ทำไม “หายนะแห่งปี 2008” จึงอาจเกิดขึ้นอีกครั้ง - Forbes Thailand

ทำไม “หายนะแห่งปี 2008” จึงอาจเกิดขึ้นอีกครั้ง

บทวิจารณ์และบทความนับไม่ถ้วนล้วนปรากฏขึ้นมาเนื่องในวันครบรอบ 10 ปีความตื่นตระหนกแห่งปี 2008 แต่เกือบทั้งหมดต่างละเลยรากเหง้าของวิกฤตค่าเงินดอลลาร์อ่อน ค่าเงินที่ผันผวนไร้เสถียรภาพนั้นมักจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจยิ่งไปกว่านั้น บทความหวนระลึกถึงวิกฤตเหล่านี้มองข้ามหรือประเมินความผิดพลาดร้ายแรงของรัฐบาลต่ำาเกินไป และนี่คือปัจจัย 3 ประการ
  • การบ่อนทำลายค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันด่วนจากการระเบิดของฟองสบู่เทคโนโลยี เศรษฐกิจอ่อนแอในปี 2000 และเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำในอีกปีหลังจากนั้นในการแก้สถานการณ์ดังกล่าว ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยจากนั้นก็เริ่มลดค่าเงินดอลลาร์ลง
นั่นเป็นความผิดพลาดมหันต์ ทฤษฎีเบื้องหลังความเคลื่อนไหวนี้ คือการลดค่าเงินดอลลาร์แบบค่อยเป็นค่อยไปจะหนุนการส่งออก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ทฤษฎีนี้ไร้เหตุผล ประเทศที่ค่าเงินไร้เสถียรภาพมักเติบโตต่ำกว่าต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับประเทศที่ค่าเงินมีเสถียรภาพ ลองเปรียบเทียบสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีการบริหารจัดการค่าเงินที่ดีที่สุดในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา กับอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ทำได้แย่สุด สวิตเซอร์แลนด์ขยายตัวขึ้นอย่างน่าทึ่ง ขณะที่อาร์เจนตินาซบเซาลง สาเหตุของความผิดแผกแตกต่างอย่างมหาศาลนี้เป็นเรื่องพื้นฐานมาก ความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับการลงทุน และการลงทุนอันก่อให้เกิดผลมีส่วนช่วยอย่างไม่อาจประมาณได้เมื่อมูลค่าของเงินมีเสถียรภาพดังเช่นตลาดที่ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและออกดอกออกผลมากกว่าเมื่อมีมาตรการและตัวถ่วงน้ำหนักคงที่สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ปริมาณน้ำในแกลลอนที่ไม่ผันผวน เงินชี้วัดมูลค่าเฉกเช่นไม้หลาชี้วัดระยะทาง เงินปลอมๆ บิดเบือนราคา ซึ่งเป็นตัวรับส่งข้อมูลสำาคัญอย่างแท้จริงคืออุปสงค์และอุปทานที่ช่วยให้ตลาดเสรีดำเนินไปได้ เช่นเดียวกับไวรัสในคอมพิวเตอร์ ค่าเงินที่บิดเบือนบ่อนทำลายข้อมูล ขณะที่เงินดอลลาร์ค่อยๆ ถูกกัดกร่อนมูลค่าลง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทะยานขึ้นน้ำมันพุ่งจาก 20-25 เหรียญต่อบาร์เรล ไปที่กว่า 100 เหรียญ ทองคำปรับขึ้นจากไม่ถึง 300 เหรียญต่อออนซ์ ไปยังจุดพีกที่ 1,900 เหรียญ เมื่อเงินเชื่อถือไม่ได้ ผู้คนก็หันไปหาสินทรัพย์ที่จับต้องได้ ตัวอย่างมหันตภัยใหญ่หลวงของกระบวนการอยู่ในตลาดบ้าน ในจุดหนึ่งนั้นค่าเงินอื่นๆ ก็ตามรอยตัวอย่างแย่ๆ ของดอลลาร์ ดังนั้น การขยายตัวปลอมๆ ของตลาดบ้านและภาวะฟองสบู่แตกที่ติดตามมาได้กลายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก
  • ความไม่คงเส้นคงวาของ Washington ทำให้ตลาดเงินเป็นอัมพาต ในฤดูใบไม้ผลิปี 2008 วาณิชธนกิจรายใหญ่สุดอันดับ 5 ของ Wall Street ล้มละลาย เต็มไปด้วยสินเชื่อขยะและสินทรัพย์ชวนกังขาอื่นๆ วาณิชธนกิจ Bear Stearns แทบไม่ใช่สถาบันที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญด้วยซ้ำ แต่รัฐบาล Bush ตัดสินใจให้เงินอุ้มเจ้าหนี้ของบริษัท Fannie Mae และ Freddie Mac สององค์กรทรงอำนาจทางการเมืองและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งเผชิญสินเชื่อซับไพรม์ท่วมจนง่อนแง่นเกือบไม่รอดในฤดูร้อนนั้น Washington ยื่นมือมาช่วยเหลือ ต่อมาก็ปล่อยให้ Lehman Brothers สถาบันการเงินขนาดใหญ่กว่าและสำคัญยิ่งกว่า Bear Stearns ล้มลงไป
ความตื่นตระหนกปะทุขึ้น ขณะที่ทุกคนกำเงินไว้ท่ามกลางความสิ้นหวัง Washington พลิกท่าทีอีกครั้ง โดยให้การค้ำประกันของภาครัฐกับกองทุนรวมตลาดเงิน และเข้าไปอุ้มธนาคารที่เลือกมาแล้วหลายแห่ง เลยส่งผลให้ AIG และ Citigroup อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล
  • กฎเกณฑ์ทางบัญชีกลายเป็นอาวุธทำาลายล้างครั้งใหญ่ในปี 2007 หน่วยงานกำากับดูแลของรัฐรื้อฟื้นกฎเกณฑ์ทางบัญชีขึ้นมาเรียกว่า “การประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้เป็นไปตามราคาตลาด” ซึ่งยกเลิกไปในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ โดยผลที่เกิดขึ้นเป็นการสร้างแรงกดปลอมๆ ต่อมูลค่าเงินกองทุนของธนาคารระยะหนึ่งอย่างต่อเนื่อง เมื่อสถาบันเหล่านี้อยู่ในสถานะไม่มั่นคง
รัฐบาล Bush ไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายของกฎข้อบังคับนี้อย่างที่สุด ท้ายที่สุดแล้วช่วงต้นเดือนมีนาคม 2009 จากความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งที่รู้แจ้งเห็นจริง สภาผู้แทนราษฎรจัดการพิจารณาขึ้นเพื่อสร้างความชัดเจนว่าต้องยกเลิกคำาสั่งนี้ไป หน่วยกำกับดูแลเข้าใจสารนั้น และปลดชนวนอันตรายของกฎทำลายล้างที่คุกคามการดำรงอยู่ของระบบธนาคารของเรา นั่นปิดฉากตลาดหมีอันเลวร้ายในทันที ซึ่งทุบมูลค่าตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยลงเกือบ 60% แล้วตลาดกระทิงก็เกิดขึ้นต่อมาในภายหลังจนถึงทุกวันนี้ ทั้งบทอันน่าสลดใจนี้ตอกย้ำถึงความจริงแจ่มชัดที่ไม่ได้รับการตระหนักถึงเลยว่า รัฐบาล ไม่ใช่ตลาดเสรี คือผู้ก่อหายนะทางเศรษฐกิจ