักษณะเงินออมเพื่อสุขภาพหรือกองทุนสุขภาพโดยตรงกับทางโรงพยาบาล โดยที่โรงพยาบาลอาจให้กฎเกณฑ์หรือหลักการเดียวกันกับบริษัทประกัน ทำให้โรงพยาบาลจะได้เงินทุนหมุนเวียนจากประชาชนอย่างมหาศาล
“Ping An Good Doctor” ผลงาน คลินิคที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการตรวจรักษาอาการป่วยในเบื้องต้น
โรงพยาบาลก็สามารถลดค่ารักษาพยาบาลลงได้ เพราะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันได้อีกต่อไป แต่อาจทำกำไรได้มากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะในทางกลับกัน โรงพยาบาลจำจะต้องบริหารเงินที่ประชาชนมาจ่ายตรงกับโรงพยาบาล ให้คุ้มค่าที่สุด คล้ายระบบประกันสุขภาพ ที่สุดท้ายแล้ว โรงพยาบาลก็จะส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง ให้แข็งแรงที่สุด ไม่เจ็บป่วย แทบจะพาไปรดน้ำมนต์ทุกเดือน!!! เพื่อไม่ให้ป่วย ลดการมาใช้บริการที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลก็จะลดการตรวจที่ซ้ำซ้อนสิ้นเปลือง แต่กลับเลือกการรักษาและการสั่งยาที่ได้มาตรฐานและดีที่สุด เพื่อที่ประชาชนที่มีฐานะจะได้เลือกมาทำประกันกองทุนตรงกับโรงพยาบาลที่ดูแลรักษาดีที่สุด และในเวลานั้นเอง ระบบการดูแลสุขภาพแบบออนไลน์จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แพทย์และพยาบาลก็อาจถูกดิสรั่ปชั่นด้วยระบบนี้ เพราะโรงพยาบาลเริ่มลดต้นทุนบุคลากรลง แพทย์อ่านผล X-ray อาจมี AI ช่วยอ่านแทน แพทย์ผิวหนัง อาจมี AI มาช่วยสแกนผื่นและแปลผลจากรูปถ่าย เภสัชกรก็อาจทำงานง่ายขึ้น หรือถูกดิสรั่ปชั่น เพราะมี Blockchain และ AI มาช่วยจัดยา ตรวจสอบยาใกล้หมดอายุ บริหารคลังยา รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทำให้การจ่ายยา แม่นยำ ลดการจ่ายยาผิดหรือซ้ำซ้อน สิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการ คือ ความค้มค่าของเงินที่จ่ายออกไป (ประมาณว่า จ่าย 30 บาท แต่ต้องการมาตรฐานโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ทำนองนั้น) ระบบใดที่มาแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ ก็จะสามารถดิสรั่ปชั่น ระบบเก่าลงได้ มีเรื่องเล่าอยู่เรื่องหนึ่ง เล่ากันว่า หมอหนุ่มเขียนข้อความส่งให้เภสัชกรสาวสวย ซึ่งปกติเภสัชกรจะมีความสามารถในการอ่านลายมือคุณหมอ ที่มักจะอ่านยากสุดๆ หลังจากนั้น หมอหนุ่มได้รับยามาชุดนึง หมอหนุ่มถึงกับงง?!? เพราะข้อความนั้นหมอได้เขียนว่า...“เย็นนี้เราไปทานข้าวด้วยกันนะ”........??!!?? ถ้ามีข้อมูลบน Blockchain หมอหนุ่มคงได้ไปทานข้าวกับเภสัชกรสาวสวยแบบทันที (Real time)....