ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าวงการการตลาดนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย จากกระแส Digital Disruption ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเสพสื่อและพฤติกรรมของคนในชีวิตประจำวันในตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
จากเดิมในยุคเดิมที่อาจจะมี สื่อ (Media) อยู่ไม่กี่ประเภทมากนัก จะเห็นว่าในยุคก่อน การใช้สื่อของนักการตลาดนั้นเป็นรูปแบบ Linear เป็นประเภทใหญ่ๆ เช่น ทีวี วิทยุ ป้ายบิลบอร์ด หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น แต่จากการเข้ามาของ
สื่อดิจิทัล (Digital Media) ในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา รูปแบบการวางแผนการใช้สื่อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป จากแบบเดิม ก็มาเป็น Free Form มากขึ้น จากการใช้สื่อไม่กี่ประเภท เป็นก้อนใหญ่ๆ ก็กลายมาเป็นชิ้นเล็กๆ ย่อยๆ มากมาย ที่เราต้องวางแผนสื่อเหล่านี้ให้ส่งต่อและเสริมส่งกันไปมา ในรูปแบบ Free Form
ในช่วงแรกแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้น เชื่อว่าหลายๆ คนที่เริ่มทำ Digital Marketing จะเริ่มต้นจากการใช้ Digital Media ประเภทต่างๆ เป็นหลัก เช่น หากเราทำโฆษณาบนทีวี ก็แค่เอามาโพสต์ลง Facebook หรือ YouTube หรือบางคนก็คิดว่าการเปิด Facebook Page คือการทำ Digital Marketing
แต่จริงๆ แล้ว ในปัจจุบัน ทุกคนเห็นตรงกันว่า ในการทำการตลาดที่ถูกต้องนั้น เราไม่ควรที่จะเริ่มต้นจากการเลือกสื่อที่จะใช้ก่อน หรือยึดติดกับการใช้สื่อในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เส้นระหว่างสื่อ Online และ สื่อ Offline ได้หายไป วันนี้เราไม่ได้เริ่มต้นที่การเลือกว่าจะทำสื่อ Online หรือ สื่อ Offline หรือ เราจะเริ่มต้นการทำ Marketing ด้วยการเปิด Facebook Page เหมือนเมื่อก่อน
ในการเริ่มต้นทำการตลาดในยุคนี้นั้น เราต้องกลับไปสู่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ
“พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายของเรา" เราต้องแน่ใจและรู้ให้ถ่องแท้ว่า การใช้ชีวิตและการเสพสื่อในแต่ละวัน และ Insight อะไรจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายของเรา ให้เป็นไปในจุดประสงค์ที่ต้องการในแต่ละแคมเปญการตลาดที่ต้องการ หลังจากนั้นค่อยถึงมาเลือกวางแผนการใช้สื่อที่ตรงตามพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายของเราให้มากที่สุดภายใต้งบประมาณที่มีอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม ในวันที่ภูมิทัศน์ทางการตลาดเปลี่ยนไป วันนี้เป็นวันที่นักการตลาดต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง เพราะเราจะเข้าใจและแบ่งกลุ่มเป้าหมายของเราได้มากขึ้น และ ละเอียดกว่าเดิม
ในช่วงรอบปีที่ผ่านมา เราคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า
“Data is a New Oil" หรือ ข้อมูลนั้นเป็นแหล่งน้ำมันแห่งใหม่
ในยุคที่แทบทุกคนมี Smartphone ถืออยู่ในมือ เราใช้ชีวิตในแต่ละวันไปกับ Internet ผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ จะเห็นว่าปัจจุบันนั้น ตัวตนของเราไม่ได้อยู่แค่บนโลก Offline แบบเดิมอีกต่อไป แต่เราทิ้งร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint) ของเรา และผลิตข้อมูลอย่างมากมายมหาศาลในทุกๆ วัน
หากบอกว่าข้อมูลเหล่านี้คือแหล่งน้ำมันแหล่งใหม่ วันนี้ถึงเวลาที่เราจะต้องลงทุนกับมัน เราต้องมีกลยุทธ์ในการจัดเก็บ ขุดเจาะ และน้ำมันมาใช้อย่างถูกวิธี และกระบวนการเหล่านี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลในอนาคต หรือเราเรียกสิ่งนี้ได้อีกอย่างว่า
"Data Activation” ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทหนึ่ง ที่เน้นในการให้บริการเรื่องนี้โดยเฉพาะ ชื่อว่า
Alchemist ภายใต้กลุ่มบริษัท
Rabbit Digital Group
คำว่า
Data Activation นั้น ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเก็บข้อมูลทุกอย่างให้เยอะที่สุด แต่มันคือการเริ่มต้นในการวางแผนการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Relevance) อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เราสามารถนำมันมาใช้งานได้ในอนาคต
โดยกระบวนการของ Data Activation นั้น แบ่งออกง่ายๆ เป็น สามขั้นตอนด้วยกัน คือ
- Data In คือการเอาข้อมูลต่างๆ จากหลายๆ ช่องทางด้วยกัน เช่น ข้อมูลจาก CRM ของเดิมของเรา ข้อมูลจากแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ ข้อมูลจากทางออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, Line, และ Digital Footprint ต่างๆ เป็นต้น
- Value Unlocked การเอาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ มาแยกแยะ และวิเคราะห์ ผ่านกระบวนการต่างๆ ในหลายๆ มิติ
- Impact Out คือการนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว มาทำให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มลูกค้าของเราออกทางช่องทางต่างๆ ที่มีในปัจจุบัน เช่น Line Business Connect, Facebook Messenger รวมไปถึง เครื่องมือใหม่ ๆ เช่น Salesforce Marketing Cloud เป็นต้น
จากเดิมปัจจุบัน เรารู้จักกลุ่มลูกค้ากว้างๆ เช่น ช่วงอายุเท่าไหร่ แต่จากข้อมูลเหล่านี้ เราสามารถเข้าใจลูกค้าเราได้ดีกว่าเดิม หากเราได้วิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ที่มากพอเราสามารถแบ่งกลุ่มย่อยที่เรียกว่า
Micro Segmentation มากมายหลากหลาย รวมไปถึงเรายังสามารถนำเครื่องมือทางการตลาดใหม่ๆ เช่น Data Management Platform (DMP) , Journey Builder หรือ Chatbot ที่เครื่องมือเหล่านี้นั้นสามารถช่วยในการจัดการ วางแผน และส่งสื่อการตลาดออกที่มีการปรับให้เข้ากับแต่ละกลุ่ม ไปได้อย่างอัตโนมัติ
แต่สิ่งที่เหนือไปกว่านั้น หากเรามีการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีพอ เรายังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำ Business Intelligence หรือช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในการทางตัดสินใจทางธุรกิจที่สำคัญ เช่น การพัฒนาสินค้าใหม่ที่ตรงใจความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้น หรือกลุ่มที่ Niche มากขึ้น, โปรโมชั่นทางการตลาดที่ควรจะออกเฉพาะเจาะจงลงไปยังรายบุคคล
รวมไปถึงเป็นโจทย์ตั้งต้นในการทำแคมเปญการตลาดครั้งต่อไป ที่เสริมการทำการวิจัยการตลาดแบบเดิม หรือแม้กระทั่งสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เริ่มมีมากขึ้นมาเรื่อยๆ ในปัจจุบัน เช่น Internet of Things (IoT) ที่จะทำให้มีข้อมูลมากมายมหาศาลมากขึ้นไปอีก หรือแม้กระทั่ง AI ที่จะเข้ามาช่วยให้เราวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นว่าแม้ว่าการตลาดในยุคถัดไปจะเห็นได้ว่าน่าตื่นเต้นและพัฒนาไปอย่างมา แต่อย่างไรก็ดี โอกาสเหล่านี้ ก็มาพร้อมกับความท้าทายครั้งใหม่ของผู้คนในแวดวงการตลาดเช่นกัน
จากเดิมโดยส่วนใหญ่แล้ว นักการตลาดอาจจะมีความถนัดในสมองซีกขวาหรือสมองที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก แต่เมื่อมีเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวเลขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นักการตลาดในยุคถัดไปก็จำเป็นต้องพัฒนาสมองซีกซ้ายที่เกี่ยวกับการใช้ตรรกะและเหตุผลก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเช่นกัน การเชื่อมโยงของทั้งโลกทั้งสองใบนี้ เป็นทักษะเชี่ยวชาญของนักการตลาดในยุคถัดไป
ในส่วนขององค์กรเองก็ต้องเข้าใจว่า การทำ
Data Activation เหล่านี้นั้น ไม่ใช่การวิ่งร้อยเมตร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่สามารถสามารถทำแล้วเห็นผลเลยภายในข้ามคืน แต่ต้องเข้าใจว่านี่คือการวิ่งมาราธอน ที่เราจำเป็นต้องเริ่มทำการฝึกซ้อม วางแผนกลยุทธ์ และเริ่มต้นในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เนิ่นๆ ยิ่งเราเริ่มที่จะซ้อมเริ่มเตรียมตัวเร็วเท่าไหร่ คู่แข่งก็ยิ่งตามเรายากมากขึ้นไปอีกเช่นกัน